ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ้องตี้ล่างระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริมมีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ้องตี้ล่าง

หมู่ที่ ๒ บ้านบ้องตี้ล่าง ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
เนื่องมาจากหมู่บ้านบ้องตี้ล่างเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก จำนวน ๓๐ ครอบครัว ประชากร ๑๓๐ คน มีเด็กนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ๓๘ คน เป็นชาย ๒๐ คน หญิง ๑๘ คน โดยเดิมที่ต้องเดินทางไปเรียนที่บ้านบ้องตี้บน ซึ่งเป็นโรงเรียนของสำนักงานการประถมศึกษา ระยะทาง ๕ กิโลเมตร เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ได้รับความยากลำบากในการเดินทาง ยิ่งในช่วงฤดูฝนจะลื่นแฉะ ชาวบ้านเกรงว่าบุตรหลานจะได้รับอันตราย และเล็งเห็นถึงความสำคัญทางการศึกษา จึงได้ร้องขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (กก.ตชด.๑๓ ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นที่บ้านบ้องตี้ล่าง โดยพันตำรวจเอกสันติ อุดมศักดิ์ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ในสมัยนั้น เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการบริจาคที่ดินจากนายพายะ ทองเปราะ จำนวน ๒๐ ไร่ สำหรับใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างโรงเรียน โดยชาวบ้านบ้องตี้ล่าง และตำรวจตระเวนชายแดน ร่วมกันทำการก่อสร้างโดยใช้วัสดุในพื้นที่ สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๐ ได้อาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็นอาคารเรียนชั้นเดียวฝาไม้ไผ่ หลังคาไม้ไผ่ผ่าซีกมุง พื้นที่อัดแน่น จำนวน ๒ห้องเรียน
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้ส่งครูตำรวจชายแดนเข้าไปทำการสอนในระยะแรก ๒ นาย เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังจากที่เปิดทำการเรียนการสอนแล้ว ได้มีการพัฒนาปรับปรุงในด้านต่าง ๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงด้านการเรียนการสอนไปตามลำดับความสำคัญ

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
จัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยมีนายการุณ ใครหอม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านทุ่งมะเซอย่อ หมู่ ๔ ตำบลบ้องตี้
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านบ้องตี้บน หมู่ ๑ ตำบลบ้องตี้
ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านสามัคคีธรรม ตำบลลุ่มสุ่ม
ทิศตะวันตก ติดต่อ เทือกเขาตะนาวศรี

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติ เป็นลำห้วย ๒ แห่ง อยู่ทางทิศตะวันออก และทิศใต้ของหมู่บ้าน มีสระน้ำ จำนวน ๘ แห่ง อยู่ทางทิศเหนือ ๕ แห่ง และทางทิศใต้ ๓ แห่ง

สภาพภูมิอากาศ
ในฤดูหนาวมีลมแรงในตอนกลางคืน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน อากาศร้อนแห้งแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ฤดูฝน ฝนตกชุก เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน

การคมนาคม
มีถนนเข้าถึงหมู่บ้าน จากที่ว่าการอำเภอไทรโยค ถึงบ้านบ้องตี้ล่าง ระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอดสาย ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๒๐ นาที สภาพเส้นทางใช้ได้ทุกฤดูกาล และระยะทางจากศาลากลางจังหวัดกาจนบุรี ถึงหมู่บ้านบ้องตี้ล่าง ระยะทาง ๗๒ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอด ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีจำนวน ๑๑๑ ครัวเรือน ประชากรรวม ๕๐๖ คน เป็นชาย ๒๖๐ คน เป็นหญิง ๒๔๖ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ และรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ย ประมาณ ๑๖,๘๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนันตำบลบ้องตี้ นายสุรศักดิ์ ทองเปราะ
ผู้ใหญ่บ้าน นายโกวิทย์ ปรึกษา

