ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังชมภูระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังชมภู

หมู่ที่ ๕ บ้านวังชมภู ตำบลทรัพย์ไพรวัลย์ กิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๓๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ได้รับการร้องขอจากราษฎรบ้านวังชมภู ให้เข้าไปดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุตรหลานที่ต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนห่างไกลภูมิลำเนา เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบทางการศึกษาไม่สามารถที่จะเข้าไปดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนให้ได้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จึงได้ทำหนังสือขอรับความเห็นชอบไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ก็ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๘ ทางกองกำกับจึงทำหนังสือขออนุมัติไปทางกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๘ หลังจากได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแล้ว คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านวังชมภู จึงจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ในบริเวณที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน จำนวน ๓๐ ไร่ หลังจากสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเสร็จแล้ว เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๓๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จึงส่งข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปทำการสอน จำนวน ๗ นาย

ความเป็นมาของหมู่บ้าน
เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ โดยราษฎรจากอำเภอพล อำเภอกระวน จังหวัดขอนแก่น ได้อพยพครอบครัวเข้ามาทำมาหากิน และประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำไร่ทำนาโดยการเข้ามาจับจองที่ดินในพื้นที่ตำบลผาสามยอด อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นหมู่บ้านขึ้นการปกครองกับบ้านนาอ่างคำ หมู่ที่ ๖ ตำบททรัพย์ไพรวัลย์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีราษฎรอพยพเข้ามาเพิ่มอีกจำนวน ๔๘ ครอบครัว ทางราชการจึงมีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นคนแรก คือ นายเขียว พิศนอก ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งแยกการปกครองจากเดิมบ้านวังชมภู อำเภอวังสะพุง เปลี่ยนมาขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโนนดินแดง บ้านนาอ่างคำ
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านผาสะนา บ้านซำบุ่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านใหม่ชัยเจริญ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบึงสวรรค์

การคมนาคม
หมู่บ้านวังชมภูอยู่ห่างจากกิ่งอำเภอเอราวัณ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร การเดินทางเข้าออกโดยรถยนต์เข้าออกได้ทุกฤดูกาล ก่อนเข้าถึงหมู่บ้านเป็นเส้นทางถนนลูกรังประมาณ ๔ กิโลเมตร นอกนั้นเป็นถนนราดยาง

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น ๒๕๖ คน แยกเป็นชาย ๘๐ คน หญิง ๑๗๖ คน

การประกอบอาชีพ
ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม ทำไร่อ้อย และรับจ้าง รายได้ต่อครอบครัวมีน้อย บางส่วนต้องอพยพไปขายแรงงานและรับจ้างที่ต่างจังหวัด

การสาธารณสุข
ราษฏรในหมู่บ้านยังมีความเป็นอยู่ไม่ดีเท่าที่ควร ยังมีค่านิยมในการบริโภคอาหารประเภทสุกๆ ดิบๆ ใช้ผงชูรสในการปรุงอาหาร ไม่เห็นความสำคัญเรื่องความสะอาดเท่าที่ควร เมื่อมีการเจ็บป่วยก็จะเดินทางไปใช้บริการที่สถานีอนามัยตำบลทรัพย์ไพรวัลย์ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕ กิโลเมตร

ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายสมภาร โควินทะสุด

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังชมภู เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ รับเด็กจากหมู่บ้านวังชมภู และบ้านนาอ่างคำ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน และอาคารประกอบ จากมูลนิธิ ดร.สุมิตร เลิศสุมิตรกุล เป็นเงินจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) ตามแปลนที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกำหนด คือ อาคารเรียน ๑ หลัง, อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง, อาคารโรงครัว - โรงอาหาร ๑ หลัง, อาคารสหกรณ์และห้องพยาบาล ๑ หลัง, อาคารบ้านพักครู ๑ หลัง และห้องน้ำ - ห้องส้วม ๑ หลัง

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๕๗ คน เป็นชาย ๒๗ คน หญิง ๓๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย

ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
ยศ – ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑. จ.ส.ต.จรัญ อินทรตระกูล
คบ.
ครูใหญ่/งานโครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ
๒. สิงห์ผ่าน อ่อนศรี
ม.ศ.๕
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน/โครงการ
ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
๓. วิภูษิต เปรื่องธรรมกุล
คบ.
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๔. แถม บงแก้ว
คบ.
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๕. ส.ต.ต.ลิขิต โนนทิง
ม.๖
โครงการฝึกอาชีพ
๖. พลฯ ประชิต จันทร์ฤาชัย
ปวช.
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๗. พลฯ ประจักษ์ โคตรชมภู
ม.๖
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๑
๑๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๒๗
๓๐
๕๗

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.ประชิต จันทร์ฤาชัย
ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ เกษตรจังหวัดเลย, ปศุสัตว์จังหวัดเลย, ประมงน้ำจืดเลย และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ

ผลผลิตทางการเกษตรปีการศึกษา ๒๕๓๙ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมีนาคม
เดือน หมวด
เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๕.๖๓ ๐.๐๐
  %ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๕.๖๓ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
มิถุนาคม ผลผลิรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๘.๐๐ ๕๗.๐๐
  ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๑.๒๕ ๔๖.๘๘
  %ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๑.๒๕ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๕๗.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย(กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๗.๒๐ ๔๒.๔๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๗.๒๐ ๔๒.๔๑
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๕.๐๐ ๖๓.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๐.๙๒ ๔๖.๘๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๐.๙๒ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๗.๐๐ ๖๓.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๒.๔๑ ๔๖.๘๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๒.๔๑ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๘.๐๐ ๐.๐๐ ๒๔.๐๐ ๒๒.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๕.๖๓ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๒.๙๗
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๙.๐๖ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๒.๙๗
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๓.๐๐ ๖๓.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๔.๘๘ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๗.๒๐ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๓.๐๐ ๐.๐๐ ๕๔.๐๐ ๕๔.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๙.๙๗ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๙.๙๑ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๒.๐๐ ๐.๐๐ ๖๓.๐๐ ๖๓.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖.๓๗ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๐.๙๒ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๗.๐๐ ๕๗.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๒.๘๙ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๘๒.๒๔ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๔๖.๘๘
  ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๗.๐๐ ๐.๐๐ ๕๑.๐๐ ๖๗.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๕.๖๓ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๖๑.๕๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๙.๐๖ ๐.๐๐ ๔๖.๘๘ ๖๑.๕๘
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ ดี

หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
> ๗๕% = ดีมาก
> ๕๐% - ๗๕% = ดี
> ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
< ๒๕% = ปรับปรุง
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน, ครู ตชด. และเคกิจกิ่งอำเภอเอราวัณ
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๕ คน
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๐ ดังนี้
๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๐ กิโลกรัม

การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
๑. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี
๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์, พุธ และศุกร์

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ครั้งที่ ๓)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ๑
ระดับ๒
ระดับ๓
รวม
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๑๙
๑๙
๑๗
๑๐.๕๓
ดี

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๑๔.๒๙
ดี
ประถม ๒
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๓
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๔
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๕
๑๑.๑๑
ดี
ประถม ๖
๐.๐๐
ดีมาก
รวม
๔๑
๔๑
๓๙
๔.๘๘
ดีมาก

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๙
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๗๔ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๕. แลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๑,๒๒๔ กล่อง

ปีการศึกษา ๒๕๔๐
๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

แผนผังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ้านวังชมภู
รายละเอียด
๑) อาคารเรียนถาวร ๘) โรงเรือนการเกษตร ๑๕) พื้นที่ปลูกป่า
๒) อาคารเอนกประสงค์ ๙) เสาธง ๑๖) พื้นที่ลาดชันปลูกหญ้าแฝก
๓) อาคารหอประชุม ๑๐) สนามฟุตบอล ๑๗) ถนนรอบโรงเรียน
๔) โรงอาหาร ๑๑) พื้นที่ปลูกพืชการเกษตร ๑๘) ถนนภายในโรงเรียน
๕) ห้องส้วม ๑๒) สนามกีฬา ๑๙) คันฝายน้ำสาธารณะ
๖) บ้านพักครู ๑๓) สระน้ำ ๒๐) อาคารพยาบาล, สหกรณ์
๗) อาคารเรียนชั่วคราว ๑๔) ฝายน้ำสาธารณะ  

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๔๒)
(ลย ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)