ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวชความรู้และการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังละบุรี จังหวัดกาจนบุรี พิกัด เอ็มเอส. ๔๕๖๘๒๐ อยู่ในความรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๐๕ โดยหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๗๐๗ ในขณะนั้น ใช้วัสดุในท้องถิ่นทั้งหมด หลังคาใช้ตองหวาย ฝาไม้ไผ่สับฟาก เสากลมไม้เนื้อแข็งกระเทาะเปลือก สร้างเป็นอาคารชั่วคราวกว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร มีนักเรียน ๑๐ คน สอนแบบรวมห้องมีครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอน ๒ นาย เมื่อสร้างเสร็จใช้ชื่อว่า "ร.ร.ชด. อนุเคราะห์ที่ ๔" ต่อมาในปี ๒๕๑๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ และชาวบ้านเห็นว่าอาคารเก่าชำรุดมากจึงได้ดำเนินการสร้างใหม่เป็นอาคารถาวร ขนาด ๔.๕ * ๑๒.๕ ม. มี ๒ ห้องเรียนในที่ดินของสำนักสงฆ์บ้านสะเนพ่อง เนื้อที่ ๒ ไร่ เมื่อสร้างเสร็จใช้ชื่อเรียกว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอนุเคราะห์ที่ ๔ บ้านสะเนพ่อ" ต่อมาในเดือน มีนาคม ๒๕๑๕ อาจารย์วรณี สุนทรเวช อาจารย์โรงเรียนดาราคาม กรุงเทพฯ ได้เดินทางมาหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ประวัติความเป็นมาของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ที่หมู่บ้าน สะเนพ่อง มาเห็นสภาพโรงเรียนจึงเกิดความศรัทธาอยากช่วยเหลือบุตรหลานที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร จึงได้ติดต่อกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ว่าจะดำเนินการปรับปรุงอาคารเรียนใหม่เพราะของเก่าแคบและไม่เหมาะสม จึงได้มอบเงินมาจำนวนหนึ่งให้จัดหาวัดสุอุปกรณ์ และดำเนินการปรับปรุงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จพร้อมบ้านพักครูอีก ๑ หลัง ต่อมา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวัง ทูลเชิญสมเด็จพระบรมราชชนนี ฯ ทรงรับไว้ในพระบรมชูปถัมภ์ และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช และสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเสด็จเปิดป้ายอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สโมสรไลออนส์มหาจักร ฯ ได้มาสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๒ ห้องเรียนให้อีกหนึ่งหลัง ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รวม ๗ ชั้นเรียน มีครูผู้ทำการสอน ๖ นาย ซึ่งเป็นครูตำรวจตระเวนชายแดนทั้งหมด ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

๑. จ.ส.ต. บุญธรรม เภานาง ทำหน้าที่ ครูใหญ่
๒. ส.ต.ท. ทวิช ปิ่นแก้ว ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๓. ส.ต.ท. ณรงค์ หุ้มขาว ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๔. ส.ต.ท. กำพี จันทร์ช่วย ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๕. ส.ต.ท. เสถียร ชาวไทย ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๖. พลฯ สำเริง ทองคำ ทำหน้าที่ ครูผู้สอน

คณะกรรมการศึกษา
๑. นายอานนท์ เสตะพันธ์ ประธานกรรมการการศึกษา
๒. นายเหย่งโท รองประธาน
๓. นายปะชิ สังขชวาลย์ กรรมการเลขานุการ
๔. นายเซ้ง สังขธิติ กรรมการ
๕. นายโจเซง กรรมการ
๖.นายส่วยอี กรรมการ
๗. นายโต ไทรนิทัศน์ กรรมการ

ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไปบ้านสะเนพ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังละบุรี จังหวัดกาจนบุรี บ้านสะเนพ่อเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีอายุการก่อตั้งมานานเป็นเวลา ๑๒๐ ปีเศษ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เดิมเป็นหมู่บ้านใหญ่มาก มีหัวหน้าการปกครองหมู่บ้านได้รับพระราชทานนามว่า "พระศรีสุวรรณคีรี" จากรัชกาลที่ ๕ ต่อมามีลูกหลานได้ย้ายถิ่นฐานไปประกอบอาชีพที่ถิ่นอื่นเป็นบางส่วน เนื่องจากหมู่บ้านเป็นที่ราบบริเวณหุบเขาคับแคบไม่เพียงพอกับการทำมาหากินเลี้ยงชีพ

