ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทยระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เฮงเค็ลไทย หรือเดิมชื่อโรงเรียน ตำรวจตระเวนชานแดนบ้านมะ เซอย่อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบล บ้องตี้ อำเภอ ไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ความ รับผิดชอบของกองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ (กก.ตชด. เขต ๗ เดิม ) ค่ายพระพุทธยอดฟ้าก่อ ตั้งเป็นโรงเรียนในสังกัดกอง บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ด้วยความร่วมมือ ของตำรวจตระเวนชายแดน และชาว บ้านมะเชอย่อ ที่เห็นความสำคัญ ของการศึกษาของบุตรหลาน ใน สมัยนั้น กก.ตชด.เขต ๗ ได้ ส่ง ร.ต.ต ประพันธ์แทน ม้วน มาประสานการปฏิบัติและร่วม ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด ๖X ๑๒ เมตร หลัง คามุงสังกะสี ฝา และโครงหลังคา เป็นไม้ไผ่ เมื่อก่อสร้างเสร็จ พ.ต.อ. สุข เกษม ศรีวัฒนะ รองผู้บังคับการตำรวจ ตระเวนชายแดนภาคที่ ๑(ในสมัย นั้น ) ได้เป็นประธานเปิดโรงเรียนแห่ง นี้ โดยโรงเรียนได้เริ่มเปิด ทำ การสอนเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๖ มี นักเรียนทั้งสิ้น๓๑ คน มีครูทำการ สอน ๓ นาย คือ
๑. จ.ส.ต ศรัทธา สุริยวงศ์ ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต เกษม ชนะบัว
๓. ส.ต.ต เจริญ มีแก้ว
ใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ นาย ธวัช พานิชภักดี ได้บริจาค สามแสนบาทถ้วน สร้างอาคารถาวร แบบ สปช. ๑๐๖ ขนาด ๓ ห้องเรียน ( ขนาด๙x ๒๗เมตร ) ต่อมา เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ เพื่อ ทรงเยี่ยมโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริฯ ที่มีอยู่ ในโรงเรียนในขณะนั้น ๒ ปี ต่อมาใน
พ.ศ ๒๕๓๕ ได้มีนายคาร์ ที โอดอร์ มอสปัค พร้อมคณะพนักงานบริษัทเฮงเค็ง ไทย ได้มาเยี่ยม โรงเรียนแห่งนี้ พบ ว่าอาคารเรียนเก่าเริ่มทรุดโทรม และ สถานที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนัก เรียนที่มีเพิ่มขึ้นในทุกปี จึง ได้ตกลงใจจะสนับสนุน โครงการ ก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภคโรง เรียนแห่งนี้ การก่อสร้าง ได้เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕ โดย พ.ต.อ. ถาวรจันทร์ยิ้ม และพ.ต.อ. สุ ทน วันเพ็ญ ซึ่งในระหว่างก่อสร้าง ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจ ตระเวน ชายแดนที่ ๑๓ เป็นผู้ประสานควบ คุมดูแลการปฏิบัติตามโครง การดังกล่าว จนกระทั่งเสร็จสิ้นและ มอบอาคารทั้งหมดและวัสดุ อุปกรณ์ รวมมูลค่าทั้งสิ้น สี่ล้านห้า แสนบาทถ้วน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๖ การ ก่อสร้างดังกล่าว มีผู้เข้าร่วม งานหลักคือ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะ อาจารย์ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี ชุด ช่างตำรวจตระเวนชายแดนและคณะ พนักงานบริษัท เฮงเค็ลไทย จำกัด ทั้งนี้มีหน่วย งานที่สนับสนุนอีกคือ วิทยาลัยสา รพัดช่างกาญจนบุรี วิทยาลัยครูพระ นคร เร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด กาญจนบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอไทรโยค สำนัก งานสหกรณ์ จังหวัด กาญจนบุรี และอาจารย์นันทวันพุก เวช โดยการก่อสร้างอาคาร ตกแต่ง ซ่อมแซมและมอบอุปกรณ์ดัง นี้ อาคารเรียนตามแบบ สปช. ที่ ๑๐๕/๒๙ (ดัด แปลง) ขนาด ๖๐.๕ x๙ เมตร ๒ ชั้น๑ หลัง โรงครัวขนาด ย่อม ๑หลัง อาคารที่พักเด็กบ้านไกล ๑ หลัง ห้อง น้ำห้องส้วม๑ หลัง เรือนพักครู ๑ หลัง( ใช้ โครงสร้างจากอาคารเรียนหลัง เดิม ) ศาลาเฉลิมพระเกียรติ๒ หลัง เรือนพยาบาล ๑หลัง เล้า ไก่ เล้าหมู เรือนเพาะชำ โรงเพาะเห็ด โรง เลี้ยงไหมอย่าละ ๑ หลัง สนาม กีฬาเอนกประสงค์ พร้อมอุปกรณ์เครื่องปั่นไฟฟ้าคู โบต้า ๑ เครื่อง โทรทัศน์ ๒๙ นิ้ว พร้อมวีดีดโอ เครื่อง นอน ๔๐ ชุด อุปกรณ์การเกษตร โต๊ะครู๘ ชุด โต๊ะ นักเรียน ๒๐๐ ชุดโต๊ะกินข้าว ๑๑ ชุด โต๊ะอนุบาล ๑๐ ตัว แท๊งค์ น้ำขนาดใหญ่เล็กรวม๙ แท๊งค์ ม้านั่ง หินขัดรวม ๔ ชุด เครื่องขยายเสียงพร้อม อุปกรณ์ ๑ ชุด และป้ายชื่อโรงเรียน๑ ป้าย ฯลฯ ทั้ง นี้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ครู นักเรียน และประชาชน สามารถ ใช้สถานที่อาคาร และวัสดุอุปกรณ์เป็น ที่ดำเนินกิจกรรม และโครงการ ต่างๆ ภายในโรงเรียน และหมู่บ้านได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมี ตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอน ทั้งสิ้น ๘ นาย นักเรียน๑๗๐ คน ชาย ๘๔ คนหญิง ๘๖ คน ทั้งนี้ ใน วันศุกร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยม และเปิดโรงเรียนแห่งนี้อีก ครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ซาบซึ้งและปลื้ม ปิติในพระมหากรุณาธิคุณแก่ผู้ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นอย่าง ยิ่ง

