ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประกอบออกระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประกอบออก

หมู่ที่ ๓ บ้านประกอบออก ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
บ้านประกอบออกอยู่ห่างไกลความเจริญ เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก มีหมู่บ้านใกล้เคียงเพียง ๓ หมู่บ้าน มีราษฎรอาศัยอยู่ ๑๓๖ ครอบครัว จำนวนประชากรประมาณ ๕๐๗ คน เป็นชาวไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม ใน หมู่บ้านไม่มีโรงเรียนที่จะให้บุตรหลานได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย นอกหมู่บ้านมีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ๑ โรงเรียน ซึ่งอยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวกต่อการเดินทางไปเรียนหนังสือ ซึ่งเป็นระยะทางไปกลับ ประมาณ ๘ กิโลเมตร
ดังนั้นเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๒๘ นายหวังยา หมัดเหม ราษฎรในพื้นที่ ได้ทำหนังสือร้องขอให้ตำรวจตระเวนชายแดนมาจัดตั้งโรงเรียนขึ้น และนายหวังยาฯ ได้แจ้งความประสงค์ที่จะบริจาคที่ดินในการจัดตั้งโรงเรียน จำนวน ๒ ไร่ โดยทำหนังสือร้องขอไปยังผู้บังคับกองร้อยที่ ๙ ตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่งเมื่อผู้บังคับการฯ ได้รับหนังสือร้องเรียนแล้วจึงรายงานให้ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๙ ทราบ ผู้กำกับการฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกสำรวจหาข้อมูลในการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ผลการสำรวจรากฎว่าบ้านประกอบออก มีความเหมาะสมและเข้าตามหลักเกณฑ์ที่จะจัดตั้งโรงเรียน แต่ที่ดินที่นายหวังยาฯ ได้บริจาคนั้น ยังไม่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ ราษฎรจึงร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินเพิ่มเติมดังนี้
๑. นายหวังยาฯ บริจาคที่ดินไว้เดิมก่อนแล้ว ๒ ไร่ และบริจาคเพิ่มเติมอีก ๒ ไร่ รวมเป็น ๔ ไร่
๒. นายปะนะ สาล่า บริจาคที่ดิน จำนวน ๑ ไร่
๓. ราษฎรในหมู่บ้านประกอบออก ร่วมกันบริจาคเงิน จำนวน ๒๓,๐๐๐ บาท เพื่อซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๒ ไร่
รวมที่ดินในการจัดสร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประกอบออก จำนวน ๗ ไร่ ซึ่งได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๙
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๗ ไร่

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประกอบออก เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านประกอบออก บ้านประกอบตก บ้านปากัน และบ้านปอเนาะ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ๑ อาคารเรียนศรีพฤฒาราม มูลนิธิศรีพฤฒาราม, มูลนิธิรุจิรวงศ์
    ๒. อาคารเรียน ๒ อาคารเรียน ราม-นาทวี นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงร่วมกันจัดสร้าง
    ๓. ห้องสมุด ห้องสมุดชนม์อรุณ คุณอรุณ หงษ์ทอง บริจาคจัดสร้างเมื่อสิงหาคม ๒๕๓๘
    ๔. ห้องพยาบาล คณะครูจัดสร้างเมื่อมกราคม ๒๕๓๗
    ๕. โรงอาหาร นักศึกษาแผนกก่อสร้างเทคโนฯ สงขลา
    ๖. ห้องน้ำ, ห้องสุขา นายบุญช่วย จังศิริวัฒนธำรง บริจาคเมื่อตุลาคม ๒๕๓๘
    ๗. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยสารพัดช่าง จังหวัดสงขลา เมื่อสิงหาคม ๒๕๓๘

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๗๘ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๘๖ คน เป็นชาย ๑๔๒ คน หญิง ๑๔๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๒ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ทำหน้าที่
    ๑. ด.ต.ประวัติ สุขมาก
    ปริญญาตรี
    ครูใหญ่
    ๒. ด.ต.วิโรจน์ ทองไฝ
    อนุปริญญา
    ผู้ช่วยครูใหญ่
    ๓. ด.ต.สมจิต มุสิกนุเคราะห์
    ปริญญาตรี
    ครูผู้สอน
    ๔. ด.ต.กล่อมศักดิ์ ช่วงรัตน์
    อนุปริญญา
    ครูผู้สอน
    ๕. จ.ส.ต.อุดม มันแอ
    ปริญญาตรี
    ครูผู้สอน
    ๖. จ.ส.ต.สุดจิตร์ บุญรัตน์
    อนุปริญญา
    ครูผู้สอน
    ๗. จ.ส.ต.ภักดิ์ ซุ้นจ้าย
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๘. จ.ส.ต.วรพจน์ อวะภาค
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๙. จ.ส.ต.ประเทือง แก้วสำอาง
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๑๐. จ.ส.ต.บุญฤทธิ์ เยาดำ
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๑๑. ส.ต.อ.บรรจบ วรรณบูลย์
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๑๒. พลฯ บุญฤทธิ์ พรมมาก
    อนุปริญญา
    ครูผู้สอน
    ๑๓. นางฮัมเสาะ หัดเหม
    ม.๖
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๓. นางฮัมเสาะ หัดเหม
    ม.๖
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๔. น.ส.จำเรียม พรมเพ็ชร
    ปริญญาตรี
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๓๘
    ๔๕
    ๘๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๗
    ๒๙
    ๕๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๙
    ๑๔
    ๔๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๒๒
    ๒๐
    ๔๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ๑๑
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๒
    ๑๗
    รวม
    ๑๔๒
    ๑๔๔
    ๒๘๖

