ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านลาดเรือ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านลาดเรือ

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านลาดเรือ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านลาดเรือ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการจังหวัดพิษณุโลก พิกัด คิววี ๙๐๓๓๐๙ ได้จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๖ โดยมีนายสิน ศิริ ได้มอบที่ดินให้ จำนวน ๖ ไร่ ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน และราษฎรได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๑ หลัง ต่อมา กก.ตชด.เขต ๖ (เดิม) ได้สนับสนุนครู ตชด. ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องแบบนักเรียนและยารักษาโรค เพื่อแจกจ่ายให้กับราษฎรที่เจ็บป่วย เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๙ ได้มี ผกค. เข้ามาคุกคามจึงเป็นเหตุให้ทางโรงเรียนต้องหยุดทำการเรียนการสอนไว้ชั่วคราว เป็นระยะเวลาถึง ๕ ปี เมื่อเหตุการณ์สงบทางผู้ใหญ่บ้านลาดเรือ จึงได้ทำหนังสือไปถึงกองร้อย ตชด.๓๑๕ (กก.ตชด.๓๑) ให้ส่งครู ตชด. มาทำการสอนต่อไป ประกอบกับทาง กก.ตชด.เขต ๖ (เดิม) ได้รับเงินพระราชทานจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน จำนวน ๔ ห้องเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านลาดเรือ สังกัดกองกำกับการตรำวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ จังหวัดพิษณุโลก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านลาดเรือ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียนดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
ภาคเรียนที่ ๒เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๘ คน มีครู ตชด. ๓ นาย ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๓) มีนักเรียน ๖๓ คน เป็นชาย ๓๔ คน หญิง ๒๙ คน มี ครู ตชด. ๗ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน การศึกษาต่อของนักเรียน และการประกอบอาชีพของนักเรียน ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ แล้ว จำนวน ๓๗ คน เข้ารับการศึกษาต่อ จำนวน ๒๖ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๑ คน

การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.โกศล พุดซ้อน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก, สำนักงานประมงจังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพิษณุโลก, สำนักงานเคหกิจอำเภอชาติตระการ, สำนักงานเคหกิจตำบลบ่อภาค, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก, ปศุสัตว์อำเภอวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพิษณุโลก
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร น้ำประปาภูเขา
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ, ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๔ คน แยกเป็นระดับก่อนวัยเรียน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๒๕ และระดับประถมศึกษา ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๓๘ การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๓๒
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน จากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับแป้งถั่วเหลืองพระราชทานเป็นอาหารเสริม มีการดำเนินงานดังนี้
      - ให้นักเรียนทุกคนดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ วันละ ๒ แก้ว/คน
      - ให้นักเรียนทุกคนดื่มวันอังคาร และพฤหัสบดี วันละ ๑ แก้ว/คน
      - ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ดื่มทุกวันทำการ วันละ ๒ แก้ว

ผลการดำเนินโครงการ
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๒)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ๑
ระดับ๒
ระดับ๓
รวม
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๑๖
๑๖
๑๕
-
-
๖.๒๕
ดี

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
-
๒๘.๕๗
พอใช้
ประถม ๒
๑๑
๑๑
๑๑
-
-
ดี
ประถม ๓
๑๑
๑๑
๑๑
-
-
ดี
ประถม ๔
๕๕
๕๕
๕๓
๓.๖๔
ดีมาก
ประถม ๕
๕๓
๕๓
๕๓
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๖
๔๒
๔๒
๔๓
๐.๐๐
ดีมาก
รวม
๒๗๑
๒๗๑
๒๖๒
๓.๓๒
ดีมาก

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๒)