







|

ประวัติโรงเรียนบ้านห้วยลึก
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยลึก
หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยลึก ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๕ มีครูอาสาสมัครมาสอนหนังสือหลักสูตรระยะสั้นเวลา
๖ เดือน ให้ชาวบ้านได้รู้หนังสือ เด็กๆ ต้องเดินไปเรียนที่บ้านสะไลซึ่งมีระยะทางไกล
ต่อมาเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ จึงได้ก่อตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนชาวไทยภูเขา
บ้านห้วยลึก ขึ้น
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
"แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยลึก จนถึงปัจจุบัน
|
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ก่อตั้งมาประมาณ ๒๐ ปี โดยชาวบ้านได้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านสะเกี้ยง
ตำบลขุนน่าน เพื่อที่จะทำไร่ โดยครั้งแรกย้ายมา ๓ - ๕
หลังคาเรือน ต่อมาก็ย้ายเข้ามาก่อตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนกลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เป็นบ้านบริวารของบ้านสะไล มีผู้ใหญ่บ้านอยู่ที่บ้านสะไลหลวง
สภาพพื้นที่ของบ้านห้วยลึกมีที่ราบน้อยมากส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
ตั้งอยู่ในหุบเขา
|
การคมนาคม
ระยะทางจากอำเภอบ่อเกลือถึงบ้านนากึ๋นเป็นถนนลาดยาง ประมาณ
๒๒.๕ กิโลเมตร อีก ๔ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังปนดิน หน้าฝนรถยนต์ขึ้นไม่ได้ต้องเดินเท้า
๑ ชั่วโมง
|
จำนวนประชากร
บ้านห้วยลึกมีประชากรทั้งสิ้น ๒๒๐ คน เป็นชาย ๑๐๕ คน หญิง ๑๑๕ คน
|
การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรประกอบอาชีพ ทำไร่ข้าว, ข้าวโพด และหาของป่าขาย เช่น ดอกก๋ง, หวาย, ปอสา ฯลฯ มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๒,๐๐๐ บาท/ปี
|
ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายประเสริฐ ขันหลวง
ผู้ใหญ่บ้าน นายทอง บัวเหล็ก
|
ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
- เป็นหมู่บ้านเอกเทศ
- แก้ไขปัญหาความยากจน (ข้าวไม่พอกิน)
- ถนน
- ไฟฟ้า
|
ระบบการศึกษา
ศูนย์การเรียนชุมชุนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยลึก สังกัดศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ่อเกลือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดน่าน ทำการสอนตลอดปี
เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๓๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยลึก
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
|
อาคารสถานที่
| ผู้ให้การสนับสนุน |
๑. อาคารเรียน
| คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และราษฎรในพื้นที่ การประถมศึกษาแห่งชาติ |
๒. เสาธง
| คุณเฉลิมชัย ตามะทะ และผู้ใหญ่ลัย ปันอิน |
๓. ร้านค้าหมู่บ้าน
| ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ่อเกลือ และราษฎรในพื้นที่ |
๔. ระบบประปาในศูนย์ฯ
| โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และราษฎรในพื้นที่ |
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๔ คน มีครู ๑ คน
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ จำนวน ๘๕ คน เป็นชาย ๔๑ คน หญิง ๔๔ คน
นักศึกษาผู้ใหญ่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุพ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ จำนวน ๒๑ คน เป็นชาย ๑๓ คน หญิง ๘ คน มีครู ๒ คน คือ
๑. นางสาวภัชรินทร์ หน่อแก้ว วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
๒. นางสาวพัฒนา เทียมตา วุฒิปริญญาตรี
|
การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน
ปีการศึกษา ๒๕๔๐ มีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๖ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๕ คน
|
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนต่างๆ
ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
(๒๕๔๐ - ๒๕๔๔)
ดังต่อไปนี้
|
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
ครูผู้รับผิดชอบ คือ นางสาวภัชรินทร์ หน่อแก้ว
ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ นักเรียน, ครู และคณะกรรมการร้านค้าหมู่บ้าน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ
กิจกรรมที่ดำเนินการ คือ กิจกรรมร้านค้าหมู่บ้าน
|
ผลการดำเนินงาน
ร่วมประชุมชาวบ้าน ขายหุ้นๆ ละ ๑๐ บาท ตั้งคณะกรรมการร้านค้าหมู่บ้าน ดำเนินการเปิดเวลา
๐๖.๐๐ น. - ๐๙.๐๐ น,. ๑๒.๐๐ น. - ๑๓.๐๐ น. และ ๑๕.๓๐ น. - ๒๐.๐๐ น. มีครูเป็นผู้ตรวจเช็คทุกวัน
|
ปัญหาการดำเนินงาน
การขนส่งสินค้าลำบาก เพราะอยู่ไกลทางคมนาคม
|
|