ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพจำนวนครูและนักเรียน
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๒๐ระบบการศึกษา

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสห ธนาคารกรุงเทพ ตั้งอยู่หมู่ที่๕ บ้านเ วียคะดี้ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในความรับผิด ชอบของกองกำกับการตำรวจ ตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ( กองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนเขตที่ ๗ เดิม ) ก่อ ตั้งเป็นโรงเรียนในสังกัดกอง บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๐ โดยความริเริ่ม และดำเนินการหมวดตำรวจตระเวน ชายแดนที่ ๗๐๗ ที่เล็งเห็นความ สำคัญของการศึกษาของบุตรหลาน ในหมู่บ้าน จึงได้จัดตั้งโรง เรียนเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านชุ แหล่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดย ทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ชั่วคราวด้วยไม้ไผ่หลังคาา มุงด้วยหญ้าคา เมื่อดำเนินการ ก่อสร้างเสร็จจึงใช้ชื่อว่า" โรง เรียนตำรวจตระเวนชายแดนอนุเคราะห์ ที่๒ " โดยมีนักเรียนทั้งหมด ๕๘ คน ชาย ๑๘ คน หญิง ๔๐ คน โดยมีครูตำรวจตระเวนชาย แดนเป็นครูผู้สอน จำนวน ๒ นาย คือ พลฯ สมัคร แก้ว ถึง จอหอ ( ยศสมัยนั้น) และพล ฯ สมัคร วิจิตร ทองทวี ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ นาย บรรเจิด นาง ฉวี ชลวิจารย์ ประธานกรรมการบริหารธนาคา รสหธนาคาร ได้ทูลเกล้าถวายเงิน แด่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน ) เพื่อ ทำการก่อสร้างอาคารเรียนหลัง ใหม่ และได้ย้ายจากหมู่บ้านชุแหล่ มาก่อสร้างที่บ้านเวียคะดี้ หมู่ ที่ ๕ ตำบลหนองลู อำเภอ สังขละบรี จังหวัดกาญจนบุรี เพราะ เห็นว่ามีประชากรอยู่มาก กว่า ดำเนินการก่อสร้างอาคารมี ขนาด กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ยกพื้นชั้นเดียว จำนวน ๔ ห้อง เรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๕ กรกฏาคม ๒๕๑๓ ต่อ มาในวันที่ ๗สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ ประธานในพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน หลังใหม่ และพระราชทานนามโรง เรียนใหม่ว่า " โรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ " เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๔ คณะธนาคารสห ธนาคาร จำกัด ได้ดำเนินทางมาเยี่ยม โรงเรียนและเห็นอาคารเรียนเก่า ชำรุดทรุดโทรม จึงได้หารือกับครู และผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวน ชายแดนที่ ๑๓๔ ในการรื้อถอนอาคาร เรียนหลังเก่า และจะทำการปลูก สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยขยาย ห้องเรียนให้เพียงพอกับจำนวน นักเรียนซึ่งเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ งบประมาณจากทางธนาคารสห ธนาคาร จำกัด เป็นเงินจำนวน๔๒๕,๗๐๔บาท ( สี่แสน สองหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยสี่ บาท ) และเมื่อดำเนินการก่อสร้าง อาคารเรียนหลังใหม่ซึ่งมีขนาด กว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๒ เมตร จำนวน ๖ ห้องเรียน แล้วเสร็จ จึงได้ ทำพิธีรับ – มอบ อาคารเรียนหลังใหม่เมื่อ วันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช๒๕๓๖ โดยมี ดร. ประภาส จัก กะพาก ประธานกรรมการบริหารธนาคา รสหธนาคาร จำกัด เป็นผู้มอบ และพลตำรวจ โทโกวิท วัฒนะ รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้รับมอบ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสห ธนาคารกรุงเทพเป็นโรงเรียนที่ ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัด กาญจนบุรี เปิดทำการสอน ตั้งแต่ ปี พ.ศ ๒๕๐๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านเ วียคะดี้ ดำเนินการสอนตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยรับเด็กจาหมู่บ้านเวีย คะดี้ ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียนดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๒๐ สิงหาคม
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ กันยายน ถึง ๓๐ พฤศจิกายน
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๑ ธันวาคม ถึง ๒๕ มีนาคม
หลักสูตรที่ใช้ คือหลักสูตร ของสำนักงานการประถมศึกษา แห่งชาติ ดำเนินการสอนโดย ครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๖ จะได้รัยประกาศนียบัตรของกระทรวง ศึกษาธิการ นักเรียนที่จบการศึกษา สามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูง ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่ง หนึ่งอื่นๆได้

