ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวชคณะกรรมการศึกษา
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๑๘สรุปผลการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังละบุรี จังหวัดกาจนบุรี พิกัด เอ็มเอส. ๔๕๖๘๒๐ อยู่ในความรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๐๕ โดยหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๗๐๗ ในขณะนั้น ใช้วัสดุในท้องถิ่นทั้งหมด หลังคาใช้ตองหวาย ฝาไม้ไผ่สับฟาก เสากลมไม้เนื้อแข็งกระเทาะเปลือก สร้างเป็นอาคารชั่วคราวกว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร มีนักเรียน ๑๐ คน สอนแบบรวมห้องมีครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอน ๒ นาย เมื่อสร้างเสร็จใช้ชื่อว่า "ร.ร.ชด. อนุเคราะห์ที่ ๔" ต่อมาในปี ๒๕๑๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ และชาวบ้านเห็นว่าอาคารเก่าชำรุดมากจึงได้ดำเนินการสร้างใหม่เป็นอาคารถาวร ขนาด ๔.๕ * ๑๒.๕ ม. มี ๒ ห้องเรียนในที่ดินของสำนักสงฆ์บ้านสะเนพ่อง เนื้อที่ ๒ ไร่ เมื่อสร้างเสร็จใช้ชื่อเรียกว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอนุเคราะห์ที่ ๔ บ้านสะเนพ่อ" ต่อมาในเดือน มีนาคม ๒๕๑๕ อาจารย์วรณี สุนทรเวช อาจารย์โรงเรียนดาราคาม กรุงเทพฯ ได้เดินทางมาหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ประวัติความเป็นมาของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ง ที่หมู่บ้าน สะเนพ่อง มาเห็นสภาพโรงเรียนจึงเกิดความศรัทธาอยากช่วยเหลือบุตรหลานที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร จึงได้ติดต่อกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ว่าจะดำเนินการปรับปรุงอาคารเรียนใหม่เพราะของเก่าแคบและไม่เหมาะสม จึงได้มอบเงินมาจำนวนหนึ่งให้จัดหาวัดสุอุปกรณ์ และดำเนินการปรับปรุงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จพร้อมบ้านพักครูอีก ๑ หลัง ต่อมา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวัง ทูลเชิญสมเด็จพระบรมราชชนนี ฯ ทรงรับไว้ในพระบรมชูปถัมภ์ และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช และสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเสด็จเปิดป้ายอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๑๕๑๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สโมสรไลออนส์มหาจักร ฯ ได้มาสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๒ ห้องเรียนให้อีกหนึ่งหลัง ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รวม ๗ ชั้นเรียน มีครูผู้ทำการสอน ๖ นาย ซึ่งเป็นครูตำรวจตระเวนชายแดนทั้งหมด ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

๑. จ.ส.ต. บุญธรรม เภานาง ทำหน้าที่ ครูใหญ่
๒. ส.ต.ท. ทวิช ปิ่นแก้ว ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๓. ส.ต.ท. ณรงค์ หุ้มขาว ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๔. ส.ต.ท. กำพี จันทร์ช่วย ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๕. ส.ต.ท. เสถียร ชาวไทย ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
๖. พลฯ สำเริง ทองคำ ทำหน้าที่ ครูผู้สอน

คณะกรรมการศึกษา
๑. นายอานนท์ เสตะพันธ์ ประธานกรรมการการศึกษา
๒. นายเหย่งโท รองประธาน
๓. นายปะชิ สังขชวาลย์ กรรมการเลขานุการ
๔. นายเซ้ง สังขธิติ กรรมการ
๕. นายโจเซง กรรมการ
๖.นายส่วยอี กรรมการ
๗. นายโต ไทรนิทัศน์ กรรมการ

ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไปบ้านสะเนพ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังละบุรี จังหวัดกาจนบุรี บ้านสะเนพ่อเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีอายุการก่อตั้งมานานเป็นเวลา ๑๒๐ ปีเศษ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เดิมเป็นหมู่บ้านใหญ่มาก มีหัวหน้าการปกครองหมู่บ้านได้รับพระราชทานนามว่า "พระศรีสุวรรณคีรี" จากรัชกาลที่ ๕ ต่อมามีลูกหลานได้ย้ายถิ่นฐานไปประกอบอาชีพที่ถิ่นอื่นเป็นบางส่วน เนื่องจากหมู่บ้านเป็นที่ราบบริเวณหุบเขาคับแคบไม่เพียงพอกับการทำมาหากินเลี้ยงชีพ