การปกครอง
ปัจจุบันหมู่บ้านสะเนพ่อง มีราษฏรอาศัยอยู่ ๖๒ ครอบครัว มีประชากร ๓๑๕ คน ชาย ๑๖๗ คน หญิง ๑๔๘ คน ภาษาประจำท้องถิ่น คือ ภาษากะเหรี่ยง ประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก มีการทำการเกษตร ทำไร่กาแฟ ทุเรียน หมาก

สภาพภูมิประเทศ
มีพื้นที่ประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณหุบเขา มีภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนกันไปอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขาไม้นวล
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขาท่ากระดาน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขาไม้นวล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขาไม้แดง

ความรู้และการศึกษา
จำนวนผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) จำนวน ๖ คน
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๒ คน
กำลังเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๙๐ คน
กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๓ คน

ผู้นำหมู่บ้าน
๑) นายไมตรี เสตะพันธ์ กำนันตำบลไล่โว่
๒) นายอานนท์ เสตะพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านสะเนพ่อง

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทาง
โภชนาการบริโภคตลอดทั้งปีการศึกษา โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นเองภายในโรงเรียนนำมาประกอบอาหาร และในขณะเดียวกันเเกจะได้รู้วิชาทางด้านการเกษตรแผนใหม่ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมรับผิดชอบและให้การสนับสนุนโครงการ เช่น วิทยาลัยเกษตรกรรมกาญจนบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอสังขละบุรี เป็นต้น
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ พลฯ สำเริง ทองคำ
ผู้ดำเนินโครงการ ครู – นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
ผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันปัจจุบัน มีดังนี้
๑.พื้นที่ในการดำเนินโครงการ จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน
๑.๑ปลูกพืชผัก
- คะน้า
- ผักบุ้งจีน
- มะเขือยาว
- กวางตุ้ง
- ถั่วฝักยาว
- ผักกาดขาวปลี
- หอมแดง
- ฟักเขียว
- ฟักทอง
- แตงกวา
๑.๒ปลูกไม้ผล
- มะละกอ
- ขนุน
- ส้มโอ
- มะม่วง
- มะขาม
- กล้วยน้ำว้า
- มะนาว
๒.ประเภทสัตว์เลี้ยง
- ไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน ๕๐ ตัว
- เป็ดเทศ จำนวน ๕๐ ตัว
๓. กระทรวงศึกษาธิการให้การสนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน (๕ บาท/คน/วัน) โรงเรียนตำรวจตระวนชายแดนสุนทรเวช ได้รับจัดสรร ดังนี้
เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง เดือนกันยายน ๒๕๓๘
ชั้นก่อนประถมศึกษา จำนวน ๘,๘๒๐ บาท
ชั้นประถมศึกษา จำนวน ๓๒,๓๔๐ บาท
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช มีการประกอบอาหารกลางวัน ๕ ครั้ง/สัปดาห์ โดยนำผลผลิตจากโรงเรียนและจัดซื้อเครื่องปรุงจากเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน โดยให้นักเรียนและผู้ปกครองเป็นผู้ประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังได้ประกอบอาหารเสริมให้นักเรียน ๕ ครั้ง/สัปดาห์

แผนการประกอบอาหารเสริมในรอบสัปดาห์ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๓๘
วัน
ชนิดอาหารเสริม
วัสดุประกอบ
ผู้ดำเนินการ
จันทร์ นมถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง,น้ำตาล ครูเวรประจำวัน
อังคาร ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ถั่วเขียว,น้ำตาลทราย ผู้ปกครองนักเรียน
พุธ นมถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง,น้ำตาล เคหกิจเกษตร
พฤหัสบดี กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าสุก ครู,นักเรียน
ศุกร์ นมดูเม็กซ์ นมดูเม็กซ์,น้ำตาลทราย ครู –นักเรียน