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ผู้ให้การสนับสนุน
๑.อาคารเรียน ธนาคารสหธนาคาร จำกัด
๒. ห้องพยาบาล ผู้ปกครองนักเรียน และคณะครู
๓. โรงอาหาร นาย ถนอม นางแดง หงษ์สุดา
๔. ห้องส้วม กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓๔
๕. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี , นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกมีนักเรียน ๕๘ คน และครู ตำรวจตระเวนชายแดน๒ คน ปัจจุบันมีนัก เรียนทั้งสิ้น ๕๘ คน เป็นชาย ๑๘ คนหญิง ๔๐ คน และทาง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ บรรจุตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่ม ขึ้น ปัจจุบันมีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ
คุณวุฒิ
ทำหน้าที่
๑. ด.ต แก้ว ถึงจอหอ
ป.๔ นธ.โท
ครูใหญ่ บริหาร
๒. ส.ต.อ. สมพร สุเพ็ญศิลป์
ม. ศ.๓
ครูประจำชั้น ป.๑ โครงการเกษตร
๓. ส.ต.อ.บุณธรรม เภานาง
ม.ศ.๕
ครูประจำชั้น ป.๔ งานธุรการ
๔. ส.ต.ต. ทวี ไสวงาม
ปกศ.สูง
ครูประจำชั้น ป.๕ โครงการส่ง
เสริมคุณภาพการศึกษา
๕. ส.ต.ต. กิจจา เหล่าเมฆ
ม. ศ.๓
ครูประจำชั้น ป.๓ โครงการหญ้าแฝก
๕. ส.ต.ต. กิจจา เหล่าเมฆ
ม. ศ.๓
ครูประจำชั้น ป.๓ โครงการหญ้าแฝก
๖. ส.ต.ต. บุญเกิด เสาะสาย
ม. ศ.๓
ครูประจำชั้น ป.๓ โครงการสหกรณ์ร้านค้า
๗. ส.ต.ต. ธนศักดิ์ โอภาส
ม. ศ.๓
ครูประจำชั้น ป.๒ โครงการฝึกอาชีพ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กก่อนวัยเรียน
๕๔
๔๒
๙๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๗
๑๓
๓๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๐
๑๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๙๒
๗๕
๑๖๗

โครงการพระราชดำริที่ดำเนินการ
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ ๒๕๓๙) งานด้านอาหารและโภชนาการและสุขภาพอนามัย

รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๒๐
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๘
สถานที่ โรงเรียนบ้านองลุ ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาจนบุรี
ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๐.๐๐ น.

จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น ๒๘ คน (รายละเอียดตามผนวก ก) สามารถจำแนกได้ดังนี้

หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่
แพทย์
เภสัชกรรม
ทันตกรรม
พยาบาล
อื่น ๆ
รวม
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
๑๖
๒๕
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
-
-
-
-
รวมทั้งสิ้น
๑๙
๒๘

สรุปผลการดำเนินงาน
การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
โรงเรียนบ้านองหลุ มีนักเรียนเข้ารับบริการ ตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๔๕ คน นักเรียนชาย ๑๔ คน (ร้อยละ ๓๑.๑๐ คน) นักเรียนหญิง ๓๑ คน (ร้อยละ ๖๘.๙๐) สุขภาพปกติ ๒๑ คน เจ็บป่วย ๒๔ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ ทางเดินหายใจ ๑๘ คน ทา เดินอาหาร ๒ คน กล้ามเนื้อกระดูก ๑ คน โรคผิวหนัง ๑ คน ธาลัสเมีย ๑ คน และเข้ารับบริการทันกรรม ๑ คน

การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้ง นี้ มีราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จฯ เพื่อ เข้ารับบริการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๔๘ คน ใน จำนวนนี้เป็นชาย๑๔ คน (คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๒๐) และ หญิง ๓๔ คน (คิดเป็นร้อยละ๗๐.๘๐)

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุ ๑๕ - ๔๙ ปี (ร้อยละ ๒๙.๑๗) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุ ๑ - ๔ ปี (ร้อยละ ๒๕.๐๐)

ช่วงอายุ (ปี)
จำนวน (คน)
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑ ปี
๑๐
๒๐.๘๓
๑ - ๔
๑๒
๒๕.๐๐
๕ - ๑๔
๑๐.๔๒
๑๕ - ๔๙
๑๔
๒๙.๑๗
มากกว่า ๕๐ ปี
๑๔.๕๘
รวม
๔๘
๑๐๐.๐๐

จำนวนผู้เข้านับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
ผู้ป่วย
จำนวน (คน)
ร้อยละ
ผู้ป่วยทั่วไป
๔๖
๙๕.๘๓
ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
๔.๑๗
รวม
๔๘
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
โรคที่ตรวจพบมากที่สุด คือ โรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ ๔๖.๒๐) รองลงมาคือโรคระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ ๒๐.๘๐) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

โรค
จำนวน (คน)
ร้อยละ
โรคระบบทางเดินหายใจ
๒๗
๕๖.๒๐
โรคระบบทางเดินอาหาร
๑๐
๒๐.๘๐
โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
๒.๑๐
โรคระบบประสาท
๒.๑๐
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
๔.๒๐
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ& อวัยวะสืบพันธุ์
๐.๐๐
โรคผิวหนัง
๘.๔๐
โรคเหงือกและฟัน
๔.๒๐
โรคอื่น ๆ
๒.๑๐
รวม
๔๘
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ โรคอื่น ๆ เช่น มาลาเรีย

ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนบ้านองหลุ รวมเป็นเงินประมาณ ๒,๓๙๕ บาท

กองทุนพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่โรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท สมทบ "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๖๕)
[ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๑๒๐)]

กจ. ท๑ ส ๖๕๒