banklongmali
bannumdeang
banbochaaom
bannongborn
banhangmeaw

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอนพื้นที่ทำการเกษตร(ตารางแผนการประกอบอาหาร)
โครงการฝึกอาชีพเป้าหมายการฝึกอาชีพ

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน (สตรีวิทยาอุปถัมภ์ ๒)

ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๗ ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันบุรีโรงเรียนตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน จำนวนประชากรในหมู่บ้าน ๑๒๐ หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๖๕๒ คน เป็นชาย ๓๒๓ คน เป็นหญิง ๓๒๙ คน นายประเวศน์ แก้ว สาริการ เป็นผู้ใหญ่บ้านราษฎรในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ทุกครัวเรือนการประกอบอาชีพทำพืชไร่ และรับจ้าง โรงเรียนอยู่ห่างจากกองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ เป็น ระยะทาง ๘๕ กิโลเมตร (ถนนลาดยาง ๙๐ กิโลเมตร ถนนลูก รัง ๕ กิโลเมตร)เดินทางโดยรถยนตร์ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาทีลักษณะแหล่งน้ำโรงเรียนมีสระน้ำ ๒ แห่งบ่อบาดาล ๑ แห่ง มีน้ำใช้ตลอด ปี และโรงเรียนมีไฟฟ้าใช้

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน
ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ได้รับคำสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนจากกอง บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อมีนาคม ๒๕๓๐ เนื่องจากแต่เดิมเด็กนัก เรียนบ้านหนองบอนจะต้องเดินทางไปโรงเรียนบ้านชับตารีและโรงเรียน ส.ไทยเสรี อุตสาหกรรม ๒ ซึ่งการคมนาคมไม่สะดวกลำบากมากต่อการเดินทางไปโรงเรียน ในฤดูฝนสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาของเด็กนักเรียนและระ ยะทางคมนาคมห่างไกลมากด้วยเหตุนี้ราษฎรบ้านหนองบอนจึงได้ร่วมประชุม ศึกษาหารือกันพร้อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลานใน หมู่บ้าน และได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อจะซื้อที่ดินจำนวน ๒๓ ไร่ ๒ งาน ต่อมา มีนายแสง จันทรสิงห์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมบริจาคอีก ๑ ไร่ ๒ งาน รวมเป็น ๒๕ ไร่จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งนี้เป็นอาคาร เรียนชั่วคราว จำนวน ๖ ห้องเรียน ห้องสมุด ๑ ห้อง เมื่อวันที่ ๑๖ เม.ย.๒๕๓๐ และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๐
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ พันตำรวจโท สมพงษ์ พันธุ์ผลรองผู้กำ กับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน และได้เริ่มทำการสอน ในวันที่ ๑ พ.ค. ๒๕๓๐ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๕ คนมีครูโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นายโดยมีสิบตำรวจโท บรรจง จันทร์จรเป็นครูใหญ่คน แรกจ่าสิบตำรวจเดชา พรหมรอดเป็นครูใหญ่ที่ ๒ และจ่าสิบตำรวจ เกื้อ เรียงทับ เป็นครูใหญ่คนที่ ๓ และ จ่าสิบ ตำรวจศิริรัตน์ พงษ์สาโรจน์ เป็นครูใหญ่คนปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๓๓ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ได้มอบเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) เพื่อสร้างอาคารเรียน ถาวร แบบ ป. ๑๐๒ ขนาด ๓ ห้องเรียน ให้กับโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน โดยมีพันตำรวจโทภิศักดิ์ เพ็งบาน รองผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ เป็นผู้รับมอบต่อมาในปี การศึกษา ๒๕๓๕ มีภาคเอกชนหน่วยต่าง ๆ ได้บริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างและ จัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับโรงเรียน

