bannayao
bannaesan

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอิสานสภาพทางกายภาพ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโครงสร้างการปกครอง และสังคม

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอิสาน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านอิสาน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๖ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมชื่อโรงเรียนบ้านนาอิสาน จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยประชาชนในหมู่บ้านได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาซึ่งเด็กที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์ การศึกษา ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการประถมศึกษาพ.ศ. ๒๕๒๓ ไม่มีสถานศึกษาในพื้นที่ การส่งบุตรหลานไปเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐที่ใกล้ที่สุดเป็นระยะทาง ๖ กิโลเมตร ได้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว ในการเดินทางไปยังสถานศึกษา ก็เป็นไปด้วยความลำบาก โดยเฉพาะในช่างฤดูฝนน้ำท่วมเส้นทางและสภาพ ๒ ข้างทางเป็นป่าทึบ ซึ่งเกินความสามารถของเด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับที่จะเข้าเรียนได้ บางครั้งบิดา มารดาหรือผู้ปกครองต้องนำบุตรหลานไปพักค้างที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว เป็นเนืองนิจตลอดมา
ต่อมา นายเนาว์ มีสร้อย ได้สละที่ดินที่ใช้ประกอบอาชีพจำนวน ๒๕ ไร่ ๓ งาน เพื่อ จัดตั้งโรงเรียน พร้อมด้วยราษฎรในพื้นที่ ได้ร่วมใจกันก่อสร้างอาคารชั่วคราวขึ้นหนึ่งหลังเพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน และจัดหาผู้มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่ครู พร้อมทั้งได้จัดหาค่าตอบแทนให้แก่ครูผู้สอน ๓ คน คือ
  • ๑. นายนิตร เถียนนอก
  • ๒. นางสาววาสนา ชื่นมะดัน
  • ๓. นางสาววรรณภา อันปัญญา

    เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖นายเนาว์ มีสร้อย พร้อมคณะกรรมการหมู่บ้านได้ขอความช่วยเหลือไปยังภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อขอรับการสนับสนุนในด้านการเรียนการสอนและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อให้ทัดเทียมกับโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐ
    ผลของการประสาน นายวิเชียร ตันเจริญ ให้การสนับสนุนค่าตอบแทนเดือนละ ๘๐๐ บาท/คน ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ จนถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๓๗ และ สถาบันราชภัฎฉะเชิงเทรา ได้จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอีก ๑ หลัง เป็นจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยราษฎรในพื้นที่เป็นผู้จัดหาวัสดุร่วมและดำเนินการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จ
    เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการตามพระราชดำริ ที่ดำเนินงานอยู่ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คณะครูโรงเรียนบ้านนาอิสาน พร้อมด้วยประชาชนได้เดินทางมาเฝ้ารับเสด็จ ฯ ถวายฎีกาขอความอนุเคราะห์ ในปีเดียวกันนั้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนบ้านอิสาน เป็น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอิสานโดยมี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับหน่วยราชการ ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
    เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ ได้จัดส่งข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๓ นาย ทำหน้าที่ครู มี ส.ต.อ.สุกัน ลอมไธสง เป็นหัวหน้า ส.ต.อ. อุทิศ สีสุ่น ทำหน้าที่ครูเกษตร ส.ต.ท.วิเชียร กลั่นความดี ทำหน้าที่ครูพยาบาล ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับครูช่วยสอน เปิดทำการสอนตั้งแต่เด็กเล็กก่อนวัยเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีนักเรียน ชาย-หญิง ๑๓๙ คน (ชาย ๖๕ คน หญิง ๗๔ คน)
    เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานทรัพย์ เป็นค่าตอบแทนครูช่วยสอนทั้ง ๓ คน เป็นเงิน ๘,๑๑๐ บาท ในครั้งแรกและเพิ่มค่าตอบแทนเป็นจำนวน ๑๑,๕๔๐ บาท เป็นประจำทุกเดือน แต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ตลอดมา
    เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานทรัพย์ เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน ขนาด ๔ ห้องเรียน แบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ จำนวน ๑ หลัง และได้ ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๗ ใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น ๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกแสนสองหมื่นบาทถ้วน) ส่วนงบประมาณค่าก่อสร้างที่เพิ่ม บริษัท ส.บำรุงก่อสร้าง ร่วมสมทบเป็นเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท นายโสภณ-นางกุลธิชชา มณีพิพัฒน์ สมทบค่าก่อสร้างเป็นเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อเพิ่มเติมห้องเรียนชั้นล่างอีก ๒ ห้อง และ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอิสาน เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๗ ซึ่งต่อมาได้มีภาครัฐบาลและภาคเอกชน เข้ามาให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นในด้านสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น นายวิรุฬ จิตรอร่ามกุล บริจาคเงินสร้างถังน้ำฝนซีเมนต์ จำนวน ๔ ถัง เป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท โรงเจวัดโสธรฯ ๑๕,๐๐๐ บาท เป็นทุนการศึกษา มูลนิธิแม่ชีฉวีวรรณ โครงการอาหารกลางวัน ๓ บาท/คน/วัน แต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ภาคเรียนที่ ๒ มูลนิธิสุมิตร เสิศสุมิตรกุอุปถัมภ์ บริจาคเงินก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงินจำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท บ้านพักครูจำนวน ๑ หลัง เป็นเงินจำนวน ๓๓๐,๐๐๐ บาท อาคารร้านสหกรณ์/พยาบาล จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๗๐,๐๐๐ บาท พระครูวินัยธรบุญชัย จิตปาโล บริจาคเงินก่อสร้างบ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท นายอรันตัน จากประเทศสิงคโปร์ สร้างห้องสมุดจำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท บ่อน้ำบาดาล จำนวน ๑ บ่อ เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗ กองกำกับการตำรวจระเวนชายแดนที่ ๑๒ ทำการก่อสร้างอาคารโรงเก็บอุปกรณ์การเกษตร จำนวน ๑ หลัง ห้องส้วมนักเรียนขนาด ๕ ห้อง จำนวน ๑ หลัง มูลนิธิฐานเศรษฐกิจ บริจาคเงินก่อสร้างโรงเรียนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ จำนวน ๑ หลัง พร้อมพันธุ์ไก่ไข่และอาหาร เป็นเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ครูและบ้านราษฎรบ้านนาอิสานร่วมกันบริจาคเงินก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน ๑ หลัง เป็นเงินจำนวน ๒๓,๐๐๐ บาท โรงเรือนเลี้ยงเป็ด จำนวน ๑ หลัง เป็นเงินจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท สถาบันราชภัฎฉะเชิงเทรา บริจาคเงินก่อสร้างส้วมนักเรียน ขนาด ๕ ห้อง จำนวน ๑ หลัง เหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา สนับสนุนอุปกรณ์และสนามเด็กเล่นพร้อมวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นเงินจำนวน ๔๑,๖๘๐ บาท ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสนามชัยเขต บริจาคเงินก่อสร้างโรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๔๐๐ บาท และกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ สร้างแปลงปลูกผักสวนครัว จำนวน ๑๘ แปลง
    ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอิสาน มีนักเรียนชาย หญิง จำนวน ๑๔๓ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย ครูช่วยสอน ๓ คน ผู้ดูแลเด็กเล็ก ๑ คน อาคารประกอบและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ดังนี้

  • อาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง
    อาคารอเนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง
    บ้านพักครู จำนวน ๒ หลัง
    เรือนพยาบาล/ร้านค้าวสหกรณ์ จำนวน ๑ หลัง
    ห้องสมุด จำนวน ๑ หลัง
    โรงเก็บอุปกรณ์การเกษตร จำนวน ๑ หลัง
    โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ จำนวน ๑ หลัง
    โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน ๑ หลัง
    โรงเรือนเลี้ยงเป็ด จำนวน ๑ หลัง
    โรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน ๑ หลัง
    สนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์ จำนวน ๑ แห่ง
    บ่อบาดาล จำนวน ๑ บ่อ
    ส้วมนักเรียน จำนวน ๒ หลัง
    เสาธงพร้อมฐานเหล็ก จำนวน ๑ แห่ง
    ถังเก็บน้ำฝน จำนวน ๖ ถัง
    สระน้ำ จำนวน ๑ แห่ง
    ศาลาน้ำดื่มไอโอดีน จำนวน ๑ หลัง

    อาณาเขตพื้นที่ติดต่อ
    ๑. ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านเนินสะอาดหมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๔ กิโลเมตร เส้นทางคมนาคม เป็นดินใช้ได้ดีเฉพาะฤดูแล้ง
    ๒. ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อป่าอนุรักษ์แควระบมสียัด
    ๓. ทิศตะวันออก มีเนื้อที่ติดกับบ้านเนินสมพรหมู่ที่ ๘ ตำบลพระเพลิง อำเภอ กิ่งเขาฉกรรจ์
    ๔. ทิศตะวันตก พื้นที่เป็นป่ากว้างติดต่อกับบ้านนายาวหมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๕ กิโลเมตร
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอีสาน ตั้งอยู่ห่างจากแนวชายแดนด้านอำเภออรัญประเทศ ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร โรงเรียนตั้งอยู่รอยต่อระหว่างอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา กับเขตกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

