ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเหมืองทองจำนวนนักเรียน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเหมืองทอง

จัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๓ โดยการร้องขอราษฎร ผ่านกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔๖ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ จังหวัดอุดรธานี ได้รับการอนุมัติจากกรมตำรวจ ให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนชายแดนที่ ๒๔ ดำเนินการจัดตั้ง โดยได้รับการสนับสนุนการสร้างอาคารเรียน โดยความร่วมมือของราษฎรในหมู่บ้านขึ้นครั้งแรกเป็นการชั่วคราว ๑ หลัง จำนวน ๔ ห้อง มีครูมาทำการสอนครั้งแรก ๓ นาย มีนักเรียน ๓๔ คน ต่อมานักเรียนมีจำนวนมากขึ้น อาคารเรียนดังกล่าวจึงไม่เหมาะสม จึงได้สอนตั้งแต่ ป.๑ – ป.๖ นักเรียนทั้งสิ้น ๖๓ คน มีครู ๗ คน มีจ่าสอบตำรวจศักดิ์สิทธิ์ ศรีวรรณะ ทำหน้าที่ครูใหญ่

การก่อสร้างอาคารเรียน
อาคารเรียนแบบกึ่งถาวร ได้รับงบประมาณจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ได้อาศัยแรงงานจากราษฎรบ้านเหมืองทอง ร่วมสร้างเป็นอาคารเรียนแบบกึ่งถาวร ๑ หลัง จำนวน ๗ ห้อง

จำนวนนักเรียน
ชั้น
จำนวนนักเรียน (คน)
เด็กเล็ก
ประถมศึกษาปีที่ ๑
ประถมศึกษาปีที่ ๒
ประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๔
ประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๔
ประถมศึกษาปีที่ ๕
ประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๖๓

จำนวนครู
ครู ตชด. ๗ คน มี จ.ส.ต. ศักดิ์สิทธิ์ ศรีวรรณะ เป็นครูใหญ่

ภาคการศึกษา
  • ภาคการศึกษาที่ ๑ เปิดเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๓ ถึง ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเมื่อ ๑๖ สิงหาคม ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
  • ภาคเรียนที่ ๓ เปิดเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๓ ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๔

  • โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ประมาณ ๘๐๐ ตารางวา
    สภาพดินเป็นดินร่วน
    แหล่งน้ำบริโภคและเพื่อการเกษตร ใช้น้ำจากสระน้ำ
    การประกอบเลี้ยง มีการประกอบอาหารกลางวันแก่นักเรียน ๕ ครั้ง/สัปดาห์ โดยมีผู้ปกครองนักเรียนมาร่วมประกอบอาหารครั้งละ ๓ คน
    การเลี้ยงสัตว์ มีการ
    เลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน ๒๔ ตัว
    เลี้ยงเป็นไข่ จำนวน ๓๗ ตัว ให้ไข่วันละ ๑๗ ฟอง
    เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน ๕๑ ตัว จำหน่ายและประกอบอาหารไปหมด
    เลี้ยงปลามีบ่อปลาจำนวน ๓ บ่อ ปลาที่ปล่อยคือ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลาจีน และปลาไน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และประมงจังหวัด ได้ให้คำแนะนำและความรู้ด้านการเกษตรและลี้ยงปลา

    รายการของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
    เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด
    มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ๒๐ ต้น
    เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๔,๖๒๐ บาท
    ค่ายาปรายศัตรูพืช ๓๐๐ บาท
    ค่าอาหารปลา ๕๐๐ บาท
    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด
    ไก่พันธุ์พื้นเมืองพระราชทาน ๕๐ ตัว
    ค่าอาหารไก่ระยะแรก ๕๐๐ บาท
    เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๔,๐๘๐ บาท

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๙๙)
    (ลย. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๔)