ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสว่างระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัย
แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
ผลการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสว่าง

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านสว่าง ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
จัดตั้งเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๘ พื้นที่โรงเรียนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูคา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โรงเรียนได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารต่างๆ จากพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยจ่ายให้เป็นงวดๆ รวม ๓ งวด และดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่.๕
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๕๐ ไร่

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านกิ่วน้ำ ราษฎรเป็นชาวเผ่าม้ง นับถือผี ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารภายนอกเผ่า ตั้งอยู่ห่างจากบ้านสว่าง ประมาณ ๔ กิโลเมตร
๒. บ้านน้ำตวง ราษฎรเป็นชาวเผ่าม้ง นับถือผี ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารภายนอกเผ่า ตั้งอยู่ห่างจากบ้านสว่าง ประมาณ ๘ กิโลเมตร

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๙ ราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน นับถือผี ใช้ภาษาไทย ในการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้าน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูคา

การคมนาคม
สภาพถนนจากบ้านสว่าง - บ้านน้ำตวง เป็นดินลูกรัง ระยะทาง ๘ กิโลเมตร ส่วนถนนในหมู่บ้านเป็นดินลูกรัง ระยะทาง ๘๐๐ เมตร เมื่อฝนตกถนนจะลื่นมาก

จำนวนประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น ๒๗๙ คน เป็นชาย ๑๓๙ คน หญิง ๑๔๐ คน แยกเป็น ๕๑ หลังคาเรือน ๕๘ ครอบครัว เป็นชาวเผ่าลวั๊ะ

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
อาชีพทำไร่ รับจ้างทั่วไป หาของป่า รายได้เฉลี่ยประมาณ ๓,๐๐๐ บาท/ปี/คน

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายหมื่น วงค์เลียบ
ผู้ใหญ่บ้าน นายไสว ยอดออน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสว่าง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่ รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านสว่าง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียนดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ถึง ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑.อาคารเรียน พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ
    ๒. โรงประกอบเลี้ยงอาหาร พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ
    ๓. อาคารเอนกประสงค์ พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ
    ๔. อาคารพยาบาล,สหกรณ์ พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ
    ๕. บ้านพักครู พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ
    ๖. ถังเก็บน้ำ พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ
    ๗. ห้องส้วม พีรยานุเคราะห์มูลนิธิ

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๖๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๙๖ คน เป็นชาย ๔๓ คน หญิง ๕๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. จ.ส.ต. สมพร ดวงเขียว
    ม.ศ.๕
    บริหาร
    ๒. จ.ส.ต. อภิสิทธิ์ สมแสน
    ม.ศ.๕
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๓. ส.ต.ท.อัครวัฒน์ เมธาฤทธิ์
    รบ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา, โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๔. ส.ต.ต. ประนม ปันติ
    ม.๖
    โครงการส่งเสริมโภชนาการฯ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๕. ส.ต.ต. ธีรพงษ์ ปัญญาวงศ์
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖. ส.ต.ต. มานะ เป็นต้น
    ม.๖
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๗. ส.ต.ต. ทวีศักดิ์ ปัญญาวงศ์
    ม.๖
    โครงการฝึกอาชีพ

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๓
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    รวม
    ๔๓
    ๕๓
    ๙๖

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัย
    แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร

    โรงเรียนตั้งอยู่ในประเภทพื้นที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต. ประนม ปันติ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

    ผลการดำเนินงาน
      ๑. จำนวนหญิงมีครรภ์ทั้งหมดในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๓ คน
      ๒. จำนวนหญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์กับครู ตชด./เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๓ คน
      ๓. พบภาวะโลหิตจางในหญิงมีครรภ์ จำนวน - คน
      ๔. อัตราการตายของทารก
        - เสียชีวิตก่อนคลอด (อายุครรภ์มากกว่า ๒๘ สัปดาห์ขึ้นไป) จำนวน - คน
        - เสียชีวิตในช่วงระหว่างคลอด จำนวน - คน
        - เสียชีวิตในช่วงหลังคลอด (ภายใน ๖ สัปดาห์) จำนวน - คน
      อัตราการตายของทารก
        - ตายตอนคลอด จำนวน - คน
        - คลอดแล้วตายภายใน ๗ วัน จำนวน - คน
        - คลอดแล้วตายภายใน ๑ ปี จำนวน - คน
      น้ำหนักทารกแรกเกิด
        - ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม จำนวน - คน
        - ระหว่าง ๒,๕๐๐ กรัม จำนวน ๑ คน
        - ตั้งแต่ ๓,๐๐๐ กรัมขึ้นไป จำนวน - คน
      ๗. ภาวะโภชนาการของทารกแรกเกิด ถึง ๓ ปี (๐ - ๓๖ เดือน)
        - จำนวนเด็กทารกทั้งหมด จำนวน ๓๓ คน
        - จำนวนเด็กทารกที่ชั่งน้ำหนัก จำนวน ๓๓ คน
        - จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๑ จำนวน ๑๐ คน
        - จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๒ จำนวน ๑ คน
        - จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๓ จำนวน ๑ คน
        - จำนวนเด็กทารกที่มีพัฒนาการเป็นไปตามวัย จำนวน ๓๒ คน
        - จำนวนเด็กทารกที่ได้รับวัคซีนครบ จำนวน ๓๓ คน
      ๘. ปัญหาในการดำเนินการ (ถ้ามี)
        การใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๐๙)
    (นน. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)