ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๒ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๒

ปี พ.ศ.๒๕๒๗ คณะกรรมการในเขต ๕ ชุมชน คือชุมชนบ้านโคกป่าจิก ชุมชนบ้านดร็อบ ชุมชนบ้านละเบิก ชุมชนบ้านตาลอก และชุมชนบ้านสวายสอ ได้ขอให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอปราสาท จัดตั้งโรงเรียน เนื่องจากเยาวชนประสบปัญหาในการเดินทางไปโรงเรียน ซึ่งมีระยะทางไกล โดยเฉพาะในฤดูฝนต้องข้ามห้วย แต่สำนักงานการประถมศึกษายังไม่พร้อมที่จะจัดตั้งโรงเรียนได้ จึงขอความอนุเคราะห์ไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ ให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนดังนี้ ช่วงแรกของการจัดตั้ง ได้มีพระครูประสาท พรหมคุณ เจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี ตำบลทุ่มมน อำเภอประสาท และพระอธิการพรชัย ปินสีเล เจ้าคณะตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท ได้ร่วมกับราษฎรในท้องถิ่น และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ จัดหาวัสดุ อุทิศแรงงานร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จนเปิดการเรียนการสอนได้เป็นทางการเมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๘ โดยมี นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิด ช่วงที่สอง พีระยานุเคราะห์มูลนิธิในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวร และอาคารประกอบต่างๆ จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปีกาจนภิเษก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกป่าจิก เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๒ เฉลิมพระเกียรติฯ ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคทุนก่อสร้างอาคารเรียน ซึ่งได้บริจาคในคราวเดียว จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินการในด้านอื่นๆ ครบตามหลักเกณฑ์ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกำหนด โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่ ๗๔ ตารางวา

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ราษฎรส่วนใหญ่พูดภาษา (เขมร) ประกอบอาชีพทำนา เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา จะอพยพไปขายแรงงานที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรในหมู่บ้านอยู่ในระดับยากจน และยังยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี อันเก่าแก่ของท้องถิ่นอยู่

การคมนาคม
ระยะทางจากจังหวัดสุรินทร์ถึงอำเภอประสาท ๒๘ กิโลเมตร จากอำเภอประสาทไปทางทิศตะวันตก ถนน โชคชัย - เดชอุดม ๑๕ กิโลเมตร แยกซ้ายจากบ้านละลม ถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกป่าจิก ระยะทาง ๖ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น ๓๐๙ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีรายได้เฉลี่ยประมาณ ๔,๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน   นายกิมจิว   ธีระวงศ์ไพศาล
ผู้ใหญ่บ้าน   นายเดียน   แพงประโคน

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านตร๊อบ หมู่ ๑๑ ตำบลโชคนาสาม มีประชากร ๔๘๒ คน อาชีพทำนา รายได้เฉลี่ย ๔,.๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
๒. บ้านสวายสอ หมู่ที่ ๒ ตำบลปรือ มีประชากร ๑๑๗ คน อาชีพทำนา รายได้เฉลี่ย ๓,๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
๓. บ้านละเบิก หมู่ที่ ๑๓ ตำบลโชคนาสาม มีประชากร ๒๒๗ คน อาชีพทำนา รายได้เฉลี่ย ๔,๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ขาดทุนทรัพย์ในการลงทุนและประกอบอาชีพ
๒. เส้นทางในการเดินทางมาโรงเรียนมี หลายชุมชนต้องใช้เส้นทางตามธรรมชาติ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๒ เฉลิมพระเกียรติฯ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านโคกป่าจิก บ้านตร๊อบ บ้านละเบิก บ้านสวายสอ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียนชั่วคราว พระครูประสานพรหมคุณ พระอธิการพรชัยปิยสีโล ราษฎรในพื้นที่
    ๒. อาคารเรียน ๑ พีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯ
    ๓. อาคารเอนกประสงค์ พีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯ
    ๔. โรงอาหาร พีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯ
    ๕. บ้านพักครู พีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯ
    ๖. ห้องสุขา พีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯและราษฎรในหมู่บ้าน