นโยบายของโรงเรียน
๑. ปรับปรุงสภาพการเรียนการสอน ให้สอดตล้อง กับหลักสูตรการประถมศึกษาแห่ง ชาติ ปี ๒๕๒๑
๒.ปรับปรุงอาคารสถานที่ และบริเวณโรงเรียนให้เหมาะสม
เป็นระเบียบ เรียบร้อยดู สวยงาม
๓.ปฏิบัติดูแลนักเรียนให้ทั่วถึง เพื่อให้สามารถเล่าเรียน
ได้อย่างมีความสุข ทั้งทางกายและจิตใจ
๔.ให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมดำเนิน
การพัฒนาโรงเรียน ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน
๕.จัดหาที่พักอาศัยให้ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้
อยู่เป็นสัดส่วน เพื่อสร้าง ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
๖.สนับสนุนนโยบายของหน่วยเหนือ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น และ ความมั่นคงของชาติ
คำขวัญโรงเรียน "เรียนดี พูดดี ทำดี มีวินัย"

ลักษณะภูมิประเทศ

ของโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ทุกชนิดเช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร ่พืชผัก และเลี้ยงสัตว์

แหล่งน้ำ
โรงเรียนมีแหล่งน้ำอยู่ ๒ แห่งซึ่งเป็นสระน้ำขนาดใหญ่มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และในโรงเรียนอย่างเพียงพอขนาดบ่อ๘๐x๙๐x๔ม. ขนาด ๓๐x๔๐x๔ ม.

ชนิดดิน
สภาพดินของโรงเรียน ประกอบไปด้วยดิน ๒ ชุด คือ
๑. ดินชุดผักกาด   มีประมาณ  ๘๐% ๒. ดินชุดโอลำเจียก   มีประมาณ  ๒๐%
ซึ่งดินทั้งชุดนี้เหมาะในการปลูกผลไม้ผลไม้ยืนต้นเช่น มะม่วง ขนุน มะละกอ กล้วย ลิ้นจี่ และอื่นๆนอกจากนี้ยังสามารถ ปลูกพืชไร พืชผักได้ทุกชนิดรวมทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์

พื้นที่ทำการเกษตร(ตารางแผนการประกอบอาหาร)
พืชผัก-แปลงขนาด๑x๔ ม.
ผักบุ้งจีนแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักกาดเขียวปลีแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักกาดขาวปลีแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักกาดหัวแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักคะน้าแปลงขนาด๑x๘ ม.
กวางตุ้งแปลงขนาด๑x๘ ม.
ตำลึง-(ปลูกบริเวณรั้ว) 
ชะอม-(ปลูกบริเวณรั้ว) 
แค๕๐ต้น 
บัว(สายบัว) (มีในสระน้ำ) 

ข้อมูลพื้นที่(ระดับอำเภอ)
ที่ตั้งอำเภอสอยดาวตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดจันทบุรี
มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๘๑,๘๔๒ ไร่อาณาเขต
ทิศเหนือจดจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้จดอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันออกจดประเทศสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันตก จดอำเภอมะขามและกิ่งอำเภอเขาคิฌชกูฎจังหวัดจันทบุรี

การแบ่งการปกครอง
อำเภอสอยดาวประกอบด้วย ๕ ตำบล ๕๑ หมู่บ้าน
๑.ตำบลปะตงมี ๘หมู่บ้าน
๒.ตำบลทรายขาวม๑๒มู่บ้าน
๓.ตำบลทับช้างมี๑๒หมู่บ้าน
๔.ตำบลทุ่งขนานมี๑๑หมู่บ้าน
๕.ตำบลสะตอนมี๘ หมู่บ้าน

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
จำนวนประชากรทั้งหมด๔๙,๒๗๕ คน เป็นชาย๒๕,๘๐๔ คนเป็นหญิง ๒๓,๔๗๑ คนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรเช่นทำไร่ทำสวนเลี้ยงสัตว์และ อาชีพ รับจ้างค้าขายรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ๑๕,๐๐๐บาท/ครัวเรือน

พื้นที่ทำเกษตร
อำเภอสอยดาว มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๓๑๒,๐๔๑ ไร่
๑.ไม้ผลไม้ยืนต้น ๖๑,๖๘๕ ไร่
๒.พืชไร่ ๒๑๙,๐๐๐ ไร่
๓.พืชผัก๖,๑๐๐ไร่
๔.ทำนา๑,๕๐๐ไร่
๕.อื่นๆ๒๓,๗๕๖ไร่