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.สุดจิตร บุญรัตน์
    ผู้ดำเนินงานโครงการ คือ ร.ต.ต.ประวัติ สุขมาก
    หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอนาทวี, ปศุสัตว์อำเภอนาทวี และประมงสงขลา

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๓๙
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๒๐,๐๐๐.๐๐
    ๖.๓๓
    ๑๕.๘๓
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๒๒,๐๐๐.๐๐
    ๓๘.๖๒
    ๓๘.๖๒
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๔๘,๐๐๐.๐๐
    ๘.๙๘
    ๒๒.๔๕
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๓๑,๐๐๐.๐๐
    ๔๓.๒๑
    ๔๓.๒๑
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๗๐,๐๐๐.๐๐
    ๑๕.๑๖
    ๓๗.๙๐
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๒๓,๐๐๐.๐๐
    ๔๘.๓๐
    ๔๘.๓๐
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๗๐,๐๐๐.๐๐
    ๑๕.๑๖
    ๓๗.๙๐
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๒๓,๐๐๐.๐๐
    ๔๘.๓๐
    ๔๘.๓๐
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๓๐,๐๐๐.๐๐
    ๕.๓๗
    ๑๓.๔๒
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๐๐,๐๐๐.๐๐
    ๓๕.๗๘
    ๓๕.๗๘
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    กันยายน
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๕๓,๐๐๐.๐๐
    ๑๐.๓๙
    ๒๕.๙๗
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๒๙,๐๐๐.๐๐
    ๔๔.๘๘
    ๔๔.๘๘
    พอใช้
    ๔๕,๐๐๐.๐๐
    ๘.๘๒
    ๘.๘๒
    ปรับปรุง
    ตุลาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๒๖,๐๐๐.๐๐
    ๔๒.๒๗
    ๔๒.๒๗
    พอใช้
    ๓๓,๐๐๐.๐๐
    ๖.๑๗
    ๖.๑๗
    ปรับปรุง
    พฤศจิกายน
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๕๐,๐๐๐.๐๐
    ๙.๓๕
    ๒๓.๓๘
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๘๔,๐๐๐.๐๐
    ๓๔.๔๒
    ๓๔.๔๒
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ธันวาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๓๘,๐๐๐.๐๐
    ๗.๘๒
    ๑๙.๕๕
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๔๒,๐๐๐.๐๐
    ๔๙.๗๙
    ๔๙.๗๙
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    มกราคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๓๙,๐๐๐.๐๐
    ๘.๐๒
    ๒๐.๐๖
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๐๘,๐๐๐.๐๐
    ๔๒.๘๐
    ๔๒.๘๐
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    กุมภาพันธ์
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๓๖,๐๐๐.๐๐
    ๗.๔๑
    ๑๘.๕๒
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๖๒,๐๐๐.๐๐
    ๓๓.๓๓
    ๓๓.๓๓
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    มีนาคม
    ผลผลิตรวม (กรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ประเมินผล
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๒๐๑,๐๐๐.๐๐
    ๔๑.๓๖
    ๔๑.๓๖
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง

    หมายเหตุ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร

    คำอธิบายตัวชี้วัด
    การแปลผล/เกณฑ์
    น้ำหนักผลผลิตทางการเกษตรประเภทเนื้อ ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง และ
    ผลไม้ที่ผลิตได้ เปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการอาหารของ
    นักเรียน หน่วยเป็นกรัม/นักเรียน ๑ คน/มื้อ
    ณ ๗๕% = ดีมาก
    < ๗๕% = ดี
    ณ ๕๐-๒๕% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๗๙ คน
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู และผู้ปกครองนักเรียน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน ได้รับอาหารเสริมดังนี้
    ๑) นมสด UHT จาก กรมอนามัย จำนวน ๓๙๕ ลัง
    ๒) นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓๗๐ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
    ๓) แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๔๒๐ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
    ๔) นมอัดเม็ด จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒,๒๙๑ ซอง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑) นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่มวันละ ๑ กล่อง
    ๒) นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันเปิดเรียน
    ๓) นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันพุธ และวันศุกร์ วันละ ๑ ครั้ง
    ๔) นมถั่วเหลือง UHT ให้นักเรียนดื่มทุกคนเฉพาะวันหยุด เสาร์ และอาทิตย์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๕๓
    ๓๗
    ๓๓
    ๑๐.๘๑
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๕๖
    ๓๘
    ๓๓
    ๑๓.๑๖
    ดี
    ประถม ๒
    ๓๙
    ๓๖
    ๓๒
    ๑๑.๑๑
    ดี
    ประถม ๓
    ๓๗
    ๓๒
    ๓๐
    ๖.๒๕
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๘
    ๑๔.๒๙
    ดี
    ประถม ๔
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๘
    ๑๔.๒๙
    ดี
    ประถม ๕
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๒
    ๒๙.๔๑
    พอใช้
    ประถม ๖
    ๑๘
    ๑๘
    ๑๕
    ๑๖.๖๗
    ดี
    รวม
    ๑๘๘
    ๑๖๒
    ๑๔๐
    ๒๒
    ๑๓.๕๘
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๗,๙๘๐ บาท
    ๓. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. โครงการพัฒนาการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวน ๑,๖๐๐ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๒๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๒๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๒๖๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๒๖๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๗
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๘๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๘๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๘
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๒๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๒๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๓๗๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๗๙)
    (สข.ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙ )