ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนานกปิดจำนวนนักเรียน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนานกปิด

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านนานกปิด ตำบลบ่อซืน อำเภอปากชม จังหวัดเลย
ราษฎรและคณะกรรมการหมู่บ้านนานกปิด ได้ทำหนังสือร้องขอให้ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการตั้งโรงเรียน โดยผ่านองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔๖ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้รับการอนุมัติจากกรมตำรวจ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๒๘ ให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ดำเนินการจัดตั้ง ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่และครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไปดำเนินการก่อสร้างร่วมกับราษฎร สร้างอาคารเรียนแบบกึ่งถาวร กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๘ เมตร ขนาด ๖ ห้องเรียน เปิดทำการสอนเป็นทางการ เมือวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙ มีนักเรียนครั้งแรก ๕๔ คน มีครู ๔ นาย ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ ป.๑ – ป.๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๖๐ คน มี จ.ส.ต.ประดิษฐ์ อุปจันโท เป็นครูใหญ่

การก่อสร้างอาคารเรียน
อาคารเรียนแบบกึ่งถาวร ได้รับงบประมาณจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ดำเนินการสร้างระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนและราษฎรหมู่บ้านนานกปิดร่วมกันสร้างอาคารเรียน แบบกึ่งถาวร กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๘ เมตร จำนวน ๖ ห้องเรียน

จำนวนนักเรียน
ชั้น
จำนวนนักเรียน (คน)
เด็กเล็ก
-
ประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๐
ประถมศึกษาปีที่ ๒
ประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๔
ประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๕
ประถมศึกษาปีที่ ๕
ประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๖๐

จำนวนครู
ครู ตชด. ๖ คน มี จ.ส.ต.ประดิษฐ์ อุปจันโท เป็นครูใหญ่

ภาคเรียนการศึกษา
  • ภาคการศึกษาที่ ๑ เปิดเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๓ ถึง ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๓
  • ภาคการศึกษาที่ ๒ เปิดเมื่อ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๓ ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
  • ภาคการศึกษาที่ ๓ เปิดเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๓ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๔

  • โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ประมาณ ๔,๘๐๐ ตารางวา
    สภาพดินเป็นดินร่วน
    แหล่งน้ำบริโภคและเพื่อการเกษตร ได้แก่ บ่อน้ำตื้น
    การประกอบเลี้ยง มีการประกอบอาหารกลางวันแก่นักเรียน ๕ ครั้ง/สัปดาห์ โดยมีชาวบ้านหมุนเวียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๓ - ๔ คน จำนวน ๑๒ กลุ่ม

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เข้ามาให้คำแนะนำ

    รายการของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
    จอบ ๑๐ เล่ม
    เสียม ๒ เล่ม ๖๐ บาท
    มีดดายหญ้า ๒ เล่ม ๑๐๐ บาท
    ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด   ๔๐๐ บาท
    ค่าเตรียมดิน   ๑,๐๐๐ บาท
    ค่าปุ๋ยยูเรีย   ๖๐๐ บาท
    เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด
    เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด ๓,๕๔๐ บาท
    มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย   ๒๐ บาท
    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด
    เงินพระราชทานค่าขุดเจาะบ่อบาดาล   ๓,๕๖๕ บาท
    เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง   เป็นเงิน ๔,๓๒๐ บาท

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
    สยามบรมราชกุมารี. (๙๙)
    (ลย. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๔)