ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกลุ่มนักข่าวหญิง ๒ (บ้านบ่อหวี)ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกลุ่มนักข่าวหญิง ๒ (บ้านบ่อหวี)

บ้านบ่อหวี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชายแดนไทย - พม่า บนเทือกเขาตะนาศรี ประชากรกว่าร้อยละ ๘๐ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำไร่ มีฐานะยากจน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง มักแผ้วถางป่าเพื่อปลูกพืชอายุสั้น
ตำบลตะนาศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง ๒ (บ้านบ่อหวี) เดิมเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๑๔ โดยความร่วมมือจากราษฎรที่เห็นความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้บุตรหลานได้มีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากนักเรียนในหมู่บ้านจะต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านห้วยผาก ตำบลสวนผึ้ง ซึ่งมีระยะทางห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๔ กิโลเมตร การเดินทางไป - กลับ ได้รับความลำบากมากในฤดูฝน เพราะมีลำห้วยบ่อคลึงกั้นระหว่างหมู่บ้านบ่อหวีกับหมู่บ้านห้วยผาก ราษฎรจึงร้องขอครูไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (กก.ตชด.๑๓) และเริ่มเปิดดำเนินการสอนเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๑๔ โดยใช้สำนักสงฆ์บ้านบ่อวีเป็นสถานที่สอนชั่วคราว
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชทานทรัพย์สำหรับก่อสร้างอาคารเรียนถาวร เป็นอาคารชั้นเดียว ขนาด ๙ x ๒๗ x ๕ เมตร พื้นปูน ฝาไม้ หลังคาสังกะสี สิ้นงบประมาณทั้งสิ้น ๗๐,๐๐๐ บาท โดยกลุ่มนักข่าวหญิง ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน
วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๑๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ ไปทรงเปิดป้ายอาคารเรียน และทรงพระราชทานนามโรงเรียนหลังใหม่ว่า "โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง ๒ (บ้านบ่อหวี)"
วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริ
วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๗ กลุ่มเพื่อนสตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ได้ก่อสร้างอาคารเด็กก่อนวัยเรียน และอาคารห้องสมุดให้แก่โรงเรียน โดยมีตระกูลถาวรกิจ และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้บริจาคเงินในการก่อสร้าง
วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้โอนโรงเรียนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และแต่งตั้งให้นายสุพัต อ่อนน้อม ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนรุจิรพัฒน์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่

จำนวนครู และนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๘๑ คน ชาย ๘๙ คน หญิง ๙๒ คน มีข้าราชการครู ๖ คน ครูสังกัดตำรวจตระเวนชายแดน ๑ คน ครูจ้างสอน ๓ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ระดับชั้น
จำนวนนักเรียน
รวม
ชาย
หญิง
อนุบาล ๑
๑๑
๑๑
๒๒
อนุบาล ๒
๑๐
๑๘
ประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๙
๓๗
๕๖
ประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๗
๑๖
๓๓
ประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๕
ประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๐
๑๕
ประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๒
ประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๐
รวม
๘๙
๙๒
๑๘๑

ตารางแสดงจำนวนครู
ชื่อ – นามสกุล
ตำแหน่ง
วุฒิ
๑) นายสุพัต อ่อนน้อม ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนรุจิรพัฒน์
ค.บ.
๒) นายทองเจือ ภู่ระหงษ์ ศึกษานิเทศก์ ๗
ค.บ.
๓) นายเฉลียว เถื่อนเถา อาจารย์ ๒ โรงเรียนบ้านชัฎหนองหมี
ค.บ.
๔) ส.ต.อ.ไพทูรย์ เฉลิมดิษฐ์ ครู ๑ โรงเรียนบ้านตะโกล่าง
ค.บ.
๕) นายพฤกษ์ นาคะพันธ์ อาจารย์ ๑ โรงเรียนรุจิรพัฒน์
ค.บ.
๖) นายสมโภชน์ ศรีเมือง ผู้อำนวยการโรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา ๒
ค.บ.
๗) นายสิทธิชัย ทุติยาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ
ค.บ.
๘) นางสาวทิพมนต์ คำแก้ว ครูจ้างชั่วคราวรายเดือน
ค.บ.
๙) นางจุฑามาต พลเสน ครูจ้างชั่วคราวรายเดือน
ค.บ.
๑๐) นางสาวบุญมา คงสุคน ครูจ้างชั่วคราวรายเดือน
ค.บ.

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
การจัดการเรียนการสอน มีปัญหาพื้นฐาน
๑. ปัญหาในด้านภาษา และการสื่อสาร นักเรียนมากกว่าร้อยละ ๘๐ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
๒. ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ
- นักเรียนเจ็บป่วยจากโรคไข้มาลาเรีย จำนวน ๔๒ คน
- นักเรียนมีภาวะขาดสารไอโอดีน จำนวน ๒๙ คน
- นักเรียนเป็นโรคปริทันต์ที่ต้องการรักษาเร่งด่วน จำนวน ๑๐ คน
- นักเรียนฟันผุ จำนวน ๑๗ คน
- นักเรียนป่วยเป็นโรคเลือดจาง จำนวน ๒ คน

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๓)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ๑
ระดับ๒
ระดับ๓
รวม
% ต่ำหว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๕๕
๕๕
๕๓
๓.๖๔
ดีมาก

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
% ต่ำหว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๓๔
๓๔
๓๐
๑๑.๗๖
ดี
ประถม ๒
๑๓
๑๓
๑๒
๗.๖๙
ดีมาก
ประถม ๓
๑๓
๑๓
๑๑
๑๕.๓๘
ดี
ประถม ๔
๑๑
๑๑
๑๐
๙.๐๙
ดีมาก
ประถม ๕
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๖
๐.๐๐
ดีมาก
รวม
๘๖
๘๖
๗๘
๙.๓๐
ดีมาก

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๔๐
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๙๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๙๐ กิโลกรัม
๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๔๑
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี . (๖๐)
สำนักงาน, [๒๕__]