ประวัติโรงเรียนเลิงถ่อนโนนสมบูรณ์ ข้อมูลนักเรียน
ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนเลิงถ่อนโนนสมบูรณ์

หมู่ที่ ๔, ๕, ๙ บ้านเลิงถ่อนโนนสมบูรณ์ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนเลิงถ่อนโนนสมบรูณ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมาายน ๒๔๘๙ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านเลิงถ่อนและบ้านโนนสมบรูณ์ ขณะนั้นมีนักเรียน ทั้งหมด ๕๖ คน มีครู ๒ คน อาคารเรียนเป็นอาคารชั่วคราวหลังคามุงแฝก ใช้ไม้ปลีกทำโต๊ะ เก้าอี้ บนพื้นดิน

พ.ศ. ๒๔๙๓ ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนแบบถาวร จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๒ อาคารเรียนประสบวาตภัย ๖ ครั้ง แต่ได้รับงบประมาณซ่อมแซมให้ดีอย่างเดิม ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนเลิงถ่อนเป็นโรงเรียนเลิงถ่อนโนนสมบรูณ์ ปีงบประมาณ ๒๕๑๙ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ช ขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง บ้านพักครู ๑ หลัง

ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ และได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารเรียนหลังเดิมเพราะมีสภาพทรุดโทรมมาก

ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างของอาคาร ป.๑ช ขนาด ๔ ห้องเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ สปช. อนุมัติงบประมาณขุดบ่อเลี้ยงปลาขนาด ๒๐ X ๒๕ เมตร ลึก ๑.๕ เมตร ๒ บ่อ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับงบประมาณจากองค์การยูนิเซฟ สร้างศูนย์เพาะขยายพันธุ์ปลา จำนวน ๑๙,๐๐๐ บาท

ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ ๒๐๖/๒๖ เป็นเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.๓๓ เป็นเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท ปีการศึกษา ๒๕๓๒ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนจัดโครงการประมงโรงเรียนดีเด่นระดับประเทศ

ปีการศึกษา ๒๕๓๕ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๘ คน ปัจจุบันมีนักเรียนมาสมัครเรียนมากขึ้นทั้งใจเขตบริการและนอกเขต เช่น บ้านคำม่วง ต้องเพิ่มเป็นชั้นละ ๒ ห้องเรียน

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการด้วยรักและห่วงใย และกิจกรรมของโรงเรียน
ปีงบประมาณ ๒๕๓๘ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบสปช. ๑๐๕/๒๙ ขนาด ๑ ชั้น ๔ ห้องเรียน เป็นเงิน ๑,๖๓๘,๕๐๐ บาท และได้รับงาบประมาณสร้างสนามบาสเกตบอล ขนาด ๑๘x ๓๑ เมตร เป็นเงิน ๑๒๗,๐๐๐ บาท ปีงบประมาณ ๒๕๓๙ ได้งบประมาณต่อเติมชั้นล่างของอาคารใหม่ แบบ ๑๐๕/๒๙

ปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช.๒๐๕/๒๖ เป็นเงิน ๑,๒๔๙,๗๙๐ บาท ติดตั้งไฟฟ้าภายในโรงเรียน เป็นเงิน ๑๙๒,๐๐๐ บาท ติดตั้งประปาภายในโรงเรียน เป็นเงิน ๒๑๔,๔๐๐ บาท ถนนลูกรัง ๕๐,๔๐๐ บาท ปรับปรุงบริเวณโรงเรียน เป็นเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท รั้วคอนกรีต - ลวดหนาม เป็นเงิน ๕๘๓,๐๗๐ บาท

ปีงบประมาณ ๒๕๔๑ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕/๒๖ และบ้านพักรักเรียนแบบพึ่งพาตังเอง จำนวน ๔ หลัง แยกสำหรับนักเรียนชาย ๒ หลัง นักเรียนหญิง ๒ หลัง และเริ่มรับนักเรียนเข้าอยู่ประจำตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๒

ปีงบประมาณ ๒๕๔๒ ได้รับงบประมาณต่อเติมชั้นล่างอาคารเรียน สปช. ๑๐๕/๒๙ และถนนคอนกรีต ระยะทาง ๙๐ เมตร

โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖๐ ไร่ ๒ งาน

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
 โรงเรียนเลิงถ่อนโนนสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของสำนังานการประถมศึกษาอำเภอสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
 โรงเรียนเปิดทำการสอน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๕๖ คน มีครู ๒ คน ปัจจุบันมีนักเรียน ๔๘๒ คน เป็นชาย ๒๔๙ คน หญิง ๒๓๓ คน มีครู ๒๒ คน ครูอัตรจ้าง ๓ คน ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน นักการ -ภารโรง ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๔๔
    ชั้น
    จำนวนนักเรียน
    ชาย
    หญิง
    รวม
    อนุบาล ๑
    ๓๐
    ๒๗
    ๕๘
    อนุบาล ๒
    ๑๒
    ๒๑
    ประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๓๒
    ๑๘
    ๕๐
    ประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๔
    ๑๕
    ๒๙
    ประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๒๐
    ๒๔
    ๔๔
    ประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๒๕
    ๑๘
    ๔๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๒๕
    ๒๖
    ๕๑
    ประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๒๕
    ๒๕
    ๕๐
    มัธยมศึกษาปีที่ ๑
    ๓๐
    ๒๔
    ๕๔
    มัธยมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ๒๓
    ๓๕
    มัธยมศึกษาปีที่ ๓
    ๒๓
    ๒๔
    ๔๗
    รวม
    ๒๔๙
    ๒๓๓
    ๔๘๒

    การศึกษาต่อของเด็กนักเรียน(ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ศึกษาต่อ ๔๓ คน

    ผลการดำเนินโครงการ
    วัตถุประสงค์ เพื่อลดระดับความรุนแรงของปัญหาการขาดสารอาหารและโรคติดต่อที่สำคัญของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

    ที่
    การดำเนินงาน
    ผลการดำนินงาน
    ผลผลิตทางการเกษตร
    ได้ผลดี ๗๐%
    วัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน
    ไม่เพียงพอ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กเล็ก และเด็กประถม
    ๓%
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กเล็ก และเด็กประถม
    ๐.๕๗%
    อัตราคอพอกระดับ ๑ ในเด็กประถมศึกษา
    ๐.๗๔%
    อัตราการป่วยด้วยโรคติดเชื้อในเด็กนักเรียน
    ๐%
    ร้อยละของการตรวจโลหิตพบเชื้อมาลาเรีย
    ๐%
    อัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิ
    ๘๐%

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๑)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๕๒ ๒๕๔๕ ฉ.๑)