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๖๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๑ นาย ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๑๒๗ คน เป็นชาย ๖๗ คน หญิง ๖๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๐ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ร.ต.ต.เชิด เรืองสุขสุด
    ปวช.
    ครูใหญ่
    ๒.จ.ส.ต.ประเจน ทำวงศรี
    ม.ศ.๕
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม
    ๓. ส.ต.ท.สมชาย ศรีพรหม
    คบ.
    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๔.ส.ต.ท.อดิศร สกุลพูนทรัพย์
    คบ., ศศบ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๕. ส.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ สาธุรัมย์
    ปกศ.สูง
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๖. ส.ต.ท.สมศักดิ์ พยัฆษา
    ศศบ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. ส.ต.ต.ประเสริฐ ทองจำรัส
    ปกศ.สูง
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๘. ส.ต.ต.สุรศักดิ์ เกษศรีรัตน์
    ปวท.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๙. ส.ต.ต.ประสิทธิ์ นราศรี
    อวท.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๑๐. พลฯ หวัน ขันที
    คบ.
    โครงการฝึกอาชีพ

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑
    ๑๒
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๖
    ๑๔
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๒
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    ๒๐
    รวม
    ๖๗
    ๖๐
    ๑๒๗

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.ประเสริฐ ทองจำรัส และ ส.ต.ต.ประสิทธิ์ นราศรี

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
  • สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์
  • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุรินทร์ และวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีบุรีรัมย์
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร สระน้ำ ขนาด ๑๒๐ x ๑๒๐ เมตร
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำบ่อ
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน
  • การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๙๐
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
  • การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์

  • ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๐.๒๕ ๓๐.๐๐ ๔๓.๐๐ ๒๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๖.๗๑ ๒๓.๒๖ ๓๓.๓๓ ๑๕.๕๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๑๑๖.๗๖ ๙๓.๐๒ ๓๓.๓๓ ๑๕.๕๐
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก พอใช้ ปรับปรุง
    มิถุนายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๑๒.๒๕ ๖๐.๐๐ ๑๐๕.๐๐ ๕๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๑.๔๔ ๒๒.๑๕ ๓๘.๗๖ ๑๘.๔๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๑๐๓.๕๙ ๘๘.๕๙ ๓๘.๗๖ ๑๘.๔๖
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก พอใช้ ปรับปรุง
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๐๑.๒๕ ๕๗.๐๐ ๑๑๙.๐๐ ๑๕๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย(กรัม/คน/มื้อ) ๗๔.๒๙ ๒๑.๐๔ ๔๓.๙๓ ๕๕.๓๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๑๘๕.๗๒ ๘๔.๑๖ ๔๓.๙๓ ๕๕.๓๗
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก พอใช้ ดี
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๘๔.๒๕ ๖๐.๐๐ ๑๔๙.๐๐ ๔๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๒.๖๖ ๒๓.๒๖ ๕๗.๗๕ ๑๕.๕๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๘๑.๖๔ ๙๓.๐๒ ๕๗.๗๕ ๑๕.๕๐
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดี ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙๗.๕๐ ๖๖.๐๐ ๒๑๙.๐๐ ๔๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๔.๓๖ ๒๓.๒๖ ๗๗.๑๗ ๑๔.๐๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๘๕.๘๙ ๙๓.๐๒ ๗๗.๑๗ ๑๔.๐๙
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดีมาก ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๐
    ๑๐
    ๕๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ประถม ๒
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๓
    ๕.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๕
    ๑๖.๖๖
    ดี
    ประถม ๔
    ๒๑
    ๒๑
    ๒๑
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๑
    ๓๑.๒๕
    ปรับปรุง
    ประถม ๖
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๗
    ๑๕.๐๐
    ดี
    รวม
    ๑๒๗
    ๑๒๗
    ๑๐๓
    ๒๔
    ๑๘.๙๐
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
  • ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๐๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๐๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๓๗๕ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลือแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๖,๕๕๒ กล่อง
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

  • แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๔)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๗๒ ๒๕๔๐)