อุปนิสัยการบริโภค(ด้านโภชนาการ)
ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอสอยดาวมีการอพยพมาจากหลายจังหวัด
ด้วยกันโดยแยกออกเป็นภาค ๆ ได้ดังนี้
๑.ภาคเหนือ ๕%
๒.ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ๖๐ %
๓.ภาคกลาง ๑๕%
๔.ภาคใต้ ๕%
๕.ภาคตะวันออก ๑๕%
การบริโภคส่วนใหญ่จะแยกออกเป็นภาคๆตามความถนัด ของประชากรแต่ละภาคเช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะ นิยมการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่นลาบก้อย ปลาร้า เป็นต้น

โครงการฝึกอาชีพ
ประมวลพระราชดำริ
(๑)"……..เมื่อนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนที่ไม่มีโอกาสเรียนต่อ ก็อยากจะให้ อะไรกับเขาเป็นส่วนเพิ่มเติมขึ้นมา แม้อาจจะเล็กน้อยแต่ก็ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเรื่องของการฝึกฝนอาชีพให้ทำอาชีพได้…..ให้นักเรียนหรือศิษย์เก่าของ โรงเรียน ตชด.เลือกทำอะไรที่มีตลาดจะขายได้ ทำได้หรือว่ามีคนจ้างให้ทำ เพื่อจะเอาวิชานั้นมาหาเลี้ยงชีพต่อไป…."
(๒)"……..การฝึกอาชีพในโรงเรียน อาจจะมาฝึกอาชีพหรือสอนได้ตลอดไป ควรจะได้ฝึกหัดให้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยสอนผู้อื่นได้ จะเป็นอาสาสมัคร ในการช่วยสอนวิชาชีพนักเรียนในโรงเรียนต่อไป….."
(๓)"……..การฝึกอาชีพเมื่อปฏิบัติงานได้ควรจะรวมกลุ่มอาชีพในการผลิต และจำหน่ายโดยมีสหกรณ์ โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายผลิตผล เช่นการผลิตขนจากวัสดุที่หาได้ในหมู่บ้านการผลิตขนมจากวัสดุที่หาได้ในหมู่บ้าน การผลิตจำหน่ายให้เด็กหรือชาวบ้านในชุมชนและ สหกรณ์ โรงเรียนก็จัดหาวัสดุ บางอย่าง ผลประโยชน์ของสมาชิกจะได้รับและการเงินจะได้หมุนเวียนในหมู่บ้าน..."
(๔)"……..ก่อนการจัดฝึกอาชีพให้ศึกษาความเป็นไปได้ ความต้องการของชุมชาวบ้าน เพื่อจะได้ตรงความต้องการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาพัฒนาด้วย…"
(๕)"……..มีข้อหนึ่งที่น่าจะติดตามคือนักเรียนที่จบไปจากเรานั้น น่าจะติดตามต่อไป ว่าเขาได้ไปทำอะไรบ้างในแง่นี้ว่าเป็นศิษย์เก่าของเรา ถ้ามีปัญหาอะไรเดือดร้อน ก็อาจจะช่วยเหลือได้บ้าง หรือเขาไปทำอะไร ส่วนใหญ่เรียนต่อแล้วไปปฏิบัติหน้าที่อะไร ปฏิบัติอาชีพอะไร กระทำตัวอย่างไรก็เป็นเรื่องน่ารู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา วิธีการทำงานของเราต่อไป….."
(๖)"……..การฝึกวิชาชีพนักเรียนเล็กคือการปลูกฝังในการสร้างสรรการใช้มือการสร้าง ความสำเร็จนักเรียนโตและศิษย์เก่า จะฝึกวิชาชีพที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิต และการสร้างงาน และอาชีพหรือการสร้างกลุ่มอาชีพที่ผสมผสานกัน ในลักษณะ การสืบทอดต่อเนื่อง เช่น การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ก็ควรจะได้ฝึกหัดทั้งนักเรียน ศิษย์เก่าและประชาชน ที่จะได้มีผู้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ศึกษาและการฝึกอาชีพ เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในชุมชนที่ตั้งโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.."

