ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้าระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า

หมู่ที่ ๕ บ้านห้วยเป้า ตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยชาวบ้านห้วยเป้าได้ส่งตัวแทนเดินทางไปร้องขอจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ซึ่งได้รับการอนุมัติและจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยชาวบ้านร่วมกันสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน มีครูทำการสอนครั้งแรก ๒ นาย คือ จ่าสิบตำรวจนับ ไชยภาค (ยศขณะนั้น) และ สิบตำรวจโทสุรชัย อัมพรัตน์ (ยศขณะนั้น) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ มีนักเรียนทั้งหมด ๓๐ คน แต่เนื่องจากพื้นที่โรงเรียนเป็นเนินเขา จึงได้ย้ายมาตั้งที่แห่งใหม่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีพื้นที่ ๑๑ ไร่ ๓ งาน โดยใช้อาคารชั่วคราว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ คุณมะนะ - คุณบุญล้อม ที่สุวรรณ ได้บริจาคเงินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างอาคารถาวร และได้ทำพิธีรับ - มอบเปิดใช้อาคารเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้าพระราชทานเงินจำนวน ๒,๐๐๐ บาท (สองพันบาทถ้วน) สนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนและทรงปลูกมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย จำนวน ๑ ต้น

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยเป้า ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๗
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๗
หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของสำนักงานประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดยตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๐ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๘๔ นาย เป็นชาย ๓๙ คน หญิง ๔๕ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดนจำนวนทั้งสิ้น ๘ นาย

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ
คุณวุฒิ
หน้าที่
๑. ด.ต.วีระ รหมชมพู
คบ.
ควบคุมดูแลโครงการฯ ทั้งหมด
๒. ด.ต.ศักดิ์สิทธิ์ ศรีวรรณะ
ม.ศ.๓
โครงการเกษตรฯ
๓. ด.ต.บุญลือ คงน้อย
คบ.
โครงการอนุรักษ์ฯ
๔. จ.ส.ต.ประเสริฐ์ อินทะวงษ์
ม.ศ.๕
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๕. ส.ต.ท.ศักดินนท์  ศักดา
คบ.
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๖. ส.ต.ท.อาทิตย์ บุญเทพ
คบ.
โครงการสหกรณ์
๗. ส.ต.ท.สุรพลชัย ชุมลา
ม.ศ.๓
โครงการโรคขาดสารไอโอดีน
๘. ส.ต.ต.วิจารณ์ แสนยะบุตร
ปกศ.สูง
โครงการนักเรียนทุน, ครูอนุบาล

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๗
๒๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๐
๑๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๓๙
๔๕
๘๔

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริฯ ขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มดำเนินการเมื่อปี ๒๕๒๕
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ดาบตำรวจวีระ พรหมชมพู
ผู้ดำเนินโครงการ คือ สิบตำรวจตรีสุรพลชัย ชุมลา

ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
กิจกรรม
ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
๑. การปลูกพืชไร่ มีแปลงผักในพื้นที่ ๒ งาน โดย
ปลูกหมุนเวียน มีผักประกอบ
อาหารตลอด ๕ วัน/สัปดาห์
เกษตรอำเภอปากชม, วิทยาลัยเกษตร
ชัยภูมิ, องค์การอินเตอร์เอด
๒. การปลูกพืชไร่ มีแปลงถั่วดำ ๕ ไร่ เกษตรอำเภอปากชม ให้เมล็ดพันธุ์
๓. การปลูกไม้ผล มีไม้ผลให้นักเรียนรับประทาน
ตลอดฤดูกาล
เกษตรอำเภอปากชม, เกษตรจังหวัด
เลย, เกษตรจังหวัดชัยภูมิ
๔. การเลี้ยงสัตว์ มีไก่, ปลา, ไข่, กบ, ไว้ประกอบ
อาหารกลางวันทุกวันของการเปิดเรียน
เกษตรอำเภอปากชม, เกษตรจังหวัด
เลย, เกษตรจังหวัดชัยภูมิ,เหล่ากาชาด
จังหวัดเลย
๕. การถนอมอาหาร มีหน่อไม้อักขวด, ข้าวเกรียบ,
ฟักทอง ไว้รับประทาน
เคหกิจอำเภอปากชม, วิทยาลัยอาชีวะ
ศึกษาเลย, อาชีวศึกษาชัยภูมิ
๖. การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์
มาตรฐาน จำนวน ๕ คน
กก.ตชด.๒๔, สาธารณสุขอำเภอปากชม,
สาธารณสุขจังหวัดเลย

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๗,๓๒๐ บาท
๓. ต้นพันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๓๕๓๕
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๔๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๔๐ กิโลกรัม
๓. โปรตีนผง ๓ งวด จำนวน ๑๐๗ กิโลกรัม
๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๖. โครงการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ๒,๒๐๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม

ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๓๑)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒๓ ๒๕๓๗)