การปกครอง
ปัจจุบันหมู่บ้านสะเนพ่อง มีราษฏรอาศัยอยู่ ๖๒ ครอบครัว มีประชากร ๓๑๕ คน ชาย ๑๖๗ คน หญิง ๑๔๘ คน ภาประจำท้องถิ่น คือ ภาษากะเหรี่ยง ประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก มีการทำการเกษตร ทำไร่กาแฟ ทุเรียน หมาก

สภาพภูมิประเทศ
มีพื้นที่ประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณหุบเขา มีภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนกันไปอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขาไม้นวล
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขาท่ากระดาน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขาไม้นวล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขาไม้แดง

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๑๘
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๘
สถานที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช หมู่ที่ ๑ ตำบลไล่โว่ อำเภอสัง ขละบุรี จังหวัดกาจนบุรี
ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๑.๐๐ น.

จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น ๔๕ คน (รายละเอียดตามผนวก ก) สามารถจำแนกได้ดังนี้

หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่
แพทย์
เภสัชกรรม
ทันตกรรม
พยาบาล
อื่น ๆ
รวม
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
-
-
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
-
๑๐
๒๓
๓๖
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
-
-
-
-
รวมทั้งสิ้น
-
๑๑
๓๐
๔๕

สรุปผลการดำเนินงาน
การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช มีนักเรียนเข้ารับบริการ ตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๘๔ คน นักเรียนชาย ๔๙ คน (ร้อยละ ๕๘.๓๓) นักเรียนหญิง ๓๕ คน (ร้อยละ ๔๑.๖๗) สุขภาพปกติ ๗๐ คน เจ็บป่วย ๑๔ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ ระบบทางเดินหายใจ ๑๑คนระบบ ระบบทางเดินอาหาร ๑ คน อุบัติเหตุ ๑ คน ผิวหนัง ๑ คน

การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จฯ เพื่อเข้ารับบริการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๑ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๔๔ คน (คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๕๖) และหญิง ๕๗ คน (คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๔๔)

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่ มีอายุ ๑๕ - ๔๙ ปี (ร้อยละ๔๘.๕๒) รองลงมาคือ กลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ๓๓.๖๖)

ช่วงอายุ (ปี)
จำนวน (คน)
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑ ปี
๑.๙๘
๑ - ๔
๑๒
๑๑.๘๘
๕ - ๑๔
๓.๙๖
๑๕ - ๔๙
๔๙
๔๘.๕๒
มากกว่า ๕๐ ปี
๓๔
๓๓.๖๖
รวม
๑๐๑
๑๐๐.๐๐

จำนวนผู้เข้านับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
ผู้ป่วย
จำนวน (คน)
ร้อยละ
ผู้ป่วยทั่วไป
๑๐๐
๙๙.๐๐
ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
๑.๘๓
รวม
๑๐๑
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
โรคที่ตรวจพบมากที่สุด คือ โรคระบบทาง เดินหายใจ (ร้อยละ ๒๑.๗๘) รองลงมาคือโรค ระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ ๒๐.๘๐) ดังแสดงใน ตารางต่อไปนี้

โรค
จำนวน (คน)
ร้อยละ
โรคระบบทางเดินหายใจ
๒๒
๒๑.๗๘
โรคระบบทางเดินอาหาร
๒๑
๒๐.๘๐
โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
๓.๙๖
โรคระบบประสาท
๒.๙๗
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
๑๓
๑๒.๘๗
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ& อวัยวะสืบพันธุ์
๑.๙๘
โรคผิวหนัง
๖.๙๓
โรคเหงือกและฟัน
๕.๙๔
โรคอื่น ๆ
๒๓
๒๒.๗๗
รวม
๑๐๑
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ โรคอื่น ๆ เช่น มาลาเรีย

ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของยาพระราชทานใช้ใน การออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรง เรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุนทรเวช รวม เป็นเงินประมาณ๓,๗๗๕ บาท

กองทุนพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่ โรงพยาบาลสังละบุรี จำนวน ๓,๐๐๐ บาท เพื่อ สมทบ "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์ คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัต ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๖๔)
[ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๑๑๘)]
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓. (๒๓)
(กจ. ท๑ น๙๖๑๒ ๒๕๓๘)
สำนักโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (๕๒)
(กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๘)