ประวัติโรงเรียนบ้านร่มเกล้าระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนบ้านร่มเกล้า

โรงเรียนบ้านร่มเกล้า ตั้งอยู่ หมู่ ๘ บ้านร่มเกล้า ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๒ มีชาวเขาเผ่าม้ง จากภูเขาจังหวัดน่าน อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านภูเมี่ยง บริเวณเทือกเขาภูสอยดาว เขตติดต่อไทย-ลาว ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๑๒ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าไปปลุกระดมให้เข้าร่วมเป็นผู้ก่อการร้าย ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย
ต่อมาปี ๒๕๒๔ - ๒๕๒๕ กองบัญชาการผาเมืองเผด็จศึก นำกำลังเข้าโจมตีผู้ก่อการร้ายในเขตที่มั่น ๓ จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ทำให้ชาวเขาเผ่าม้งเหล่านั้นยอมจำนนเข้ามอบตัว โดยชาวเขาบริเวณภูสอยดาวมอบตัวที่อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และทางราชการได้จัดที่ทำกินให้บริเวณบ้านร่มเกล้า
จากนั้นเดือนตุลาคม ๒๕๒๕ ศูนย์พัฒนาชาวเขาได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติงานที่บ้านร่มเกล้า ได้ช่วยเหลือในการสอนเด็กชาวบ้าน โดยจัดตั้งเป็นโรงเรียนชั่วคราวขึ้น ส่วนอาคารเรียนสร้างด้วยเสาไม้ และส่วนประกอบเครื่องบนเป็นลักษณะไม้ไผ่ ไม้ที่จัดหาได้ในท้องถิ่น หลังคามุงด้วยใบค้อ และให้ล่ามชาวเขาซึ่งเป็นลูกจ้างของหน่วยสงเคราะห์ชาวเขามาเป็นครูสอน ๑ คน ชื่อนายหลง แซ่ซ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๐ ก็มีเหตุการณ์ กองกำลังทหารต่างชาติ (ลาว) เข้าไปรุกรานที่บ้านร่มเกล้า และเหตุการณ์ได้สงบลงในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
ในระหว่างการสู้รบกันนั้น การสอนของครูสงเคราะห์ชาวเขาก็ต้องหยุดลง เมื่อเหตุการณ์สงบแล้ว ได้รับความอนุเคราะห์จากตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้ช่วยสอนแทนครูหลง แซ่ซ่ง
เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๓ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้มอบโอนโรงเรียนบ้านร่มเกล้าให้เข้าสังกัดอยู่ในความดูแลของ สปช. แต่ทาง สปช.ยังไม่ได้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของครูโรงเรียนบ้านร่มเกล้า จึงไม่มีครูมาสอนประจำ สปอ.ชาติตระการ จึงหาอาสาสมัครข้าราชการครูในสังกัดไปช่วยราชการได้ ๒ คน คือ นายอำนาจ รักประกิจ อาจารย์ ๑ โรงเรียนบ้านนาตอน และนางภิญญา วิทยาภรณ์ อาจารย์ ๑ โรงเรียนบ้านขอนสองสลึง

ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านร่มเกล้า สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ดำเนินการสอนเป็น 2 ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๑๑ ตุลาคม
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม

  • สภาพแวดล้อม
    โรงเรียนตั้งอยู่ในหมู่บ้านร่มเกล้า หมู่ที่ ๘ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จำนวน ๑๑๖ ครอบครัว ประชากรทั้งสิ้น ๙๙๑ คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่าม้ง นับถือศาสนาพุทธ, ผี ประกอบอาชีพทำไร่

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๓๔๔ คน เป็นชาย ๑๘๐ คน หญิง ๑๖๔ คน ครู ๑๑ คน นักการภารโรง ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ทำหน้าที่
    ๑. นายบรรยงค์ พาพิมพ์
    กศ.บ.
    ผู้บริหารโรงเรียน
    ๒. นางสาวพิมพ์วิภา ดีอินทร์
    กศ.ม.
    ปฏิบัติการสอน
    ๓. นางทัศนีย์&nbspชาญสูงเนิน
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๔. นายวิทยา โชติกคาม
    กศ.บ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๕. นางนัยนา คำด้วง
    กศ.บ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๖. นางสาวลำพึง กลั่นหวาน
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๗. นางสายหยุด มาประสพ
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๘. นางสาวกันยา ศรีโพธิ์
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๙. นายนคเรศ นิลวงศ์
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๑๐. นายนันกรณ์ สินเครือสวน
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน
    ๑๑. นางวิภา เลี่ยมสมบัติ
    คบ.
    ปฏิบัติการสอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    อนุบาล ๑
    ๒๓
    ๑๑
    ๓๔
    อนุบาล ๒
    ๓๐
    ๓๒
    ๖๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๔๐
    ๓๗
    ๗๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๓
    ๒๗
    ๕๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๓๖
    ๓๐
    ๖๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๔
    ๑๐
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    รวม
    ๑๘๐
    ๑๖๔
    ๓๔๔

    อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    อาคาร
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน ๑ สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
    ๓) ห้องน้ำ – ห้องสุขา สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
    ๔) บ้านพักครู สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ

    โครงการที่ดำเนินในโรงเรียน
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน ๕ ครั้ง/สัปดาห์ ให้เด็กรับประทาน
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูเวรประจำวัน ๑ คน และสตรีกลุ่มแม่บ้านวันละ ๔ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจาก สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๕๑,๖๐๐ บาท
    ได้รับนมสด UHT และนมผง จากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นอาหารเสริมสำหรับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๘๓ คน

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๕)
    (พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๓๘)