    สภาพทางกายภาพ

    ลักษณะภูมิศาสตร์
    ที่ตั้ง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอีสาน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร ห่างจาก กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร
    สภาพภูมิประเทศ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอีสาน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแควระบมสียัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา ดินดีเป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกพืชสวนพืชไร่ อุดมสมบูรณ์ ได้ด้วยทรัพยากรป่าไม้ ที่มีการเพาะปลูกมาก ได้แก่มันสำปะหลัง ข้าวโพด เผือก ปอ

    ทรัพยากรธรรมชาติ

    ป่าไม้ แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้ และพื้นที่ใกล้เคียงอุดมสมบูรณ์ ป่าไม้หนาแน่นมาก เช่นไม่มะค่า ไม้พะยูง ไม้ตะแบก ไม้กระบก และป่าไม่เบญจพรรณ เป็นบริเวณกว้างขวางมาก ต่อมาถูกผู้มีอิทธิพลบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ประชาชนใพื้นที่เขตนั้นทำการแปรรูปไม้ให้ จากการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ทำให้กลับกลายเป็นป่าโปร่ง ในปัจจุบันคงเหลือป่าอนุรักษ์อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ระยะทาง ๒ กิโลเมตรไปทางทิศใต้ เรียกป่าอนุรักษ์แควระบมสียัด
    สัตว์ป่า เนื่องจากเมื่อก่อนสภาพป่าเคยเป็นป่าดิบ ทำให้มีสัตว์ป่ามากมาย เช่น ช้าง เสือ เก้งกวาง หมูป่า และนกชนิดต่าง ๆ เมื่อป่าหมดไปคงเห็นแต่กระต่ายป่า กระแต กระรอก และไก่ป่าเท่านั้น
    แหล่งน้ำ หมู่บ้านนาอีสานเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนแหล่งน้ำมาก ที่มีก็อยู่ห่างไกล เช่นคลองขนาดเล็ก ชื่อคลองไดข้าวสาร มาจากเขาจันทร์ ผ่านบ้านนาอีสาน ด้านทิศใต้ ไปบรรจบกับคลอง เต้นที่บ้านท่าเต้น กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์
    ภูเขา หมู่บ้านนาอีสาน ภูเขาอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๘ กิโลเมตร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อ เทือกเขาตระกรุบ ( ชาวบ้านเรียกว่าเขาอีสร้อย ) อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ และสัตว์ป่าหลายชนิด

    โครงสร้างการปกครอง และสังคม

    ๑. ประชากร
    ปัจจุบันหมู่บ้านนาอีสาน มีจำนวน ๑๔๘ หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่ อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดร หนองคาย ฯ ล ฯ มีสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ภาษาที่ใช้พูดเป็นภาษาท้องถิ่น หรือภาษาอีสาน ประเพณีเป็นแบบภาคอีสาน
    ๒. การแบ่งการปกครอง
    หมู่บ้านนาอีสาน แบ่งการปกครองเป็นกลุ่ม รวม ๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียงตามลำดับหมายเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ โดยมีครูตระเวนชายแดนเป็นครูที่ปรึกษากลุ่ม
    ๓. การศาสนา
    หมู่บ้านนาอีสาน มีประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง ชื่อวัดนาอีสานวนาราม
    ๔. การสาธารณสุข
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาอีสาน ได้ให้อีสาน ได้ให้บริการแจกยาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชน โดยมีครูโรงเรียนทำหน้าที่พยาบาลประจำโรงเรียน ๑ นาย เป็นผู้ให้การพยาบาล และมีอนามัยชุมชนขนาดใหญ่ ที่ให้การบริการแก่ประชาชน ซึ่งต้องอยู่ที่บ้านนายาว ห่างจากบ้านนาอีสาน ๕ กิโลเมตร

