ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทองครูตำรวจตระเวนชายแดน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี พิกัด เด็นอาร์ ๑๙๒๑๑๓ อยู่ในความรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ เนื่องจากบุตร-หลาน ของคนงานในบริษัทเหมืองแร่แหลมพิชัย ไม่มีสถานที่เรียน บริษัทฯ จึงได้มอบที่ให้และสร้างอาคารเรียนพร้อมทั้งดำเนินการประสานมายัง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ปัจจุบัน) เพื่อขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๕ มีนักเรียนชาย ๑๙ คน นักเรียนหญิง ๑๔ คน รวม ๓๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอน ๒ นาย เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้ทำพิธีรับ-มอบ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง จากบริษัทเหมืองแร่แหลมพิชัย
ในปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ชมรมเพื่อนสตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม มาเยี่ยมชม และมอบวัสดุ-อุปกรณ์การศึกษา ให้กับ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง พบว่าอาคารเรียนอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานานชมรมเพื่อนสตรีฯ จึงจัดกิจกรรมโครงการศิลปากรเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ค่ายเพื่อนสตรี ๒๙) ก่อสร้างอาคารเรียนชั้นเดียว ๑ หลัง มี ๗ ห้องเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ รวม ๗ ชั้นเรียน มีครู ๗ นาย และผู้ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน มีรายชื่อดังนี้

ครูตำรวจตระเวนชายแดน
ครูตำรวจตระเวนชายแดน
ทำหน้าที่
๑. จ.ส.ต. สมชีพ บัวชุม ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต. ชาญ แฉล้มนงนุช ครูผู้สอน
๓. ส.ต.ท. วารินทร์ มีแก้ว ครูผู้สอน
๔. ส.ต.ท. ชนินทร์ ถนนกลาง ครูผู้สอน
๕. ส.ต.ท. วิสิทธิ์ พูนเพิ่ม ครูผู้สอน
๖. ส.ต.ต. ไพรัตน์ จูธารี ครูผู้สอน
๗. ส.ต.ต. เดชา  อุทัยฉาย ครูผู้สอน

ผู้ดูแลเด็กเล็ก
ผู้ดูแลเด็กเล็ก
ทำหน้าที่
๑. นางปิยะนุช แฉล้มนงนุช ผู้ดูแลเด็กเล็ก
๒. นางสาวจำปา พุมมริน ผู้ดูแลเด็กเล็ก

คณะกรรมการศึกษา
๑. นายวัชระ แย้มอรุณ ประธานกรรมการศึกษา
๒. นายณรงค์ ปัญญะโสภา รองประธาน
๓. นายวิเชียร แตงทอง กรรมการ
๔. นายเนย หองชื่น กรรมการ
๕. นายเวียง แต่แดงเพชร กรรมการ

นโยบายของโรงเรียน
๑. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรประถมศึกษาปี ๒๕๒๑ ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง ปี พุทธศักราช ๒๕๓๓
๒. รักษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ให้ต่ำกว่าระดับ ๒ และการเรียนซ้ำชั้นไม่เกิน ร้อยละ ๓
๓. ปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด สนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
๔. ดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การคมนาคม
เส้นทางที่สะดวกที่สุดโดยการเดินทางด้วยรถยนต์ จาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ถึง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทองกองกำกับการตำรวจตะเวนชายแดนที่ ๑๓ ถึง อำเภอด่านมะขามเตี้ยระยะทาง ๓๐ กิโลเมตรอำเภอด่านมะขามเตี้ย ถึง อำเภอจอมบึงระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร อำเภอจอมบึง ถึง อำเภอสวนผึ้ง ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร อำเภอสวนผึ้ง ถึง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ระยะทาง ๓๙ กิโลเมตร รวมระยะทางจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๑๓ ถึง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชายแดนตะโกปิดทอง เป็นระยะทาง ๑๓๔ กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง ๑๑๖ กิโลเมตร เป็นทางดินลูกรัง ๑๘ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ๒ ชั่วโมง ๓๐ นาที

การดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการบริโภคตลอดทั้งปีการศึกษาโดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นเองภายในโรงเรียนนำมาประกอบอาหาร และในขณะเดียวกันเด็กจะได้รู้วิชาการด้านการเกษตรแผนใหม่ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมรับผิดชอบและให้การสนับสนุนโครงการ เช่น วิทยาลัยเกษตรกรรมราชบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอสวนผึ้ง เป็นต้น
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ส.ต.ท. วิสิทธิ์ พูนเพิ่ม
ผู้ดำเนินโครงการ นักเรียน
ผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันปัจจุบัน มีดังนี้
๑.พื้นที่ในการดำเนินโครงการ จำนวน ๒ ไร่ ๒ งาน
๑.๑ปลูกพืชผล
-คะน้า
-ผักบุ้ง
-ผักกวางตุ้ง
-ฟักทอง
-ถั่วฟักยาว
-พริก
-ถั่วพู
-ฟักเขียว
๑.๒ปลูกไม้ผล
-มะละกอ
-มะม่วง
-กล้วย
-ขนุน
๒.ประเภทสัตว์เลี้ยง
-ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน ๕๐ ตัว
๓. กระทรวงศึกษาธิการให้การสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน (๕ บาท/วัน/คน) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ได้รับจัดสรร ดังนี้
เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง เดือนกันยายน ๒๕๓๘
ชั้นก่อนประถมศึกษา จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท
ชั้นประถมศึกษา จำนวน ๔๑,๕๐๐ บาท
โรงเรียนตำรวจตระเวนชานแดนตะโกปิดทอง มีการประกอบอาหารกลางวัน ๕ ครั้ง/สัปดาห์ โดยนำผลผลิตจากโรงเรียนและจัดซื้อเครื่องปรุงจากเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน โดยให้นักเรียนและผู้ปกครองเป็นผู้ประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังได้ประกอบอาหารเสริมให้นักเรียน ๓ ครั้ง/สัปดาห์ และนมผงพระราชทานเป็นอาหารเสริมให้นักเรียนดื่ม ๒ ครั้ง/สัปดาห์

แผนการประกอบอาหารเสริมในรอบสัปดาห์ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๓๙
วัน
ชนิดอาหารเสริม
วัสดุประกอบ
ผู้ดำเนินการ
จันทร์ นมถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง,น้ำตาลทราย ครู – นักเรียน
อังคาร
นมผงพระราชทาน
นมผง, น้ำสุก
ครู - นักเรียน
พุธ นมถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง,น้ำตาล ครู –นักเรียน
พฤหัสบดี
นมผงพระราชทาน
นมผง, น้ำสุก
ครู - นักเรียน
ศุกร์ นมถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง,น้ำตาลทราย ครู –นักเรียน

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในโรงเรียน
เดือน/ปี
เนื้อ
ปลา
ไก่
ไข่
ผัก
ผลไม้
ถั่วเมล็ดแห้ง
รวม
พ.ค. ๓๙
-
-
-
๑๐๗
-
-
๑๑๕
รวม
-
-
-
๑๐๗
-
-
๑๑๕

การประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน
เดือน/ปี
เนื้อ
ปลา
ไก่
ไข่
ผัก
ผลไม้
ถั่วเมล็ดแห้ง
รวม
พ.ค. ๓๙
๔๕
๑๙
๑๐๗
-
๒๙
๒๑๔
รวม
๔๕
๑๙
๑๐๗
-
๒๙
๒๑๔

ตารางเปรียบเทียบการประกอบอาหารเลี้ยง
เดือน/ปี
เนื้อ
(ก.ก)
ปลา
(ก.ก)
ไก่
(ก.ก)
ไข่
(ก.ก)
ผัก
(ก.ก)
ผลไม้
(ก.ก)
ถั่วเมล็ดแห้ง
(ก.ก)
รวม
(ก.ก)
ผลิตภัณฑ์ ผลผลิต
ทางการเกษตร
ในโรงเรียน
-
-
-
๑๐๗
-
-
๑๑๕
วัสดุที่ใช้
ประกอบเลี้ยง
๔๕
๑๙
๑๐๗
-
๒๙
๒๑๔
ผลต่าง
๔๕
๑๙
-
-
-
๒๙
๙๙
เฉลี่ยคน/ปี( ๖ เดือน)
๐.๓๔
๐.๑๕
๐.๐๕
๐.๐๖
๐.๘๓
-
๐.๒๒
๑.๖๕

ตารางแสดงภาวะโภชนาการนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๘
ลำดับที่ ปีการศึกษา จำนวนนักเรียน ภาวะโภชนาการ
ที่รับการตรวจ จำนวนปกติ จำนวนไม่ปกติ
คน ร้อยละ นักเรียน ร้อยละ นักเรียน ร้อยละ
๑.
๒๕๓๔
๗๑
๑๐๐
๖๑
๘๕.๙๐
๑๐
๑๔.๑๐
๒.
๒๕๓๕
๑๒๐
๑๐๐
๑๐๕
๘๗.๕๐
๑๕
๑๒.๕๐
๓.
๒๕๓๖
๙๕
๑๐๐
๘๒
๘๖.๓๐
๑๓
๑๓.๗๐
๔.
๒๕๓๗
๙๙
๑๐๐
๘๗
๘๗.๙๐
๑๒
๑๒.๑๐
๕.
๒๕๓๘
๑๓๓
๑๐๐
๑๐๘
๘๑.๒๐
๒๕
๑๘.๘๐

แหล่งอ้างอิง : กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓. (๕๓)
(รบ. ท ๑ น๙๖๑๓ ๒๕๓๙)