ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเมืองทอง ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเมืองทอง

หมู่ที่ ๑๑ ตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเมืองทองเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๕
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเมืองทอง ตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี พิกัด SE ๙๕๖๘๙๔ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๒ โดยนายสวาสดิ์ ทิพอาสน์ ผู้นำหมู่บ้านและราษฎรในหมู่บ้าน ได้ยื่นหนังสือขอจัดตั้งโรงเรียนต่อกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ เนื่องจากบุตรหลานที่อยู่ในวัยเรียนต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่หมู่บ้านโนนทอง ซึ่งมีระยะทาง ๖ กิโลเมตรในฤดูฝนทำให้เด็กขาดเรียนเป็นจำนวนมากการเดินทางไปเรียนหนังสือไม่สะดวกต้องข้ามพื้นที่สูงชันและลำห้วยเป็นอุปสรรคต่อเด็กนักเรียน ผู้ปกครองเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยและการเรียนไม่ทันเพื่อนๆ ในหมู่บ้านอื่น เพราะเวลาเรียนไม่เพียงพอ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จึงได้จัดส่งข้าราชการตำรวจเข้าไปทำหน้าที่สอนโดยได้ร่วมกับราษฎรในหมู่บ้านจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นขนาด กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๐ เมตร หลังคามุงหญ้า ฝาขัดแตะไม้ไผ่ เปิดทำการสอน ชั้น ป.๑ – ป.๖ มีนักเรียน ๔๓ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ทำหน้าที่สอน ๒ นาย เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ ชมรมนักศึกษาอีสาน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกค่ายอาสาพัฒนา ก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร ขนาด กว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๗ เมตร จำนวน ๑ หลัง ๖ ห้องเรียน หลังคามุงสังกะสี พื้นคอนกรีต
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ทำเรื่องขอใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จากกรมป่าไม้ เพื่อเข้าทำประโยชน์เป็นที่ตั้งโรงเรียน และได้รับหนังสืออนุมัติให้เข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ตามหนังสือกรมป่าไม้ที่ กษ ๐๗๐๕.๓/๑๕๔๖๑ ลง วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๓๓
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๐ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเมืองทอง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี ได้จัดการศึกษาภาคบังคับตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ คือเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษา ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาปี ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนเปิดทำการสอน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านเมืองทอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๔๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๔๔มีนักเรียนทั้งหมด ๖๙ คน เป็นชาย ๓๕ คน หญิง ๓๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๔๔
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๐
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    รวม
    ๓๕
    ๓๔
    ๖๙

    การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของนักเรียน(ในปีการศึกษา ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓)
    มีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๙ คน เข้ารับการศึกษาต่อ จำนวน ๑๗ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๒ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ทองคำ คำจันทร
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สำนักงานเกษตรอำเภอนายูง, สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอนายูง, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี, สำนักงานประมงจังหวัดอุดรธานี, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี และสถานีประมงน้ำจืดอุดรธานี
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร สระน้ำ
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบการเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน และ ส.ต.ท.สมชาย โยธากุล
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/ คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๒ – ๒๕๔๓ เป็นนมผงสำเร็จรูปพระราชทาน จำนวน ๗๐๐ กิโลกรัม) โดยชงให้นักเรียนทุกคนดื่มวันละ ๒ แก้ว ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และดื่มนมวันละ ๑ แก้ว ในวันอังคารและวันพฤหัสบดี ส่วนนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ให้ดื่มนมคนละ ๒ แก้ว ทุกวันทำการ

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๑๐๑)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๖๔ ๒๕๔๐)