เป้าหมายการฝึกอาชีพ
นักเรียนเล็ก (ป๑ - ป๓) ควรจะได้ฝึกงานหัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์อย่างง่ายที่จะเสริม สร้างปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่องานอาชีพ
นักเรียน (ป๔ - ป๖) และลูกศิษย์เก่าผู้สนใจ อาจจะฝึกอาชีพที่เป็นประโยชน์ในการ ดำรงชีวิตหรือพื้นฐาน กลุ่มอาชีพหรือการบริการตามความถนัด
กลุ่มอาชีพที่ได้รับการฝึกฝนสามารถทำกิจกรรมผลงานเพื่อขายหรือสร้างรายได้ หรือการบริการชุมชนได้ ในการปฏิบัติงานสนับสนุนส่งเสริมความรู้ต้องทำอย่าง ต่อเนื่องเพื่อให้กลุ่มอาชีพสามารถดำเนินงานเองได้ และการส่งเสริมอาชีพกลุ่มอาชีพ จะต้องแสวงหาความร่วมมือ จัดระบบ สหกรณ์มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายด้วย
ในการพัฒนาอาชีพตามโครงการฝึกอาชีพ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๕–๒๕๓๙ ในชุมชน ที่ตั้งโรงเรียนเป้าหมายสามารถฝึกอาชีพได้มีอาชีพในหมู่บ้าน จากผู้เข้าฝึกอบรมนำไปใช้ประโยชน์ประกอบอาชีพหรือสนับสนุนการอาชีพ ได้ไม่น้อยกว่า ๑ อย่างในชุมชน
ในการปฏิบัติงานฝึกอาชีพโดยสถานศึกษา/หรือผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงาน ตามที่คณะกรรมการชีศึกษา ปฏิบัติงาน
  • การฝึกวิชาชีพนักเรียนตามวัตถุประสงค์ อย่างน้อย ๑ ครั้ง
  • การฝึกวิชาชีพศิษย์เก่า ผู้สนใจในชุมชนอย่างน้อยผู้เข้าฝึกวิชาชีพไม่น้อยกว่า ๑๕ คน
  • การจัดตั้งกลุ่มวิชาชีพ ๑-๓ ครั้งต่อปี

