ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยาระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา

เนื่องจากหมู่บ้านน้อยลวงมอง เห็นว่าที่หมู่บ้านไม่มีโรงเรียนที่จะให้บุตรหลานได้เล่าเรียนถ้าหากต้องการเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น ซึ่งมีระยะทางไกลมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อบุตรหลาน ราษฎรจึงจัดตัวแทนประกอบด้วย นายคำ ตาสี, นายเขม มะละ, นายคำ แพงคำอุ้ย, นายวิเชียร พันธง, นายหมอก อินธิราช, นายก้อย ผุยเห้า นายลี สุพรรณ, นายบุตรดี ริยะบุตร และนายโม มะละ เป็นตัวแทนไปร้องขอกับ ร.ต.ท.บุญชู รุ่งแก ผบ.ร้อย ตชด.เขต ๔ ในขณะนั้น เพื่อที่จะจัดตั้งโรงเรียน ร.ต.ท.บุญชูฯ ได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา หมู่ ๘ บ้านน้อยลวงมอง ตำบลพระทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ขึ้น เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และส่งครู ตชด.มาทำการสอน ๒ นาย คือ พลฯ คำดี ชาวกล้า และ พลฯ จรูญ ลายคราม มาปฏิบัติหน้าที่ ต่อมาทางหมู่บ้านแก้งส้มโฮง ได้ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนด้วย ทำให้อาคารเรียนที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทางกองกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ (เดิม) จึงทำการรื้ออาคารหลังเก่าเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ แต่ยังดำเนินการก่อสร้างไม่เสร็จ นายทรงชัย เหลืองรัชนี นำคณะสำรวจของชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มาสำรวจสถานที่เพื่อออกค่ายพัฒนา ได้ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมให้ (ที่ใช้ในปัจจุบัน)

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านน้อยลวงมอง และหมู่บ้านแก้งส้มโฮง ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖
และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว
หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของสำนักงานประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรับแห่งอื่น ๆ ได้

อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งได้รับบริจาคจากเอกชนต่าง ๆ ดังนี้

อาคารเรียน
ผู้ให้การสนับสนุน
( ๑๐ เมตร x ๔๖ เมตร)
ขนาด ๖ ห้องเรียน)
ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ห้องสมุด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ห้องครัว สำนักพระราชวัง
โรงอาหาร สำนักพระราชวัง
ห้องส้วม ชมรมอาสาพัฒนาหอการค้าไทย
สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคนครพนม

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกมีนักเรียน ๓๖ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ต่อมาเมื่อผู้ปกครองของเด็กเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น จึงได้ส่งบุตรหลานมาเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นจนในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๖ คน เป็นชาย ๔๘ คน หญิง ๔๘ คน และทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้บรรจุครูตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มขึ้น เพื่อความต้องการของราษฎรจำนวนทั้งสิ้น ๖ คน ดังแสดงในตาราง

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ
คุณวุฒิ
ทำหน้าที่
๑. ด.ต.อนันต์ คณโฑมุข
ม.ศ.๓
ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต.เรืองชัย ภาแกดำ
ม.ศ.๓
พยาบาล กิจการนักเรียน
๓. จ.ส.ต.เกรียงศักดิ์ แก้วอินทร์ศรี
ปกศ.
เกษตร
๔. ส.ต.อ.คารมย์ ศรีกงพาน
ม.ศ.๕
การเงิน - ลูกเสือ
๕. ส.ต.ท.สมหวัง สมเกียรติยศ
ม.ศ.๕
โรงเรียน - ชุมชน
๖. ส.ต.ต.สะอาด อยู่เย็น
ปกศ.สูง
วิชาการ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๐
๑๐
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
๑๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๑
๑๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๓
รวม
๔๘
๔๘
๙๖

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มเมื่อปี ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เด็กมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่ารับประทาน โดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่นักเรียนผลิตขึ้นเองในโรงเรียน มาใช้ประกอบอาหาร โดยมีวิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม และเกษตรจังหวัดนครพนม ให้มาสนับสนุนและช่วยเหลือโครงการ
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ส.ต.อ.เกรียงศักดิ์ แก้วอินทร์ศรี
ผู้ดำเนินการโครงการ คือ นักเรียน และผู้ปกครอง

ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
กิจกรรม
ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
๑. การปลูกพืชผัก ในแต่ละปีจะดำเนินการปลูกผัก
กาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง พริก
สำนักพระราชวัง
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
๒. การปลูกไม้ผล ไม้ผลที่ปลูกได้แก่ มะม่วง มะละกอ
ขนุน ไผ่ตง ลิ้นจี่ ฝรั่ง ให้ผลผลิตแล้ว
ได้แก่ มะละกอ
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
เกษตรจังหวัดนครพนม
๓. การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พื้นเมืองลูกผสม ๒๕๐ ตัว
ปัจจุบันเหลือ ๑๗๐ ตัว เป็ดเทศ ๑๑ ตัว
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
๔. การเพาะเห็ด เห็ดที่ทำการเพาะได้แก่ เห็ดนางฟ้า
เห็ดหูหนู ๖๐๐ ก้อน
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม
๕. การประกอบ
อาหารกลางวัน
โรงเรียนมีการประกอบอาหาร ๔ ครั้ง/
สัปดาห์ โดยมีกลุ่มแม่บ้านเป็นผู้ประกอบ
อาหารครั้งละ ๓ คน
-
๖. อาหารเสริม ประกอบนมถั่วเหลืองจากแป้งถั่วเหลือง
พระราชทานให้ นักเรียน สัปดาห์ละ ๓ วัน
-
๗. การปลูกพืชไร่ โรงเรียนได้รับหน่อสับปะรด จำนวน
๘,๐๐๐ หน่อ พร้อมให้ปุ๋ย และยาฆ่าหญ้า
ส่งนักวิชาการเข้ามาส่งเสริม ให้ความรู้
ผลผลิตที่ได้ทางบริษัทยินดีที่จะรับซื้อ
หรือทางโรงเรียนจะจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ
รายอื่นก็ได้
บริษัท ชันเทคกรุ๊ฟ จำกัด
๘. การเฝ้าระวังและ
ติดตามผลโภชนาการ
โรงเรียนทำการประเมินผลภาวะโภชนาการ
ของนักเรียนโดยการการชั่งน้ำหนัก และวัด
ส่วนสูงภาคเรียนละ ๑ ครั้ง และใช้น้ำหนัก
เทียบอายุ เป็นตัวบ่งชี้ภาวะโภชนาการของ
นักเรียน ตุลาคม ๒๕๓๕ มีนักเรียนที่มีน้ำหนัก
ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๑๕ คน (๑๕/๙๖x๑๐๐%)
-

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๓๒)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๕)