ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๘ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๘

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๘ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ บ้านโนอุดมดี ตำบลดอนเตย กิ่งอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม จัดตั้งเมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๙ โดยชาวบ้านร่วมกันสร้างอาคารชั่วคราวให้ และทางอำเภอบ้านแพงได้ส่งอาสาสมัครรักษาดินแดนคำพันธ์ ชาคำ มาทำหน้าที่ครุผู้สอน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวบ้านได้เดินทางเข้าไปร้องขอครูตำรวจตระเวนชายแดน จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ ค่ายเสนีย์รณยุทธ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๔ ได้ส่งครูตำรวจตระเวนชายแดนไปทำการสอน พ.ศ. ๒๕๓๐ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยชมรมอาสาพัฒนาได้เดินทางมาออกค่ายอาสาพัฒนา และได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวร ถังเก็บน้ำฝน ส้วม สนามเด็กเล่น โต๊ะเก้าอี้ พร้อมอุปกรณ์ต่าง ให้กับโรงเรียนในบริเวณพื้นที่แห่งใหม่ ซึ่ง นายเกิ้น ขันธ์วงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนอุดมดี ได้บริจาคให้และได้ทำพิธีรับมอบพร้อมกับเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๐ ซึ่งทางโรงเรียนใหม่นี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนี ทรงพระราชทานนามโรงเรียนแห่งใหม่นี้ว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๘"

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๘ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ จังหวัดสกลนคร
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านโนนอดมดี ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖
และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนคือ หลักสูตรของสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ดำเนินการสอนโดยครู ตชด. เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนที่เรียนจบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
อาคารเรียนถาวร
ผู้ให้การสนับสนุน
(ขนาด ๑๑ x ๔๓ เมตร ขนาด ๖ ห้องเรียน) ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
ห้องสมุด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องครัว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
โรงอาหาร ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
ห้องส้วม ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
สนามเด็กเล่น ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนได้ส่งครู ตชด. มาปฏิบัติหน้าที่ ๕ คน ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มขึ้น ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ก็เพิ่มครู ตชด. อีก จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๖๙ คน เป็นชาย ๔๐ คน หญิง ๒๙ คนและทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ ก็ได้พิจารณาบรรจุครู ตชด. ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของราษฎรจำนวนทั้งสิ้น ๖ คน ดังแสดงในตาราง

ตารางแสดงจำนวนครู คุณวุฒิ และหน้าที่ความรับผิดชอบของครู ตชด.
ชื่อ
คุณวุฒิ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. จ.ส.ต.อรุณ สร้อยคำ
ปกศ.
ครูใหญ่ ลูกเสือ
๒. จ.ส.ต.ศุภชัย อยู่ตั้งตัว
ม.ศ.๓
เกษตร พยาบาล
๓. จ.ส.ต.ชูศักดิ์ อุปัชฌาย์ใต้
ม.ศ.๓
โรงเรียน - ชุมชน
๔. จ.ส.ต.เรืองฤทธิ์ จันทร์ผาย
พม.
วิชาการ - การเงิน
๕. ส.ต.ต.วิชิต แพงน้อย
คบ.
กิจการนักเรียน ลูกเสือ
๖. พลฯ กำพล จันทร์สะอาด
ปกศ.สูง
เกษตร

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม(คน)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๕
๑๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๔๐
๒๙
๖๙

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินการโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เด็กมีอาหารกลางวันทีมีคุณค่ารับประทาน โดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่นักเรียนผลิตขึ้นเองในโรงเรียนมาใช้ประกอบอาหาร
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ จ.ส.ต. ศุภชัย อยู่ตั้งตัว
ผู้ดำเนินการโครงการ คือ นักเรียน ผู้ปกครอง

กิจกรรม
ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
๑. การพืชผัก ในแต่ละปีที่ปลุกจะดำเนินการปลูกผัก
ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า แตงกวา บวบ ฟักทอง
สำนักพระราชวัง
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
เกษตรจังหวัดนครพนม
๒. การปลูกไม้ผล ไม้ผลที่ปลูกได้แก่ มะม่วง มะละกอ
มะขาม ฝรั่ง ในเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ให้ผลผลิต
แล้ว ได้แก่ น้อยหน่า ฝรั่ง
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
เกษตรจังหวัดนครพนม
๓. การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยง ได้แก่ เป็ดเทศ ๒๐ ตัว
ไก่พื้นเมือง ๙๐ ตัว
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
๔. การประกอบ
อาหารกลางวัน
มีการประกอบอาหาร ๕ วัน/สัปดาห์
โดยมีแม่บ้านหมุนเวียนกันมาประกอบ
อาหารครั้งละ ๒ - ๓ คน ร่วมกับนักเรียน
-
๕. อาหารเสริม ประกอบนมถั่วเหลืองจากแป้งถั่วเหลือง
พระราชทาน ให้นักเรียนดื่ม ๓ วัน/สัปดาห์
-
๗. การปลูกพืชไร่ โรงเรียนปลูกสับปะรด โดยบริษัท เทคกรุ๊ฟมอบหน่อพันธุ์ จำนวน ๒๘,๐๐๐ หน่อ
พร้อมให้ ปุ๋ยและยาฆ่าหญ้าส่งนักวิชาการ
เข้าส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการปลูกสับปะรด
ผลผลิตที่ได้ทางบริษัทยินดีรับซื้อหรือ
ทางโรงเรียนจะจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ
รายอื่นก็ได้
-
๘. การเฝ้าระวังและ
ติดตามผลโภชนาการ
โรงเรียนทำการประเมินภาวะโภชนาการของ
เด็กนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง และใช้น้ำหนักเทียบกับอายุ
เป็นตัวชี้บ่งภาวะการของเทียบอายุ
เป็นตัวบ่งชี้ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน
-

รายการสิ่งของพระราชทาน
ในระยะแรกของโครงการทรงพระราชทานพันธุ์ผัก และเงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ให้กับโรงเรียน ในอัตราวันละ ๑ บาท/คน โดยให้ ๑ ปี ไม่เกิน ๑๘๐ วัน ตั้งแต่เริ่มโครงการเรื่อยมา จนถึงปีงบประมาณ ๒๕๓๔ ทางกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ของบประมาณค่าเครื่องปรุงจากรัฐบาล และของงดรับเงินพระราชทานในส่วนนี้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๓๓ เป็นต้นมา
ปีการศึกษา ๒๕๓๒
๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๓,๗๖๐ บาท
๓. มีด ๑ เล่ม เป็นเงิน ๔๕ บาท
๔. จอบ ๑๐ เล่ม
๕. เสียม ๖๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๓๓
๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๑ งวด เป็นเงิน ๓,๒๑๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๓๔
๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๕
๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
๒. แป้งถั่วเหลืองพระราชทาน ๑๑ กระสอบ
๓. น้ำตาลทรายพระราชทาน ๒๒๐ กิโลกรัม
๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๓๒)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๕)