    การคมนาคม

    ในหมู่บ้านนาอีสาน มีการ คมนาคมขนส่งโดยรถโดย สารประจำทาง วิ่งระหว่างหมู่บ้าน - กิ่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ ระยะทาง๓๐ กิโลเมตรมี รถโดยสารคันเดียว อัตราค่า โดยสาร คนละ ๓๐บาท เส้นทางเป็น ทาวงลูกรังตลอดเส้นทาง และมีทางเชื่อมระหว่างหมู่ บ้านดังนี้
    หมู่บ้านนาอีสาน – บ้านนายาว เป็น ถนนลูกรังที่ใช้ได้เฉพาะ ฤดูแล้ง ระยะ ๕ กิโลเมตร
    บ้านนาอีสาน – บ้าน เนินสายฝน เป็นถนนลูกรังระยะ ทาง ๓ กิโลเมตร เป็นเส้นทางออกสู่ย่าน ศูนย์การค้า กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัด สระแก้ว
    บ้านนาอีสาน – บ้านเนินสมพร เป็น ถนนดิน ระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร ใช้ได้ดี เฉพาะฤดูแล้ง

    ตารางแสดงรายชื่อครู ปัจจุบัน

    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    ตำแหน่ง
    รับผิดชอบ
    โครงการฯ
    หมายเหตุ
    ๑) ส.ต.ท สุกัน คอมไธสง
    ครูใหญ่
    บริหาร
    - โครงการปลูกพืชล้มลุก
    - ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๒) ส.ต.ท อุทิศ สีสุ่น
    คร ู
    ป.๖
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    - กิจการนักเรียน
    ๓) ส.ต.ต สุระเดช ทัศบุตร
    ครู
    ป.๒
    -โครงการปลูกไม้ผล
    - อนุรักษ์ธรรมชาติ
    ๔) ส.ต.ต คมสัน นวลใส
    ครู
    ป.๔ - โครงการเรือนเพาะชำ
    ๕) พลฯ เฉลิมชัย สุวรรณศรี
    ครู
    ป.๓
    -โครงการสหกรณ์
    - ขยายพันธุ์หญ้าแฝก
    ๖) นายนิตร เลียนนอก
    ครู
    ป.๑- โครงการผักกางมุ้ง
    ๗) น.ส.วาสนา ชื่นมะดัน
    ครู
    ป.๔- โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง
    ๘) น.ส.วรรณภา อันปัญญา
    ครูช่วยสอน
      -โครงการควบคุมขาดสารไอโอดีน

    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ปฐมวัย
    ๑๒
    ๒๖
    ๓๘
    ประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๘
    ประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ๑๗
    ประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ๑๗
    ประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๒
    ประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๕
    ๒๐
    ประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๑
    ๒๑
    รวม
    ๖๗
    ๗๖
    ๑๓๔

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    ประจำปีงบประมาณ ๒๕๓๙
    การดำเนินงาน โครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนา ยาว และโรงเรียนบ้านนาอิสาน ตำบล ท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะ เชิงเทรา
    รับผิดชอบโครงการโดยวิทยาลัยเกษตรกรรมฉะเชิงเทรา

    ตาราง ๑ สรุปผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันประจำปีงบประมาณ ๒๕๓๙
    สถานที่ดำเนินงาน
    กิจกรรมที่ปฏิบัติ
    ระยะเวลาที่ดำเนินการ
    หมายเหตุ
    โรงเรียนตำรวจตระเวน
    ชายแดน
    ๑.โครงการเลี้ยงเป็ดไข่ ๑๒๐ ตัว๑ ต.ค. ๒๕๓๘-
    ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๙
    ประสบปัญหาเรื่อง
    ความอ่อนแอของลูก
     
    ๒.โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์
    พื้นเมือง ๑๐๐ ตัว
    ๓.โครงการเลี้ยงไก่
    เนื้อ ๑๐๐ ตัว
     
    ปลาเนื่องจากระยะใน
    การขนส่งไกล
     
    ๔.โครงการเลี้ยงปลา
    ๑๐.๐๐๐ ตัว
     
     
     
    ๕.โครงการขยายพันธ์
    ไม้ผล ๘๐๐ กิ่ง ทุกโครง
    การได้ผลดี
     
     
    โรงเรียนบ้านนาอิสานโครงการเลี้ยงปลา
    ๑๐.๐๐๐ ตัว
    โครงการประสบ
    ความสำเร็จดี
    ๑ ต.ค. ๒๕๓๘ -
    ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๙
     

       
    แหล่งอ้างอิง : กรมอาชีวศึกษา. (๒๙)
    (ฉช ท๑ ร๖๑๕ ๒๕๓๙)
    กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒. (๗๙)
    (ฉช. ท๑ น๙๖๑ ๒๕๓๘)