banklongmali
bannumdeang
banbochaaom
bannongborn
banhangmeaw

ประวัติโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมวลักษณะภูมิประเทศ
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโครงการฝึกอาชีพ

ประวัติโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว
โรงเรียนเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยทหารพรานนาวิกโยธินของจังหวัดจันบุรี เข้ามาทำการสอนเพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และเพื่อผลทางจิตวิทยาเนื่องจาก ขณะนั้นหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านพื้นที่ดินสีชมพูเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจทหารชุดดังกล่าว ได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ โรงเรียนได้หยุดสอนถึง
ปี ๒๕๒๕ ชุดสันตินิมิตร ๕๐๔ เข้ามาอีกครั้งหนึ่งเพื่อผลทางจิตวิทยา และต่อมาก็หยุดสอน เมื่อเสร็จภารกิจ ในช่วงนั้นเด็กต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนโคกวัดซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาแห่งชาติอยู่ห่างประมาณ ๕ กิโลเมตรการคมนาคมเป็นไปด้วย ความยากลำบากในฤดูฝน และไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูงจึง ได้จัดหาครูมาทำการสอนชื่อนางสาวทองสูข จำปามาช่วยสอน แต่ปีพ.ศ.๒๕๒๙ -๒๕๓๒ หลังจากนั้นได้หยุดทำการสอนเนื่องจากมีครอบครัวเด็กนักเรียนก็ต้อง เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนโคกวัดเช่นเดิมอีกครั้งหนึ่งและอาคารเรียนของโรงเรียน ได้ถูกไฟไหม้เสียหายราษฎรได้ร่วมกันติดต่อ กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดนเขต ๒ ในขณะนั้นเพื่อหาครูมาทดแทนแต่ยังจัดหาครูมาแทนไม่ได้ชาวบ้าน จึงช่วยกันสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นมาทดแทน วันที่ ๖ ส.ค. ๒๕๓๓ทางกอง กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนได้จัดส่งครูชด.เข้ามาทำการสอนจำนวน ๓ นายจนกระทั่ง ผช.ตชด.ได้มีคำสั่งขออนุมัติจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชาย แดนเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๔ มีนักเรียนเริ่มแรกจำนวน ๕๗ คนต่อมา
ในปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับงบจัดสรรจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบ สปช. ๑๐๒ ขนาด ๓ ห้องเรียน พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ดำเนินการก่อสร้างโดยชุดช่างของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านหางแมว และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
๑.ตำบลแก่งหางแมวมี๑๑หมู่บ้าน
๒.ตำบลขุนซ่องมี๑๑หมู่บ้าน
๓.ตำบลสามพี่น้องมีหมู่บ้าน
๔.ตำบลพวามีหมู่บ้าน
๕.ตำบลเขาวงกตมีหมู่บ้าน
มีนายประศาสน์ ประเสริฐยิ่ง ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอแก่งหางแมวคนแรกปัจจุบันนายสมหมายวิเชียรฉันทร์ ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอและจัดตั้งเป็นอำเภอแก่งหางแมวเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๘
ประชากร เป็นชาย ๑๒,๕๐๙ คน เป็นหญิง ๑๒,๓๗๖ คน รวม ๒๔,๘๘๕ คน จำนวนครัวเรือน ๕,๘๗๖ หลังจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๑๖,๖๒๒ คนที่
ตั้งอำเภอตั้งอยู่ที่ริมถนน ทางหลวงท้องถิ่นสายหนองกวาง-ขุนซ่องระหว่าง ก.ม ที่ ๑๖-๑๗ บ้านตาหน่อง หมู่ที่ ๑ ตำบลแก่งหางแมวพิกัดอาร์คิว ๒๕๔๓๙๓ พื้นที่ ๑,๑๕๔,๐๗๖ ตาราง กิโลเมตร หรือ ๗๒๑,๒๙๗.๕ ไร่

อาณาเขตปกครอง
ทิศเหนือจดอำเภอย่อทอง จังหวัดชลบุรี กิ่งอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราและอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้จดกิ่งอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันออกจดอำเภอสอยดาว กิ่งอำเภอคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตกจดกิ่งอำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสลับภูเขาเป็นรอยต่อ ๕ จังหวัดมีลำน้ำวังโตนดไหล ผ่านไปออกทะเลที่ตำบลโขมงอำเภอท่าใหม่ในปัจจุบันสภาพป่าไม้ถูกราษฎรบุกรุก ครอบครองเพื่อทำการเกษตรจนเกือบหมดยังคงมีสภาพป่าไม้อยู่บ้างในบริเวณที่เป็น ภูเขาสูงด้านตอนบนของพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ

สภาพพื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าขุนซ่องป่าจันตาแป๊ะป่าเขาทะลาย)

ลักษณะดิน
ลักษณะดินเป็นดินปนลูกรังเป็นส่วนใหญ่เป็นการพังทลายของดินเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ปลูกมันสำปะหลัง ปัจจุบันได้มีการปลูกไม้ยืนต้นกันบ้าง เช่น ทำสวนยางสวนผลไม้