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในโรงเรียน
เดือน/ปี
เนื้อ
ปลา
ไก่
ไข่
ผัก
ผลไม้
ถั่วเมล็ดแห้ง
รวม
พ.ค. ๓๘
-
-
๖.๒
๑๘
๙๖
๕๒
-
๑๗๒.๒
มิ.ย. ๓๘
-
-
๒๗
๒๓
๒๘๗
๙๑
-
๔๒๘
ก.ค. ๓๘
-
-
๒๕
๑๗
๒๖๐
๘๐
-
๓๘๒
ส.ค. ๓๘
-
-
๓๐
๒๓
๒๖๐
๑๐๕
-
๔๑๘
ก.ย. ๓๘
-
-
๒๐
๒๖๕
๑๑๕
-
๔๐๖
ต.ค. ๓๘
-
-
๑๒
๑๗๑
๖๐
๒๕
-
๒๖๘
รวม
-
-
๑๒๐.๒
๒๕๘
๑,๒๒๘
๔๖๘
-
๒,๐๗๔.๒

การประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน(พ.ค. ๓๘ - ก.ย. ๓๘)
เดือน/ปี
เนื้อ
ปลา
ไก่
ไข่
ผัก
ผลไม้
น้ำนมถั่วเหลือง
รวม
พ.ค. ๓๘
๑๘
-
๖.๒
๗.๗
๙๖
๕๒
-
๑๗๙.๙
มิ.ย. ๓๘
๑๕
๒๐
๒๗
๒๐
๒๘๗
๙๑
-
๔๖๐
ก.ค. ๓๘
๓๐
๒๕
๒๕
๑๐
๒๖๐
๘๐
-
๔๓๐
ส.ค. ๓๘
๒๕
๒๕
๓๐
๑๐
๒๖๐
๑๐๕
-
๔๕๕
ก.ย. ๓๘
๓๕
๒๕
๒๐
๑๐
๒๖๕
๑๑๕
-
๔๗๐
ต.ค. ๓๘
-
-
๑๒
๑๕๐
๖๐
๒๕
-
๒๔๗
รวม
๑๒๓
๙๕
๑๒๐.๒
๒๐๗.๗
๑,๒๒๘
๔๖๘
-
๒,๒๔๑.๙

ตารางเปรียบเทียบการประกอบอาหารเลี้ยง
-
เนื้อ
(ก.ก)
ปลา
(ก.ก)
ไก่
(ก.ก)
ไข่
(ก.ก)
ผัก
(ก.ก)
ผลไม้
(ก.ก)
ถั่วเมล็ด
แห้ง(ก.ก)
รวม
(ก.ก)
ผลิตภัณฑ์ ผลผลิต
ทางการเกษตร
ในโรงเรียน
-
-
๑๒๐.๒
๒๕๘
๑,๒๒๘
๔๖๘
-
๒,๐๗๔.๒
วัสดุที่ใช้
ประกอบเลี้ยง
๑๒๓
๙๕
๑๒๐.๒
๒๐๗.๗
๑,๒๒๘
๔๖๘
-
๒,๒๔๑.๙
ผลต่าง
-๑๒๓
-๙๕
-
+๕๐.๓
-
-
-
-๑๖๗.๗
เฉลี่ยคน/ปี( ๖ เดือน)
๑.๔๖
๑.๑๓
๑.๔๓
๒.๔๗
๑๔.๖๒
๕.๕๗
-
๒๖.๖๘

ตารางแสดงภาวะโภชนาการนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๘
ลำดับที่ ปีการศึกษา จำนวนนักเรียน ภาวะโภชนาการ
ที่รับการตรวจ จำนวนปกติ จำนวนไม่ปกติ
คน ร้อยละ นักเรียน ร้อยละ นักเรียน ร้อยละ
๑.
๒๕๓๔
๔๔
๑๐๐
๑๐
๒๒.๗๒
๓๔
๗๗.๒๘
๒.
๒๕๓๕
๕๔
๑๐๐
๑๙
๓๕.๑๘
๓๕
๖๔.๘๒
๓.
๒๕๓๖
๔๔
๑๐๐
๓๐
๖๘.๑๘
๑๔
๓๑.๘๒
๔.
๒๕๓๗
๔๘
๑๐๐
๓๘
๗๙.๑๖
๑๐
๒๐.๘๔
๕.
๒๕๓๘
๘๔
๑๐๐
๗๖
๙๐.๔๗
๙.๕๓

 
แหล่งอ้างอิง: กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓. (๒๓)
(กจ. ท๑ น๙๖๑๒ ๒๕๓๘)

สำนักโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๕๒)
(กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๘)