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ล ไทย เป็นโรงเรียนขึ้นในสังกัดกอง กำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัด กาญจนบุรี เปิดทำการสอนตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้าน มะเชอเย่อ และอีก ๕ หมู่บ้านใกล้เคียง ดำ เนินการสอนเป็นภาค๓ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๘ พฤษภาคม ถึง ๒๐ สิงหาคม
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ กันยายน ถึง ๓๐ พฤศจิกายน
  • ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๑ ธันวาคม ถึง ๒๔ มีนาคม
    หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของสำนัก งานการประถมศึกษาแห่งชาติ ดำ เนินการสอน โดยครูตำรวจตระเวน ชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ จะได้รับ ประกาศ นียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ นัก เรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อ ในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษา ของรัฐแห่งอื่นๆได้

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
    สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน บริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๒. ห้องสมุด ว.ค.พระนคร, ผู้บริจาคจากหน่วย
    งานต่างๆ ฯลฯบริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๓. ห้องพยาบาล ประชาชน ,บริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๔.โรงอาหาร บริษัทเฮงเค็ลไทย(ใช้รวมกับอาคารเรียน)
    ๕.ห้องส้วม บริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๖. สนามเด็กเล่น ประชาชน , วิทยาลัยสารพัดช่าง
    กาญจนบุรีบริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๗.โรงเลี้ยงไหม วิทยาลัยเกษตรกรรมกาญจนบุรี , บริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๘. เรือนเพาะชำ, เล้าหมู,เล้าไก่ บริษัทเฮงเค็ลไทย,ประชาชน
    ๙.เรือนพักครู คุณธวัช พานิชภักดี ,
    บริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๑๐. หอพักน้ำขนาด ๑๒,๐๐๐ บริษัทเฮงเค็ลไทย

