ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาตุมระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาตุม

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาตุม ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลตาตุม อำเภอสังละ จังหวัดสุรินทร์
เดิมหมู่บ้านตาตุม ไม่มีสถานศึกษา นักเรียนระดับประถมศึกษาต้องเดินทางไปเรียนยังสถานศึกษาแห่งอื่น ทำให้นักเรียนมีความลำบาก และไม่ปลอดภัยในการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น คณะกรรมการหมู่บ้านตาตุม ได้ทำหนังสือร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา และเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ ได้ส่งครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๑๑ นาย ร่วมก่อสร้างอาคารเรียนกับราษฎรในพื้นที่ โดยมีเอกชนให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๑๕๗ คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๒ (เด็กเล็ก) และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งมด ๑๘ ไร่ ๔๑ ตารางวา

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประชาชนส่วนใหญ่อพยพมาจากที่อื่น เพื่อมาจับจองที่ดิน แหล่งทำกิน สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีลำน้ำ ห้วย ไหลผ่านตลอดปี บ้านเรือนจัดตั้งอยู่เป็นลุ่มๆ ตามความยาวของถนนที่ใช้สัญจรไปมาในหมู่บ้าน ภาษาที่ใช้พูด คือ ภาษาท้องถิ่น (เขมร) นับถือศาสนาพุทธ เยาวชนหนุ่มสาวส่วนมากจะไปขายแรงงานที่กรุงเทพฯ

การคมนาคม
ถนนที่ใช้สัญจรไม่สะดวก เพราะน้ำท่วมในฤดูฝน ระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอสังละ ๒๐ กิโลเมตร ถึงอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที

จำนวนประชากร
มีประชากรอาศัยอยู่ ๖๙ ครัวเรือน ประชากร ๓๖๗ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่มัน ไร่ปอ มีรายได้เฉลี่ยประมาณ ๗,๕๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายเยียน ภาสดา
ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญสวย หลักแหลม

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านดาร์ หมู่ที่ ๙ ตำบลตาตุม อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์
๒. บ้านโคกเมือง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลจารย์ อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ถนนสัญจรในหมู่บ้านไม่สะดวก เพราะเป็นถนนลูกรัง
๒. ต้องการมีอาชีพเสริม หลังจากฤดูทำนา เพื่อเสริมรายได้

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาตุม สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ จังหวัดสุรินทร์
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยรับเด็กจากหมู่บ้าน ตาตุ, บ้านดาร์, บ้านโคกเมือง
ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ๒ หลัง คุณอลงกรณ์ มณีสุขกาญจน์ และสถาบันเทค
    โนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุรินทร์
    ๒. โรงอาหาร ๑ หลัง คุณอลงกรณ์ มณีสุขกาญจน์
    ๓. บ้านพักครู ๓ หลัง คุณอลงกรณ์ มณีสุขกาญจน์
    ๔. สุขา ๑ หลัง คุณอลงกรณ์ มณีสุขกาญจน์
    ๕. เล้าไก่ ๓ หลัง พีระยานุเคราะห์มูลนิธิ และปศุสัตว์อำเภอสังขะ
    ๖. เรือนเพาะชำ ๒ หลัง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ และสถาบันราชภัฎสุรินทร์

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๕๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๑ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๑๘๑ คน เป็นชาย ๙๕ คน หญิง ๘๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๐ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. จ.ส.ต.พัฒน์ จันบัวลา
    ปกศ.
    ครูใหญ่
    ๒. จ.ส.ต.ธนชาติ ติสันเทียะ
    ม.ศ. ๕
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๓. ส.ต.ต.โอภาส พึ่งมา
    ปวช.
    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๔. ส.ต.ต.กินิลธร เพชรสมัย
    ปวช.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๕. ส.ต.ต.อนุชิต บุญส่ง
    คบ.
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๖. ส.ต.ต.มานพ พูนมะดัน
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. ส.ต.ต.โยธิน ถ้ำหิน
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๘. ส.ต.ต.สุรชัย สำรองพันธ์
    ปวช.
    โครงการสหกรณ์ใน รร.ตชด.
    ๙. ส.ต.ต.วิโรจน์ บุญจันทร์
    ปวช.
    โครงการฝึกอาชีพนักเรียนเก่า
    ๑๐. ส.ต.ต.ปฐมพงษ์ มานะชัย
    พธ.บ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๒
    ๑๕
    ๓๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๗
    ๑๑
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๔
    ๑๔
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๗
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๔
    ๑๐
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๙
    รวม
    ๙๕
    ๘๖
    ๑๘๑

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต. มานพ พูนมะดัน
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู และนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    สำนักงานเกษตรอำเภอสังขละ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สังขละ
    สถานีประมงจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สังขละ
    วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชมงคลบุรีรัมย์
    สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุรินทร์
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร น้ำจากลำห้วย ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูเวรผู้รับผิดชอบแต่ละวัน และผู้ปกครองนักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๑
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๔๕ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนทุกคนดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทุกคนดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๔. นมอัดเม็ด ให้นักเรียนทุกคน วันละ ๑ ซอง

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๐.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๒๑.๔๓
    ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๒๑.๔๓
    ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๖.๒๐
    ๐.๐๐
    ๑๐.๐๐
    ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖.๕๐
    ๐.๐๐
    ๓.๕๗
    ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๑.๒๕
    ๐.๐๐
    ๓.๕๗
    ๐.๐๐
      ประเมินผล พอใช้
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๑.๙๐
    ๐.๐๐
    ๗๘.๒๐
    ๓.๒๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๗.๖๕
    ๐.๐๐
    ๒๖.๖๐
    ๑.๐๙
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๔.๑๓
    ๐.๐๐
    ๒๖.๖๐
    ๑.๐๙
     
    ประเมินผล พอใช้
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๗๒.๙๐
    ๐.๐๐
    ๖๕.๐๐
    ๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๖.๐๔
    ๐.๐๐
    ๒๓.๒๑
    ๐.๐๐
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๖๕.๐๙
    ๐.๐๐
    ๒๓.๒๑
    ๐.๐๐
     
    ประเมินผล ดี
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กันยายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๗๐.๗๐
    ๐.๐๐
    ๑๔.๑๐
    ๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๒.๙๕
    ๐.๐๐
    ๔๕.๗๘
    ๐.๐๐
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๕๗.๓๙
    ๐.๐๐
    ๔๕.๗๘
    ๐.๐๐
     
    ประเมินผล ดี
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๓๗
    ๓๕
    ๓๓
    ๕.๗๔
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๒๘
    ๒๘
    ๒๓
    ๑๗.๘๕
    ดี
    ประถม ๒
    ๒๘
    ๒๘
    ๒๔
    ๑๔.๒๘
    ดี
    ประถม ๓
    ๒๖
    ๒๖
    ๒๓
    ๑๑.๕๓
    ดี
    ประถม ๔
    ๒๐
    ๒๐
    ๒๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๑๙
    ๑๙
    ๑๖
    ๑๕.๗๘
    ดี
    รวม
    ๑๔๔
    ๑๔๔
    ๑๒๑
    ๑๕
    ๑๐.๔๑
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑)แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๗๐ กิโลกรัม
    ๒)น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๗๐ กิโลกรัม
    ๓)นมผง ๓ งวด จำนวน ๒๗๕ กิโลกรัม
    ๔)นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๓,๗๔๔ กล่อง
    ๕)เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑)แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    ๒)น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    ๓)นมผง ๑ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๔)เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๔)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๗๒ ๒๕๔๐)