ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาสามัคคีระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาสามัคคี

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาสามัคคี ตำบลนาทม กิ่วอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม พิกัด วีอี ๐๒๘๔๗๔ โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้จัดตั้ง และทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากบ้านนาสามัคคีเป็นหมู่บ้านที่ยังไม่จัดตั้งให้ถูกต้อง ตามกฎหมายและอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม ไม่มีโรงเรียนในหมู่บ้าน เด็กนักเรียนต้องเดินไปเรียนหนังสือที่บ้านนาโต ตำบลนาทม กิ่งอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านนาสามัคคี ระยะทาง ๕ กิโลเมตร ได้รับความลำบากในการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง ในระหว่างทางมีลำห้วยหนึ่งแห่ง คือ ลำห้วยโจด ซึ่งขณะนี้ไม่มีสะพานข้าม ในฤดูฝนน้ำในห้วยลึกและไหลเชี่ยวมาก วันใดมีฝนตกมีเด็กนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้ และเส้นทางจากบ้านนาสามัคคีถึงบ้านนาโต มีสภาพเป็นป่าทึบตลอดเส้นทาง ผู้ปกครองนักเรียนเล็งเห็นว่าจะเกิดอันตรายแก่บุตรหลานของตนในระหว่างไปโรงเรียน นายเส็ง สองคน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งรับผิดชอบการปกครองราษฎรบ้านสามัคคีในขณะนั้น พร้อมด้วยราษฎรในจำนวนหนึ่ง จึงได้ทำหนังสือร้องขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มาดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน และจัดครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ จึงทำหนังสือขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียน ต่อกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ทั้งนี้โดยความเห็นของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้มีคำสั่งอนุมัติให้จัดตั้ง โรงเรียน และให้ชื่อว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาสามัคคี กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ จึงแต่งตั้งครูตำรวจตระเวนชายแดน มาทำการสอน ครั้งแรก จำนวน ๓ นาย คือ
๑. นายดาบตำรวจเสทื้อน ศรีวรพจน์ ทำหน้าที่ ครูใหญ่
๒.จ่าลิบตำรวจกิตติ ภูกัน และ
๓. สิบตำรวจตรีชุมพล ทำหน้าที่ครู
โดยราษฎรบ้านนาสามัคคี ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด ๖ x ๑๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง ในบริเวณที่ดินซึ่งได้รับบริจาคจากนายอ้วน มหาชัย จำนวน ๓ ไร่ นายเส็ง สองคน จำนวน ๒ งาน นายจัน จูมแพง จำนวน ๒ งาน และราษฎรบ้านนาสามัคคี ๒๘ ครอบครัว ร่วมบริจาคเงินจำนวน ๓,๖๐๐ บาท ซื้อที่ดินจากนายอ้วน มหาชัย จำนวน ๓ ไร่ ราคา ไร่ละ ๑,๒๐๐ บาท ต่อมาเมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๕๓๐ นายเหรียญชัย พาบชงภู ได้บริจาคที่ดินเพิ่มอีก ๑ ไร่ รวมที่ดินทั้งสิ้น จำนวน ๘ ไร่เศษ

ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนาทม กิ่งอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
บ้านนาสามัคคีครั้งแรกเป็นหมู่บ้านที่ราษฎรอพยพมาจากบ้านนาโด และบ้านโพธิ์ศรี ตำบลนาทม กิ่งอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม มาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามไร่นาของตนเองเพื่อสะดวกในการประกอบอาชีพทำนาตามฤดูกาล ตั้งหมู่บ้านเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ โดยมีนายเส็ง สองพล นายอ้วน มหาชัย และนายเหรียญ ทาบชมภู เป็นราษฎรกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐาน คำว่า "บ้านนาสามัคคี" เพราะเป็นบ้านนาสามัคคีราษำรมีความสามัคคีกันดีในการประกอบกิจกรรมโดยส่วนรวม บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่ราบสูง ในฤดูแล้งจะขาดน้ำเป็นอย่างมาก

ขนาดและที่ตั้ง
  • ทิศเหนือ
  • จดลำน้ำเหมา
  • ทิศใต้
  • จดบ้านพันห่าว และโพธิ์ศรี
  • ทิศตะวันออก
  • จดบ้านเหล่าส้มป่อย
  • ทิศตะวันตก
  • จดลำห้วยอีสาว
    มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ พื้นที่กำการเกษตร ๘๐๐ ไร่