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มแรก มีนักเรียน ๓๑ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ คน จนในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๗๐ คน เป็นชาย ๘๔ คน เป็นหญิง ๘๖ คน และทางกองกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้บรรจุตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    ทำหน้าที่
    ๑.จ.ส.ต ประจักษ์ สุวรรณโชติ
    ม.ศ.๓
    ครูใหญ่
    ๒.ส.ต.อ. มนูญ พิจารณ์
    ม.ศ.๓
    ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๓ ส.ต.อ เขมชาติ ภูเนติ
    ป.ว.ช
    ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๔. ส.ต.อสมชาติ มณีวงษ์
    ม.ศ.๕
    ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๕. ส.ต.ท.สุพัฒ หอมฤทธิ์
    ม.ศ.๕
    ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๖. ส.ต.ต.เศกสรร ไข่เสน
    ม.๖
    ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๗.พลฯคมกฤต จุลนันท์
    ม.๖
    ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๘.พลฯวิมุต คำมูลมี
    ม.๖
    ครูประจำชั้นอนุบาล

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๔
    ๑๑
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๗
    ๑๓
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ๑๙
    ๓๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๔
    ๑๔
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๑
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    ๒๐
    รวม
    ๘๔
    ๘๖
    ๑๗๐

    โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการ
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ. ๒๕๓๕ -พ.ศ.๒๕๓๙)

    งานด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัย
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เด็กมีอาหารกลางวันที่คุณค่ารับประทาน โดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่นักเรียนผลิตขึ้นเองในโรงเรียนมาประกอบอาหาร
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ส.ต.อ. สมชาย มณีวงษ์
    ผู้ดำเนินงานโครงงาน คือ ส.ต.อ. สมชาย , ส.ต.อ. เศกสรรฯ , พลฯ คมกฤต
    ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
    กิจกรรม
    ผลการดำเนินงาน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑.การปลูกพืชผัก ไม่ค่อยเพียงพอต่อ
    การประกอบเลี้ยง
    เกษตรอำเภอไทรโยค, วิทยาลัย
    กาญจนบุรี , บริษัทเฮงเค็ลไทย
    ๒.การปลูกพืชไร่ ขาดน้ำหน้าแล้ง และอยู่ระหว่างการปรับปรุง วิทยาลัยเกษตรกรรมกาญจนบุรี
    ๓.การปลูกไม้ผล กำลังเจริญเติบโต เกษตรอำเภอไทรโยค, วิทยาลัยกาญจนบุรี
    ๔.การเลี้ยงสัตว์ ขาดอาหารไม่ค่อยเจริญเติบ
    โตให้ผลผลิตไม่เต็มที่
    สำนักพระราชวัง, ประมงจังหวัดกาญจนบุรี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ -๒๕๓๓
    ๑.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ ชุด
    ๒.เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน๓๐,๐๐๐ บาท
    ๓.พันธ์มะม่วงพระราชทาน ๑๐ ตัน
    ๔. ฆ้อนเจาะไม้ ๑ อัน เป็นเงิน ๑๖๔ บาท
    ๕.บัวรดน้ำ ๕ อัน เป็นเงิน ๒๒๕ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓-๒๕๓๔
    ๑ เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ ชุด
    ๒.ไก่พื้นเมือง ๕๐ ตัว

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔–๒๕๓๕
    ๑.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ ชุด
    ๒. ค่าอาหารสุกร ๑ ชุด เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕–๒๕๓๖
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๔ กระสอบ ( มิ.ย ,ส.ค ,ธ.ค)
    ๒.จำนวนน้ำตาลทราย ๓ งวดจำนวน ๒๘๐กระสอบ ( มิ.ย ,ส.ค ,ธ.ค)
    ๓.เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ -๒๕๓๗
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๖ กระสอบ ( พ.ค)
    ๒.น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๑– กิโลกรัม ( พ.ค.)

     
    แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (๔๓)
    (กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๖)