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านมะเซย่อ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาจนบุรี มีจำนวนครัวเรือน ๑๕๕ ครัวเรือน ประชากร รวม ๖๙๒ คน เป็นชาย ๓๖๘ คน หญิง ๓๒๔ คน ประกอบอาชีพทำไร่ และรับจ้าง รายได้เฉลี่ย ๑๗,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
๒. บ้านบ้องตี้บน หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาจนบุรี มีจำนวนครัวเรือน ๘๔ ครัวเรือน ประชากร ๓๖๗ คน เป็นชาย ๑๙๓ คน หญิง ๑๗๔ คน ประกอบอาชีพทำไร่ รับจ้าง มีรายได้เฉลี่ย ๑๗,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ฝึกอาชีพให้กับประชาชน
๒. ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
๓. ขาดที่ดินทำกิน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ้องตี้ล่าง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัดกาจนบุรี เปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านบ้องตี้ล่าง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตรจำนวน ๑ หลัง ชาวบ้านบริจาคไม้ และได้การก่อสร้าง ร่วมกับกก.ตชด.เขต ๗ (กก.ตชด. ๑๓ปัจจุบัน)
    ๒. อาคารเรียน ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๓๒ เมตรจำนวน ๑ หลัง สโมสรไลออนส์มหาจักรกรุงเทพ มอบเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
    ๓. อาคารเรียน ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๗ เมตรจำนวน ๑ หลัง บริษัท วีเพาเดอร์เทค จำกัด
    ๔. อาคารที่พักเด็กบ้านไกล ขนาดกว้าง ๕ เมตรยาว ๑๓ เมตร จำนวน ๑ หลัง ชมรมนักธุรกิจ ร.ม.น.รุ่น ๔๔
    ๕. โรงอาหาร ๑ หลัง สโมสรไลออนส์มหาจักรกรุงเทพ
    ๖. เรือนพยาบาล วิทยาลัยศิลปากรนครปฐม
    ๗. ร้านค้าสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับ กก.ตชด. ๑๓
    ๘. โรงเก็บวัสดุทางการเกษตร, โรงเพาะเห็ด,เรือนเพาะชำ เกษตรอำเภอไทรโยค ร่วมกับ กก.ตชด.๑๓
    ๙. โรงเลี้ยงไก่ ปศุสัตว์อำเภอไทรโยค ร่วมกับ กก.ตชด.๑๓
    ๑๐. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
    ๑๑. ถังเก็บน้ำฝน ขนาดกว้าง ๒.๗๐ เมตร ยาว ๖ เมตรสูง ๑.๕๐ เมตร จำนวน ๒ ถัง กรมโยธาธิการ
    ๑๒. ถังเก็บน้ำฝน ขนาดกว้าง ๒.๗๐ เมตร ยาว ๖ เมตรสูง ๑.๕๐ เมตร จำนวน ๒ ถัง บริษัท วีเพาเดอร์เทค จำกัด
    ๑๓. สนามวอลเลย์บอล ขนาดกว้าง ๑๕ เมตรยาว ๒๐ เมตร วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี ร่วมกับ กก.ตชด.๑๓
    ๑๔. สนามตะกร้อ ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี ร่วมกับ กก.ตชด.๑๓
    ๑๕. บ่อเลี้ยงปลา จำนวน ๑ บ่อ ประมงจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับ กก.ตชด.๑๓

    จำนวนครู และนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๓๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๒) มีนักเรียน ๑๗๔ คน เป็นชาย ๘๘ คน หญิง ๘๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครู และคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ – สกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ต.ส.ต. สมเกียรติ เถาวัลย์ ม.ศ.๕ ครูใหญ่/บริหารงานโรงเรียน
    ๒. จ.ส.ต.ประสพ นิยมสมุทรานนท์ ม.ศ.๓ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๓. ส.ต.อ. วิรัช วรรณะพุก ม.๖ งานธุรการ / อาคารสถานที่
    ๔. ส.ต.ท.บุญรอด แพงอุ่ม ม.๖ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๕. ส.ต.ต.ธงไชย ยวงลำใย ม.๖ โครงการส่งเสริมสหกรณ์/โครงการฝึกอาชีพ
    ๖. ส.ต.ต.สมเกียรติ ภู่เทศ ม.๖ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. ส.ต.ต.สุขสันต์ ภูเงิน ม.๖ โครงการปลูกหญ้าแฝก
    ๘. ส.ต.ต.เฉลิมพงษ์ รัตโนภาพ ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา/
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๙. พลฯสำรองหญิง วริศรา  อินทรสุวรรณโณ ม.๖ ครูผู้สอนเด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๐. น.ส.สุลาพร ทองเปราะ กำลังศึกษา กศน. ระดับ ม.๖ ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๑. น.ส.ลัดดา เถาวัลย์ ป.๔ ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๕
    ๑๗
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๖
    ๑๗
    ๔๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๓
    ๑๓
    ๓๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๓
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    รวม
    ๘๘
    ๘๖
    ๑๗๔

    การศึกษาต่อขอนักเรียน และการประกอบอาชีพ (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๘ คน และประกอบอาชีพ ๑๗ คน

    โครงการตามพระราชดำริ ที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ สิบตำรวจตรี สมเกียรติ ภูเทศ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอไทรโยค ปศุสัตว์อำเภอไทรโยค ประมงจังหวัดกาญจนบุรี
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ลำห้วยบ้องตี้ สระน้ำ ประปาหมู่บ้าน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน ครู นักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๘๘
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้อาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๑ - ๒๕๔๒ ดังนี้
    ๑. นมผงพระราชทานปีละ ๓ ครั้ง รวม ๓๕ กิโลกรัม
    ๒. แป้งนมถั่วเหลืองพระราชทานปีละ ๓ ครั้ง รวม ๑๐๐ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทรายปีละ ๓ ครั้ง รวม ๑๐๐ กิโลกรัม
    ๔. นมกล่องยูเอสที ปีละ ๒ ครั้ง รวม ๕,๙๗๖ กล่อง

    การให้อาหารเสริมมีการดำเนินการ
    ๑. นมถั่วเหลืองให้นักเรียนทุกคนดื่ม ทุกวันจันทร์ พุธ และวันศุกร์
    ๒. นมผงพระราชทาน ให้นักเรียนทุกคนดื่ม ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
    ๓. นมกล่องยูเอสที ให้นักเรียนดื่มคนละ ๑ กล่อง/วัน ทุกวันทำการ

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (สำรวจเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๕
    ๒๕
    ๒๕
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๔๖
    ๔๖
    ๔๓
    ๖.๕๒
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๒๙
    ๒๙
    ๒๖
    ๑๐.๓๔
    ดี
    ประถม ๓
    ๑๘
    ๑๘
    ๑๘
    -
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๖
    -
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    -
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    -
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๑๒๓
    ๑๒๓
    ๑๒๓
    ๔.๘๘
    ดีมาก

     
    แหล่งอ้างอิง: สำนักโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๔๙)
    (กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๒)