  • ประเภทของการฝึกวิชาชีพ
    ๑)งานศิลปประดิษฐ์และหัตถกรรมสำหรับเด็กเล็กที่จะช่วยเสริมสร้างทัศนคติผลงานอย่างง่าย ๆ
    ๒)งานฝึกอาชีพเพื่อดำรงชีวิตเป็นอาชีพหรือการฝึกวิชาชีพเบื้องต้น ที่มีความรู้ ความสามารถทักษะพื้นฐานที่จะไปฝึกอาชีพชั้นสูงหรือผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอาชีพ แล้วสามารถไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น
  • งานไฟฟ้าเบื้องต้น สอนหรือฝึกให้รู้จักวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย อุปกรณ์พื้นฐาน การต่อวงจรและอุปกรณ์ การเดินสายไฟฟ้า ฯลฯ โดยผู้ฝึกสามารถนำไปใช้ปฏิบัติ งานอย่างง่ายในการดำรงชีวิตประจำวันได้
  • งานช่างไม้-ช่างปูน เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่จะปฏิบัติงานในการทำงานเกี่ยวกับ การก่อสร้าง ซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัย ตลอดการที่จะเป็นรายการวิชาชีพขั้นสูงต่อไป
  • งานฝึกวิชาชีพการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ผู้เข้าฝึกอบรมจะมีพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ สามารถแก้ไขข้อขัดข้องเครื่องยนต์ได้และการดูแลรักษาเครื่องยนต์ที่ใช้ในงานประกอบอาชีพได้
  • งานซ่อมบำรุงจักรยาน-จักรยานยนต์ ที่ประชาชนได้ใช้เป็นยานพาหนะในหมู่บ้าน สามารถแก้ไขข้อบกพร่องหรือซ่อมแซมที่จำเป็น ในระหว่างการเดินทางและสามารถ ใช้จักรยานและจักรยานยนต์ได้ งานบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ยาวนาน
  • งานที่ซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรเช่น งานบัดกรี งานโลหะอย่างง่าย
  • งานตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างง่ายคือ การสอนให้มีความรู้พื้นฐานการตัดเย็บ การเย็บด้วยมือ เย็บด้วยจักรเย็บผ้า การตัดเย็บผ้าชนิดง่าย ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการซ่อมแซมเสื้อผ้าฯ
  • งานศิลปประดิษฐ์ ในการฝึกหัดการสร้างสรรที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุท้องถิ่นในการสร้างสรรงานต่อไป
  • การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและการประกอบอาหาร การถนอมอาหารเป็นการพัฒนา ทรัพยากรให้มีประโยชน์ ใช้ประโยชน์ในทางโภชนาการที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น
  • การฝึกทักษะวิชาชีพการเกษตรที่จะเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ทักษะเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืช การทำวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ การอนุบาลและดูแลสัตว์ ฯ ฯลฯ
  • ในกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นแนวทางการฝึกอาชีพการดำเนินฝึกอาชีพให้มีการสำรวจ ข้อมูลความต้องการผู้จะเข้าอบรมความจำเป็นกับชีวิตที่เป็นอยู่และประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมากำหนดหลักสูตร วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่คาดว่าเมื่อผู้เข้าฝึกอบรม จะได้ประโยชน์ กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน เวลาการฝึกอบรม การประเมินผล ภายหลังฝึกอบรมและนำไปใช้ประโยชน์
    ๓)งานฝึกอาชีพเพื่อการบริการโดยการฝึกวิชาชีพแบบต่อเนื่องให้มีความสามารถที่ จะบริการในชุมชนการฝึกอาชีพจะสร้างการบริการเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มบริการอาชีพ โดยการพัฒนาจะต้องสร้างความสามารถให้มีทักษะฝีมือเป็นที่ยอมรับที่ให้บริการได้
  • ช่างตัดผมชาย
  • ช่างเสริมสวยสตรีและตัดผม
  • ช่างตัดเสื้อผ้า
  • ช่างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ช่างบริการซ่อมเครื่องยนต์เล็ก
  • ช่างซ่อมจักรยานยนต์
    ฯลฯ
  • การฝึกอาชีพบริการที่จะสร้างความมั่นใจในการประกอบอาชีพจะต้องใช้เวลาการฝึกวิชาชีพ การฝึกอบรมจะทำในสถานศึกษาบางกรณีตามหลักสูตรที่มีอยู่การจัดรูปแบบการบริการ เฉพาะแบบการพัฒนาต่อเนื่อง ตามแนวพระราชดำริ การบริการมีความประสงค์จะให้บริการ ผ่านร้าน สหกรณ์โรงเรียนที่จะสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้ตามความเป็นไปได้และการสนับสนุน เครื่องมืออุปกรณ์ให้ผู้ฝึกอาชีพสามารถให้บริการได้ (ตามความสามารถของสถานศึกษา และหาผู้ให้การสนับสนุน)
    ๔)การฝึกอาชีพสำหรับกลุ่มอาชีพ ในการพัฒนาการสร้างอาชีพเสริมให้กับประชาชน ให้มีรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพหลักหรือการพัฒนาอาชีพหลักที่ได้ดำเนินการอยู่ แล้วให้มีการพัฒนางานอาชีพที่ดำเนินก้าวหน้าต่อไป ลักษณะกลุ่มอาชีพ เช่น
  • กลุ่มอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าและผลิตภัณฑ์จากไหม
  • กลุ่มอาชีพงานซีรามิก
  • กลุ่มอาชีพการเลี้ยงโคนม
  • กลุ่มอาชีพสวนส้มโอ
  • กลุ่มอาชีพเลี้ยงปลา
  • กลุ่มอาชีพทำไม้หวาด
  • กลุ่มอาชีพทำกระเป๋าพื้นเมือง
  • กลุ่มอาชีพทำผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง
  •  
    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี(๙)
    ( จบ. ท๓ ส๖๕๒๕ ๒๕๓๘)

    วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี และวิทยาลัยเกษตรกรรมชลบุรี. (๑๕)

    (จบ. ท๑ ว๕๘๖)