ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาคอก สาขาบ้านนาบงระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมสหกรณ์ผลการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาคอก สาขาบ้านนาบง

หมู่ที่ ๔ บ้านนาบง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยตั้งร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดน่าน ปีการศึกษา ๒๕๓๙ มีการประชุมลงมติย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ทำการใหม่ เพื่อให้เหมาะต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยได้รับการสนับสนุนจาก พมพ. และโครงการ รพช. มาปรับพื้นที่เพื่อก่อตั้งอาคารเรียน ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัดก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ๑๐๒/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียนที่แห่งใหม่ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ตั้งอยู่บริเวณตามหุบเขา และพื้นที่ลาดชัน

การคมนาคม
เป็นถนนลูกรัง ช่วงฤดูฝนการเดินทางโดยยานพาหนะลำบาก พื้นที่ถนนถูกน้ำกัดเซาะเป็นหลุมเป็นบ่อ ดินภูเขาจะพังทลายปิดกั้นถนน

จำนวนประชากร
บ้านนาบงมีประชากรทั้งสิ้น ๒๗๖ คน เป็นชาย ๑๒๗ คน หญิง ๑๔๙ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ มีรายได้ต่ำ ฐานะยากจน

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายก๋อง อุปจักร์
ผู้ใหญ่บ้าน นายป่วน พิศจารย์

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านดงผาปูน หมู่ ๘ ตำบลบ่อเกลือใต้ สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน พื้นที่ตั้งส่วนใหญ่เป็นที่ราบประชากรประกอบอาชีพทำไร่ มีฐานะยากจน มีรายได้ต่ำ

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. การคมนาคม
๒. สาธารณสุขมูลฐาน
๓. ที่ทำกิน
๔. อาชีพ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านนาคอก สาขานาบง สังกัดงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยได้รับเด็กจากหมู่บ้านนาบงและดงผาปูน ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๑ ถึง ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๒/๒๖ งบประมาณสำนักงานคณะกรรรมการ
    การประถมศึกษาแห่งชาติ
    ๒. อาคารเรียนชั่วคราว บริษัท เอสอาร์ดับบลิว กราเมนท์ จำกัด จังวหัดชลบุรี
    ๓. อาคารชั่วคราว ราษฎรในพื้นที่บ้านนาบง และดงผาปูน
    ๔. โรงประกอบอาหาร (ชั่วคราว) ราษฎรในพื้นที่บ้านนาบง และดงผาปูน
    ๕.&nbs;ถังเก็บน้ำฝน หน่วยงานเอกชน
    ๖.&nbs;ส้วม ๔ ที่นั่ง งบประมาณสำนักงานคณะกรรรมการ
    การประถมศึกษาแห่งชาติ

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๒ คน มีครู ๑ คน
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๑๐๑ คน เป็นชาย ๔๖ คน หญิง ๕๕ คน มีครู ๓ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. จ.อ.กิติมาน นาทอน
    คบ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน,
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรฯ
    ๒. นางสาวดารินทร์ ตนะทิพย์
    คบ.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๓. นางสาวจีรภา สิทะพรสวรค์
    คบ.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ๑๗
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ๑๕
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    -
    -
    -
    รวม
    ๔๖
    ๕๕
    ๑๐๑

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐ มีนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๑ คน ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๕ คน การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน ๕ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๑ คน

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นางสาวดารินทร์ ตนะทิพย์
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนกงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอบ่อเหลือ

    กิจกรรมที่ดำเนินการในโรงเรียน
    กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า ได้นำสิ่งของมาขาย และผลผลิตทางการเกษตร
    กิจกรรมสหกรณ์ ออมทรัพย์ ให้นักเรียนฝากเงินกับสหกรณ์
    กิจกรรมสหรกณ์การเกษตร ให้นักเรียนปลูกผัก

    ผลการดำเนินงาน
    นักเรียน และครู เป็นสมาชิกสหกรณ์ทั้งหมด เด็กนักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีความกระตือรือร้น สนใจ และมีรู้ความเข้าใจกิจกรรมสหกรณ์เพิ่มขึ้น รู้จักประหยัด อดออม

    ปัญหาการดำเนินงาน
    ๑. การขนส่งลำบาก
    ๒. นักเรียนยังไม่เข้าใจในกิจกรรมสหกรณ์

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๘๑)
    (นน. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๑)