โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม ตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี จุดพิกัด TE ๐๑๙๘๐๙ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม (เดิมชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยผีหลอก) สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ กระทรวงมหาดไทย เป็นหมู่บ้านฝากการปกครอง ขึ้นกับหมู่บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๓ ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา จึงทำหนังสือขอการจัดตั้งโรงเรียนไปยังอำเภอน้ำโสม ทางอำเภอน้ำโสมไม่สามารถจัดตั้งให้ได้ เนื่องจากขาดบุคลากรและเป็นพื้นที่สีชมพูอยู่เมื่อไม่ได้ ชาวบ้านจึงยื่นหนังสือขอกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ จัดตั้งโรงเรียนให้ กก.ตชด.เขต ๔ (กก.ตชด.๒๔) ได้พิจารณาออกสืบสภาพหาข้อมูลต่างๆ เห็นควรจัดตั้งโดยคำนึงถึงการศึกษา เพื่อให้เด็กได้อ่านออกเขียนได้ และมองเห็นความสำคัญด้านความมั่นคงของประเทศชาติ จึงได้ส่งข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน ทำหน้าที่ครู จำนวน ๔ นาย มาดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวร่วมกับชาวบ้าน โดยได้รับการบริจาคที่ดินจาก นายก้าน ธิตปัน เนื้อที่ ๑๕ ไร่ โดยประมาณ ได้ก่อสร้างอาคารชั่วคราว และเปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้น ป.๑ – ป.๔ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๓ มีนักเรียนรวม ๑๘ คน แยกเป็นชาย ๑๐ คน หญิง ๘ คน มี จ.ส.ต.สมาน วิรุณพันธ์ ทำหน้าที่ครูใหญ่ ปี พ.ศ.๒๕๓๐ นิสิตอาสาสมัครชมรมค่ายพัฒนา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับชาวบ้านห้วยเวียงงาม และตำรวจตระเวนชายแดน ได้สร้างอาคารใหม่ เป็นอาคารแบบ สปช.๑๐๒ ขนาด ๔ ห้องเรียน พร้อมห้องน้ำ, เสาธง, แท้งก์เก็บน้ำฝน, ป้ายชื่อโรงเรียน, สนามเด็กเล่น
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๐ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๓ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๔๔ กำหนดวันเปิดเรียนไว้ ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิดวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิดวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๕

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๑๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย
    ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๔๔ มีนักเรียน ๖๙ คน เป็นชาย ๔๑ คน หญิง ๒๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๔๔
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๔๑
    ๒๘
    ๖๙

    การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของนักเรียน(ปีการศึกษา ๒๕๔๑ - ๒๕๔๓ )
    มีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๗ คน เข้ารับการ ศึกษาต่อ จำนวน ๒๕ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๒ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.ชวนสันติ จันทคัต
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอนายูง, สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอนายูง, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี, ประมงจังหวัดอุดรธานี และ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร บ่อน้ำสาธารณะ และบ่อประมงโรงเรียน
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบการเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้านหมุนเวียนเป็นกลุ่ม
    การเฝ้าระวัง ไม่มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนเงินกองทุนอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมในปีการศึกษา ๒๕๔๓ เป็นนมผงสำเร็จรูปพระราชทาน จำนวน ๘๕๐ กิโลกรัม จัดเป็นอาหารเสริมดังนี้
    ๑. ให้นักเรียนทุกคนๆ ละ ๒ แก้ว ในวันจันทร์,พุธ,ศุกร์และดื่มคนละ ๑ แก้ว ในวันอังคาร,และวันพฤหัสบดี
    ๒. ของหวาน ใช้ผลิตผลจากถั่วดำ, ถั่วเขียว, ฟักทอง
    ๓. ผลไม้ ได้แก่ กล้วย, ขนุน, มะขามหวาน (ผลผลิตในโรงเรียนและผู้ปกครองสนับสนุน)

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๑๐๑)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๖๔ ๒๕๔๐)