ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคารจำนวนครูและนักเรียน
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๑๙ระบบการศึกษา

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคาร

สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยนายพันธ์ธาดา ณ ลำพูนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างให้ และเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๑แต่เปิดไม่ได้นานก็ต้องยุบเลิกเพราะมีนักเรียนน้อย สาเหตุเนื่องจากนักเรียนต้องย้ายตามผู้ปกครองไปทำมาหากินที่อื่น ต่อมาในพื้นที่บ้านอีปู่ มีประชากรย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนงานรับจ้างทำเหมืองแร่ ลูกหลานไม่มีที่เรียนดังนั้นนายพันธ์ธาดา ณ ลำพูน และเพื่อน ๆ เจ้าของเหมืองแร่ในพื้นที่ จึงช่วยกันซ่อมแซมอาคารเรียนหลังเดิมที่ยุบเลิกไปจนพอใช้การได้ พร้อมได้ดำเนินการประสาน กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดนเขต ๗ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ปัจจุบัน) เพื่อขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดนไปทำการสอน ๒ คน
ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ร่วมกันสร้างอาคารเรียนถาวรไม้ชั้นเดียว ขนาด ๕ x ๗.๕ เมตร โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากเหมืองแร่จำรัสและเพื่อน ๆ การก่อสร้างดำเนินการเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๑๙ตุลาคม ๒๕๒๙ (ห้องสมุดปัจจุบัน)

ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไปบ้านอีปู่ ตำบลปิล็อค อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาจนบุรี เมื่อปีประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๐ ในบริเวณบ้านอิปู่ เป็นพื้นที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาศรีกั้นเขตแดนระหว่างประเทศ ไทยกับประเทศพม่า ซึ่งพื้นที่บริเวณบ้านอีปู่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาน้อยใหญ่ตั้งสลับกัน จึงทำให้มีพื้นที่ดำเนินการด้านเกษตรกรรมประเภทเพาะปลูกได้น้อย และพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีแร่ดีบุก และแร่วุลแฟรมอยู่มาก ชนชาวพม่าที่อาศัยอยู่บริเวณในเขตติดต่อได้เข้ามาลักลอบขุดแร่ในหมู่บ้านอีปู่ เมื่อได้จะนำไปขายในประเทศพม่า เมื่อทางราชการทราบ กรมทรัพยากรธรณีได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจ พบว่าเป็นแหล่งแร่ที่สมบูรณ์ จึงตั้งศูนย์ผลิตแร่และสร้างอาคารที่พัก ให้ข้าราชการตำรวจเข้ารักษาการณ์ดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่

การปกครอง
หมู่บ้านอีปู่ มีราษฎรอาศัยอยู่ ๔๔ ครอบครัว มีประชากร ๑๗๐ คน เป็นชาย ๘๒ คน หญิง ๘๘ คน มีนายสันติ อเมกอง เป็นสารวัตรกำนัน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาติพม่าพลัดถิ่นเข้ามารับจ้างทำเหมืองแร่ ภาษาประจำถิ่นใช้ภาษาไทยและภาษาพม่า นับถือศาสนาพุทธ

สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ    ติดต่อกับ    เขตป่าสงวน
ทิศใต้    ติดต่อกับ    เทือกเขาตะนาวศรี
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ    เขตป่าสงวน
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ    หมู่บ้านอีต่อง

ความรู้และการศึกษา
จำนวนผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) จำนวน ๔ คน
จำนวนผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๑ คน
กำลังเรียนระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๕๐ คน
กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๕ คน

ผู้นำหมู่บ้าน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคาร
หมู่ที่ ๑ บ้านอีปู่ ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
๑) นายจำนงค์ นกเล็ก กำนันตำบลปิล็อค
๒) นายสันติ อเมกอง สารวัตรกำนันตำบลปิล็อค
๓) นายทิพย์ วิใจวงศ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิ จิตรวิยาคาร เป็นโรงเรียนที่ ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัดกา จนบุรี เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดย รับเด็กจากหมู่บ้านอีปู่ และอีต่อง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง มีนาคม ๒๕๓๗

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑.อาคารเรียน นายพันธ์ธาดา ณ ลำพูน
    ๒) ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓
    ๓) โรงอาหาร สมาชิกกลุ่มแฟร์ ท่าเรือ
    ๔) ห้องน้ำ-ห้องสุขา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓
    ๕) สหกรณ์ร้านค้า กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓
    ๖) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๓๑ คน เป็นชาย ๑๗ คน หญิง ๑๔ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ คน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๙ คน เป็นชาย ๕๘ คน หญิง ๔๑ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย และ ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    ทำหน้าที่
    ๑) จ.ส.ต. สาโรจน์ เวชประเสริฐ
    ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต. วินัย สาภักดี
    ครูผู้สอน
    ๓) ส.ต.ต. พงษ์ศักดิ์ วงษ์ปัญญา
    ครูผู้สอน
    ๔) ส.ต.ต. ประเวช สัตยาการ
    ครูผู้สอน
    ๕) พลฯ ชวลา อินธิจันทร์
    ครูผู้สอน
    ๖) พลฯ บัณฑิต ชุมศรี
    ครูผู้สอน
    ๗) นางสาวสุทัศน์ ธุระงาน
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๘) นางสุนา อินธิจันทร์
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๕
    ๒๒
    ๔๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    -
    รวม
    ๕๘
    ๔๑
    ๙๙

    โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
    รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๑๙
    วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๘
    สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคาร ตำบลปิล็อค อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาจนบุรี
    ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. ถึงเวลา ๙.๓๐ น.

    จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
    หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการ สนับสนุนด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วน กลางและหน่วยงานในพื้นที่ จำนวนทั้ง สิ้น ๒๖ คน (รายละเอียดตามผนวก ก) สามารถจำแนก ได้ดังนี้

    หน่วยงาน
    เจ้าหน้าที่
    แพทย์
    เภสัชกรรม
    ทันตกรรม
    พยาบาล
    อื่น ๆ
    รวม
    สำนักงานแพทย์ใหญ่กรมตำรวจ
    -
    -
    -
    -
    กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    -
    -
    -
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
    -
    ๑๕
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี
    -
    -
    -
    -
    รวมทั้งสิ้น
    -
    ๑๐
    ๑๒
    ๒๖

    สรุปผลการดำเนินงาน
    การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคาร มีนักเรียนเข้ารับบริการ ตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๘๖ คน นักเรียนชาย ๕๑ คน (ร้อยละ ๕๙.๓๐ คน) นักเรียนหญิง ๓๕ คน (ร้อยละ ๔๐.๗๐) สุขภาพปกติ ๕ คน เจ็บป่วย ๘๑ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ ระบบทางเดินหายใจ ๖๐ คน โรคผิวหนัง ๒ คน โรคอื่น ๆ ๔ คน และเข้ารับบริการทันกรรม ๑๕ คน

    การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
    ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จฯ เพื่อเข้ารับบริการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๓๓ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๑๒ คน (คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๓๖.) และหญิง ๒๑ คน (คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๖๔)

    จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
    ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุ ๑ - ๔ ปี (ร้อยละ ๕๑.๕๐) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุ ๕ - ๑๔ ปี (ร้อยละ ๑๘.๒๐)

    ช่วงอายุ (ปี)
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    น้อยกว่า ๑ ปี
    ๓.๐๐
    ๑ - ๔
    ๑๗
    ๕๐.๕๑
    ๕ - ๑๔
    ๑๘.๒๐
    ๑๕ - ๔๙
    ๑๕.๒๐
    มากกว่า ๕๐ ปี
    ๑๒.๑๐
    รวม
    ๓๓
    ๑๐๐.๐๐

    จำนวนผู้เข้านับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
    ผู้ป่วย
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    ผู้ป่วยทั่วไป
    ๓๑
    ๙๓.๙๔
    ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
    ๖.๐๖
    รวม
    ๓๓
    ๑๐๐.๐๐

    หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

    จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
    โรคที่ตรวจพบมากที่สุด คือ โรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ ๖๐.๖๐) รองลงมาคือโรคผิวหนัง (ร้อยละ ๑๕.๒๐) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

    โรค
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    โรคระบบทางเดินหายใจ
    ๒๐
    ๖๐.๖๐
    โรคระบบทางเดินอาหาร
    ๐.๐๐
    โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
    ๖.๐๐
    โรคระบบประสาท
    ๐.๐๐
    โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
    ๐.๐๐
    โรคระบบทางเดินปัสสาวะ& อวัยวะสืบพันธุ์
    ๐.๐๐
    โรคผิวหนัง
    ๑๕.๒๐
    โรคเหงือกและฟัน
    ๖.๐๐
    โรคอื่น ๆ
    ๑๒.๒๐
    รวม
    ๓๓
    ๑๐๐.๐๐

    หมายเหตุ โรคอื่น ๆ เช่น เต้านมอักเสบ โรคชรา โรคหัวใจ

    ค่าใช้จ่าย
    ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคาร รวมเป็นเงินประมาณ ๒,๗๘๕ บาท

    กองทุนพระราชทาน
    สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่โรงพยาบาลทองผาภูมิ และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยรมณีเขต จำนวนโรงพยาบาลละ ๓,๐๐๐ บาท สมทบ "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๖๓)
    [ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๑๑๙)]
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (๔๔)
    (กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๘)
    กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓.(๖๒)
    (กจ. ท๑ น๙๖๑๓ ๒๕๓๘)