    ลักษณะภูมิประเทศ
    เป็นที่ราบ

    ประชากร
    รวมทั้งหมด ๔๑๒ คน แบ่งเป็น
    ชาย ๒๑๘ คน
    หญิง ๑๙๔ คน
    มี ๗๐ ครอบครัว

    การประกอบอาชีพ
    อาชีพหลักทำไร่มันสำปะหลัง และทำนา

    การปกครอง
    แบ่งการปกครองในลักษณะคณะกรรมการบริหาร โดยมี
    ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญลิ่ม บุญเลื่อน
    ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสงกา
    นายน้อย
    รองไชย
    วังตะพันธ์
    ผู้ช่วยฝ่ายรักษาความสงบ นายกำนัน ภูดีทิพย์
    ผู้ทรงคุณวุฒิ นายสงวน วิเศษพงษ์

    ระบบการศึกษา
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาสามัคคี เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาสามัคคี เปิดการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับเด็กจากหมู่บ้านนาสามัคคี ดำเนินการสอน ๓ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
  • ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖
    และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ ๑ - ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
    หลักสูตรที่ใช้ คือหลักสูตรของสำนักงานการประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะรับประกาศนียบัตร ของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงในสถานศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

  • อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
    อาคารเรียนถาวรกว้างขนาด ๙ x ๓๖ เมตร ต ห้องเรียน ใช้งบประมาณ ในการดำเนินการก่อสร้าง ๖๕,๐๐๐ บาท โดบกลุ่มศิลามหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับราษฎรบ้านนาสามัคคี
    โรงอาหาร ได้รับการสนับสนุนจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
    บ้านพักครู ได้รับการสนับสนุนจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๓
    ห้องส้วม ได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มศิลามหาวิทยาลัยรามคำแหง
    สนามเด็กเล่น ได้รับการสนับสนุนจาก ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือรถไฟมักกะสัน
    ถังเก็บน้ำฝนคอนกรีต ได้รับการสนับสนุนจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
    อ่างเก็บน้ำ ได้รับการสนับสนุนจาก ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือรถไฟมักกะสัน

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน ๓๘ คน ชาย ๑๔ คน หญิง ๒๔ คน และทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ ได้บรรจุครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอนจำนวน ๕ นาย ดังแสดงในตาราง

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. จ.ส.ต.ประกิจ คำลือฤทธิ์
    ปกศ.
    ครูใหญ่
    ๒. จ.ส.ต.กิตติเดช ภูกัน
    ม.ศ.๓
    ผู้ช่วยครูใหญ่ พยาบาล ธุรการ
    ๓. จ.ส.ต.ไพฑูรย์ มาตะราช
    ปกศ.
    กิจกรรมนักเรียน และโครงการ
    ๔. ส.ต.อ.สุภาพ รัตนวงษ์
    ปวช.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๕. ส.ต.อ.เสถียร ทัฒนโชติ
    ม.๖
    โรงเรียนกับชุมชน และสหกรณ์โรงเรียน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย/คน
    หญิง/คน
    รวม(คน)
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๑๔
    ๒๔
    ๓๘

    โครงการตามพระราชดำริ ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินการโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙ ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เด็กมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าสำหรับรับประทาน โดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่นักเรียนผลิตขึ้นในโรงเรียนมาใช้ประกอบอาหาร มีวิทยาลัยเกษตรนครพนม ที่ได้รับมอบหมายจากกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา ให้รับผิดชอบดำเนินงานให้การสนับสนุนโครงการฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ส.ต.อ.สุภาพ รัตนวงษ์
    ผู้ดำเนินโครงการคือ นักเรียน ผู้ปกครอง

    ผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบันดังนี้
    ๑.ฝึกอบรมอาชีพทางการเกษตรให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชาวบ้านทั่วไปในเรื่องการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผล พืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ และการสุขาภิบาลสัตว์เลี้ยง การเพาะเห็ด ผู้ผ่านการฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน ๒๐ คน
    ๒.สนับสนุนวัสดุปกรณ์ พันธุ์พืช พันธ์สัตว์ให้แก่โรงเรียนเพื่อจัดทำโครงการเกษตรดังกล่าวดังนี้
    ๑.๑พันธุ์ไก่พื้นเมืองลูกผสม จำนวน ๒๐๐ ตัว ปัจจุบันสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๕ เหลือ ๑๕๐ ตัว
    ๑.๒เป็นเทศ จำนวน ๔๐ ตัว
    ๑.๓ พันธุ์ไม้ผลประเภทมะม่วง ปลูกในพื้นที่ ๒ งาน ปัจจุบันสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๕ คงเหลือสวนไม้ผล ๒ งาน จำนวน ๒๕ ก้อน
    ๑.๔ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า เห็นหูหนู จำนวน ๔๐๐ ก้อน ปัจจุบันสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๕ คงเหลือ ๓๐๐ ก้อน อยู่ระหว่างเปิดคอก
    ๑.๕เพาะเห็ดฟาง ๕ แปลง
    ๑.๖พันธุ์ดอกไม้ประดับ ๑๕๐ ต้น ปลูกประดับในพื้นที่โรงเรียน
    ๑.๗กิ่งพันธุ์ไม้ผล ๕๑ ต้น แจกเกษตรกร
    ๑.๘เมล็ดพันธุ์ผัก พืชไร่ ๑ๆ กระป๋อง
    ๑.๙วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
    อาหารไก่ จำนวน ๑๐ กระสอบ
    ผ้าพลาสติก จำนวน ๒ ม้วน เพื่อคลุมโรงเห็ด
    ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕–๑๕–๑๕ จำนวน ๒ กระสอบ
    ปุ๋ยยูเรีย จำนวน ๑ กระสอบ
    ยากำจัดศัตรูพืช จำนวน ๑ ชุด
    กล้ามะละกอ จำนวน ๕๐ ต้น
    พันธุ์ปลานิล ปลาไน ปลายี่สก รวมจำนวน ๑๑,๐๐๐ ตัว และอาหารปลา
    กิจกรรมการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ๕๐ แปลง
    ปลูกหญ้าแฝกจำนวน ๒ งาน และเพาะหญ้าแฝก เพื่อ ขยายพันธุ์ จำนวน ๒๐๐ ถุง
    ๓.บริการสุขาภิบาลสัตว์ให้แก่ชาวบ้าน และสนับสนุนพืชดังนี้
    ๓.๑ให้วัคซีนป้องกันโรคไก่ ๓๐๐ ตัว
    ๓.๒ให้วัคซีนและกำจัดเหา เห็บ ในวัวควาย จำนวน ๖๐ ตัว
    ๔. โรงเรียนมีการประกอบอาหาร ๕ ครั้ง/ สัปดาห์ นักเรียนจะเป็นผู้นำข้าวมาจากบ้าน และทางโรงเรียนจะเป็นผู้จัดกำข้าวให้ โดยมากลุ่มแม่บ้านเป็นผู้ประกอบอาหารครั้งละ ๔ คน นอกจากนี้ยังประกอบนมถั่วเหลืองพระราชทานให้นักเรียนดื่ม ๓ ครั้ง/สัปดาห์

    กิจกรรมเสริม
    การปลูกสับปะรด บริษัท ซันเทศกรุ๊ฟ จำกัด ได้เข้ามาดำเนินการสนับสนุน โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยส่งเสริมให้โรงเรียนปลูกสับปะรด ซึ่งได้มอบหน่อพันธุ์ จำนวน ๘,๐๐๐ หน่อ พรอ้มให้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชส่งนักสิชาการเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูกสับปะรด ผลผลิตที่ได้ทางบริษัทยินดีที่จะรับซื้อหรือทางโรงเรียนจะจำหน่วยให้กับผู้ซื้อรายอื่นก้ได้

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๐
    เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๑
    เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๒
    เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓
    เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
    เงินพระราชทานซื้อเครื่องปรุง ๒๕๐ บาท
    สิ่งของโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    และเกลือไอโอดีน ๑ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔
    เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
    แป้งถั่วเหลือง ๖๐ กก.
    น้ำตาลทราย ๖๐ กก.

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๘)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๓ ๒๕๓๗)