การถือครองที่ดิน
การถือครองที่ดิน ในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว มีตำบล เขาวงกตเพียงตำบลเดียว ที่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินเป็น นส.๓ และนส. ๓ ก.เกือบเต็มพื้นที่ปัจจุบันภาคเอกชน ได้มาลงทุนสร้างสวนเกษตรจัดสรรที่ดินหลายรายสำหรับในอีก ๔ ตำบลคือตำบล แก่งหางแมวตำบลขุนซ่อ ตำบลสามพี่น้อง ตำบลวา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าขุนซ่องมีเนื้อที่ ๖๒๕,๐๐๐ ไร่ป่าจันตาแป๊ะมีเนื้อที่ ๑๐,๐๐๐ ไร่ และป่าเขา หลายมีเนื้อที่ ๒,๐๐๐ไร่ ทางราชการได้อนุญาติให้ราษฎรเข้าทำกิน ในพื้นที่เสื่อม สภาพแล้วโดยออกหลักฐานสทก. ๑ ให้แก่ราษฎร จำนวน ๒,๘๖๑ ราย พื้นที่ประ มาณ ๔๒,๙๐๐ ไร่นอกจากนั้นทางราชการได้จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์เพื่อป้องกัน การบุกรุกพื้นที่ป่าในกิ่งอำเภอแก่งหางแมวบริเวณป่า ขุนซ่อง เป็นระยะทาง ๒๓๕ กิโลเมตร แต่ก็ยังปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เร่งรัดจัดกุมผู้กระทำ ผิดกฎหมายเป็นประจำ

การคมนาคม
๑. จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงอำเภอท่าใหม่ระยะทาง ๖๕ ก.มเป็นถนนราดยาง-๕๘ ก.ม ถนนลูกรัง ๗ กิโลเมตร
๒.จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงศาลากลางจังหวัด ระยะทาง
๗๕ กิโลเมตร
๓. จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลเขาวงกต ระยะทาง ๑๗ ก.ม. เป็นถนนราดยาง ๑๐ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๗ กิโลเมตร
๔.จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลขุนซ่อง ระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังทั้งหมด
๕. จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลพวา ระยะทาง ๒๕ ก.ม เป็นถนนลูกรังทั้งหมด
๖.จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลสามพี่น้องระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังสลับกับถนนคอนกรีตบล็อค
๗.ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรังทั้งหมด ยกเว้น ตำบลเขาวงกตซึ่งถนนเชื่อมระยะหมู่บ้าน เป็นถนนราดยาง

สภาพทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ทำไร่มันสำปะหลังไร่อ้อย ยางพารา สวนผลไม้และรับจ้างทั่วไปมีเพียงบางส่วนที่ทำนามีร้านค้า ๓๑๒ ร้าน โรงสี ๗ แห่งลานมันสำปะหลัง ๑๑ แห่งไม่มีธนาคารโรงงานอุตสาหกรรมโรงมหรสพ โทรทัศน์ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข

อุปนิสัยการบริโภค (ด้านโภชนาการ)
ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากหลายจังหวัดด้วยกันการบริโภคก็จะแยกออกเป็น ภาคตามความถนัด การบริโภคนั้นไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการที่ถูกต้องเนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน

สภาพพื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด เช่น ไม้ผลไม้ยืน ต้นพืชผักสวนครัวและพืชไร่มีแหล่งน้ำอยู่ ๒ แห่งขนาดของบ่อกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ลึก ๔ เมตรและขนาดกว้าง ๙๘ เมตร ยาว๑๕ เมตร ลึก ๕ เมตร อีก ๑ บ่อสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในการเกษตรและในโรงเรียนอย่างเพียงพอ แก่ความต้องการตลอดปีในพื้นที่ของโรงเรียนเป็นดินเหนียวปนทรายเหมาะ สำหรับการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ฝรั่ง สะเดา กล้วย ขนุนและอื่น ๆนอกจาก นี้ยังสามารถปลูกพืชไร่และพืชผักสวนครัวได้ทุกชนิด

พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน ๑๔ ไร่ แบ่งเป็นพื้นสำหรับการเกษตร ดังนี้
๑. มีผล ไม้ยืนต้น จำนวน ๑๐ ไร่
๒. พืชไร่ จำนวน ๒ ไร่
๓. พืชผักสวนครัว จำนวน ๒ ไร่
การเลี้ยงสัตว์ ไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน ๒๐๐ ตัว และ ปลานิล ๖,๐๐๐ ตัว จำนวนนักเรียน มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน ๑๐๑ คน ชาย ๕๗ คน หญิง ๕๒ คน

โครงการฝึกอาชีพ
หน่วยงานที่เข้ามาให้การสนับสนุน ได้แก่ สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และวิทยาลัยเกษตรกรรมชลบุรี
เริ่มดำเนินการในปี ๒๕๓๗

ตารางแสดงกลุ่มวิชาชีพซึ่งได้เปิดฝึกอบรม
ลำดับ กลุ่มอาชีพ จำนวนผู้ที่ผ่านการอบรม หน่วยงานที่เปิดฝึกอบรม
  นักเรียน ศิษย์เก่า ศิษย์เก่า ประชาชน
๑. วิชาชีพพืชสวน ๓๑ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขตจันทบุรี

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี ให้การสนับสนุนและจัดการฝึกอบรม

แหล่งอ้างอิง: กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ (ค่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา).(๘)
(จบ.ท๑ น๙๖๑ ๒๕๓๘)
สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี.(๕)
(จบ. ท๓ ส๖๕๒๖ ๒๕๓๘)