




|

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังชมภู
หมู่ที่ ๕ บ้านวังชมภู ตำบลทรัพย์ไพรวัลย์ กิ่งอำเภอเอราวัณ
จังหวัดเลย
เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๓๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๒๔ ได้รับการร้องขอจากราษฎรบ้านวังชมภู ให้เข้าไปดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุตรหลานที่ต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนห่างไกลภูมิลำเนา
เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบทางการศึกษาไม่สามารถที่จะเข้าไปดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนให้ได้
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จึงได้ทำหนังสือขอรับความเห็นชอบไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ก็ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เมื่อวันที่
๑๐ เมษายน ๒๕๓๘ ทางกองกำกับจึงทำหนังสือขออนุมัติไปทางกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ซึ่งได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน
๒๕๓๘
หลังจากได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแล้ว คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านวังชมภู
จึงจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ในบริเวณที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน
จำนวน ๓๐ ไร่ หลังจากสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเสร็จแล้ว
เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๓๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๒๔ จึงส่งข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปทำการสอน จำนวน
๗ นาย
|
ความเป็นมาของหมู่บ้าน
เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ โดยราษฎรจากอำเภอพล อำเภอกระนวน
จังหวัดขอนแก่น ได้อพยพครอบครัวเข้ามาทำมาหากิน และประกอบอาชีพด้านการเกษตร
ทำไร่ทำนาโดยการเข้ามาจับจองที่ดินในพื้นที่ตำบลผาสามยอด
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นหมู่บ้านขึ้นการปกครองกับบ้านนาอ่างคำ
หมู่ที่ ๖ ตำบททรัพย์ไพรวัลย์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีราษฎรอพยพเข้ามาเพิ่มอีกจำนวน ๔๘
ครอบครัว ทางราชการจึงมีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย
และเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นคนแรก คือ นายเขียว พิศนอก
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งแยกการปกครองจากเดิมบ้านวังชมภู
อำเภอวังสะพุง เปลี่ยนมาขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอเอราวัณ
จังหวัดเลย
|
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโนนดินแดง บ้านนาอ่างคำ
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านผาสะนา บ้านซำบุ่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านใหม่ชัยเจริญ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบึงสวรรค์
|
การคมนาคม
หมู่บ้านวังชมภูอยู่ห่างจากกิ่งอำเภอเอราวัณ ประมาณ ๒๐
กิโลเมตร การเดินทางเข้าออกโดยรถยนต์เข้าออกได้ทุกฤดูกาล
ก่อนเข้าถึงหมู่บ้านเป็นเส้นทางถนนลูกรังประมาณ ๔ กิโลเมตร
นอกนั้นเป็นถนนราดยาง
|
จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น ๒๕๖ คน แยกเป็นชาย ๘๐ คน หญิง ๑๗๖ คน
|
การประกอบอาชีพ
ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม ทำไร่อ้อย
และรับจ้าง รายได้ต่อครอบครัวมีน้อย บางส่วนต้องอพยพไปขายแรงงานและรับจ้างที่ต่างจังหวัด
|
การสาธารณสุข
ราษฏรในหมู่บ้านยังมีความเป็นอยู่ไม่ดีเท่าที่ควร ยังมีค่านิยมในการบริโภคอาหารประเภทสุกๆ
ดิบๆ ใช้ผงชูรสในการปรุงอาหาร ไม่เห็นความสำคัญเรื่องความสะอาดเท่าที่ควร
เมื่อมีการเจ็บป่วยก็จะเดินทางไปใช้บริการที่สถานีอนามัยตำบลทรัพย์ไพรวัลย์
ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕ กิโลเมตร
|
ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายสมภาร โควินทะสุด
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังชมภู เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ
พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ รับเด็กจากหมู่บ้านวังชมภู
และบ้านนาอ่างคำ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม
๒๕๔๐
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม
๒๕๔๑
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน และอาคารประกอบ
จากมูลนิธิ ดร.สุมิตร เลิศสุมิตรกุล
เป็นเงินจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) ตามแปลนที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกำหนด
คือ อาคารเรียน ๑ หลัง, อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง, อาคารโรงครัว
- โรงอาหาร ๑ หลัง, อาคารสหกรณ์และห้องพยาบาล ๑ หลัง,
อาคารบ้านพักครู ๑ หลัง และห้องน้ำ - ห้องส้วม ๑ หลัง
|
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๕๗ คน เป็นชาย ๒๗ คน หญิง ๓๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย
|
ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
ยศ ชื่อ - นามสกุล
| คุณวุฒิ
| หน้าที่รับผิดชอบ |
๑. จ.ส.ต.จรัญ อินทรตระกูล
| คบ.
| ครูใหญ่/งานโครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ |
๒. สิงห์ผ่าน อ่อนศรี
| ม.ศ.๕
| โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน/โครงการ ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก |
๓. วิภูษิต เปรื่องธรรมกุล
| คบ.
| โครงการส่งเสริมสหกรณ์ |
๔. แถม บงแก้ว
| คบ.
| โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ |
๕. ส.ต.ต.ลิขิต โนนทิง
| ม.๖
| โครงการฝึกอาชีพ |
๖. พลฯ ประชิต จันทร์ฤาชัย
| ปวช.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๗. พลฯ ประจักษ์ โคตรชมภู
| ม.๖
| โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๖
| ๑๑
| ๑๗ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๔
| ๖
| ๑๐ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๔
| ๑
| ๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๓
| ๒
| ๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๔
| ๓
| ๗ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๓
| ๑
| ๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๓
| ๖
| ๙ |
รวม
| ๒๗
| ๓๐
| ๕๗ |
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔)
ดังต่อไปนี้
|
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.วิภูษิต เปรื่องธรรมกุล
|
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
สหกรณ์จังหวัดเลย และกรมส่งเสริมสหกรณ์
|
กิจกรรมที่ดำเนินการ
๑. จัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์
๒. การออมทรัพย์ จัดตั้งร้านค้าเป็นการสาธิต
๓. ศึกษาและสวัสดิการ
|
ผลการดำเนินงาน
จัดตั้งกิจกรรมร้านสหกรณ์ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๓๙ ทุนเรือนหุ้นราคา ๕ บาท ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้น จำนวน ๒๙ คน เป็นหุ้นจำนวน ๒๗๙ หุ้น รวมมูลค่าทุนเรือนหุ้น ๑,๓๙๕ บาท และได้รับการช่วยเหลือจาก
มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
ในรอบปีดำเนินการที่ผ่านมา มีผลการดำเนินงาน คือ กำไร ๒,๙๙๙ บาท จัดสรรเป็นเงินปันผลต่อหุ้นๆ ละ ๕ บาท และให้การเฉลี่ยคืนต่อการทำธุรกิจกับสหกรณ์ ๔๕๘.๓๕ %
|
|