ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักไทย ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักไทย

หมู่ที่ ๖ บ้านรักไทย ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีกรณีพิพาทตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่หมู่บ้านร่มเกล้า ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ - ๒๕๓๓ ทางกองอำนวยการโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ได้จัดหาครูทหารพรานจากกองร้อยทหารพรานที่ ๓๔ อำเภอหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาทำการสอน จำนวน ๒ นาย โดยเริ่มทำการสอนเพื่อให้เด็กนักเรียนอ่านออก เขียนได้ ปีการศึกษา ๒๕๓๓ กองอำนวยการโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ได้มอบโอนโรงเรียนให้กับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ จังหวัดพิษณุโลก ทางกองกำกับฯ จึงจัดครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๔ คน เข้าไปทำการสอน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๓๕ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักไทย สังกัดกองการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านร่มเกล้า ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้ ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓ . ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๒ คน มีครู ตชด. ๔ นาย ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๓) มีนักเรียน ๔๙ คน เป็นชาย ๒๖ คน หญิง ๒๓ คน มีครู ตชด. ๗ นาย และ ผู้ดูแลเด็ก ๒คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๐
๑๐
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๒๖
๒๓
๔๙

การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ แล้ว จำนวน ๒๔ คน เข้ารับการศึกษาต่อ จำนวน ๑๔ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๐ คน

การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ นางสนทยา เทียมรัตน์.
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ โรงเรียนนายร้อย จปร. สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง สำนักงานเกษตรตำบลพรหมณี และศูนย์เกษตรเบ็ดเสร็จ
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร น้ำประปา
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำประปา
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ นางสำเนียง ช้อนทอง
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๓๒ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๒
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๘๓
    ๘๓
    ๘๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๙
    ๓.๓๓
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๓๙
    ๓๙
    ๓๖
    ๗.๖๙
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๕๒
    ๕๒
    ๔๙
    ๕.๗๗
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๕๕
    ๕๕
    ๕๓
    ๓.๖๔
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๕๓
    ๕๓
    ๕๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๔๒
    ๔๒
    ๔๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๒๗๑
    ๒๗๑
    ๒๖๒
    ๓.๓๒
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๒)