ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนุชเทียน ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนุชเทียน

เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๓๒ นายสาคร ผิวอ่อน ผู้ใหญ่บ้านนุชเทียน ได้ขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อให้บุตรหลานของราษฎร หมู่บ้านนุชเทียนและบ้านชำนาญจุ้ย ได้มีสถานศึกษาเล่าเรียน โดยราษฎรได้บริจาคพื้นที่ทำกิน ซึ่งทางกองอำนวยการ พัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว จัดสรรให้ จำนวน ๒๘ ไร่ ๒ งาน เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน
วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๖ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ ได้ประสานขอรับการสนับสนุนรถแทรกเตอร์ จากศูนย์ช่างสหกรณ์ที่ ๖ ดำเนินการปรับพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารเรียน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาและ ลาดเอียง พร้อมกับได้ส่งเจ้าหน้า ตชด. ๒ นาย ไปเป็นผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
ต่อมาได้ร่วมกับราษฎรทำการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๔ x ๘ เมตร มีลักษณะ หลังคามุงด้วยหญ้าคา ไม่มีฝาผนัง โต๊ะ และม้านั่งทำด้วยปีกไม้
วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๖ ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ, วิทยาเขตพระนครใต้ และวิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ไปออกค่ายอาสาพัฒนา ทำการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง เสาธง ๑ เสา และห้องส้วม ๒ ห้อง โรงเรียนได้เปิดทำการสอนอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เป็นต้นมา โดยใช้อาคารทั้ง ๒ หลัง เป็นอาคารเรียน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยจ่าสิบตำรวจพายัพ อุทธา ทำหน้าที่ครูใหญ่
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ สโมสรไลอ้อนส์มหาจักร กรุงเทพฯ ได้บริจาคเงิน จำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท และมูลนิธิไทย – เยอรมัน บริจาคเงิน จำนวน ๓๕๔,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๗๐๔,๐๐๐ บาท โดยมอบให้ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ, วิทยาเขตพระนครใต้ และวิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวร ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๔๒ เมตร จำนวน ๗ ห้องเรียน สภาพอาคารในปัจจุบันมีอาคารเรียน ๑ หลัง อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง อาคารสหกรณ์, ห้องสมุด, ห้องพยาบาล ๑ หลัง และห้องน้ำ ห้องส้วม ๒ หลัง จำนวน ๕ ห้อง โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๘ ไร่ ๒ งาน

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนุชเทียน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ จังหวัดพิษณุโลกโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านนุชเทียน, หมู่บ้านชำนาญจุ้ย และหมู่บ้านเทอดชาติ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๗๘ คน มีครู ตชด. ๕ นาย ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๓) มีนักเรียน ๗๓ คน เป็นชาย ๓๘ คน หญิง ๓๕ คน มีครู ตชด. ๘ นาย และ ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๓
๑๐
๒๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๓๘
๓๕
๗๓

การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.ธีรศักดิ์ อิ่นศิริ
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก, สำนักงานประมงจังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพิษณุโลก, สำนักงานเคหกิจอำเภอชาติตระการ, สำนักงานเคหกิจตำบลบ่อภาค, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก และปศุสัตว์อำเภอชาติตระการ
แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร น้ำประปาภูเขา
แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ, ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียน
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๑ คน แยกเป็นระดับก่อนวัยเรียน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๗๔ (ระดับ๑) และระดับประถมศึกษา ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๒๔
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน จากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับนมผงพระราชทานเป็นอาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
- นักเรียนทุกคน ดื่มนมวันละ ๒ แก้ว ทุกวันจันทร์, พุธ, ศุกร์
- นักเรียนทุกคน ดื่มนมวันละ ๑ แก้ว ทุกวันอังคาร, พฤหัสบดี
- เด็กนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ดื่มนมวันละ ๒ แก้ว/คน ทุกวันทำการ

ผลการดำเนินโครงการ
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๒)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ๑
ระดับ๒
ระดับ๓
รวม
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๒๓
๒๒
๑๗
-
-
๒๑.๗๔
พอใช้

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๒
๑๔.๒๙
ดี
ประถม ๓
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๔
๑๖.๖๗
ดี
ประถม ๕
๑๗
๑๗
๑๔
๑๗.๖๕
ดี
ประถม ๖
๑๖.๖๗
ดี
รวม
๔๙
๔๙
๔๓
๑๒.๒๔
ดี

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๒)