ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอาทรอุทิศระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอาทรอุทิศ

หมู่ที่ ๖ บ้านโป่งสอ ตำบลน้ำกุ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ มีนายคำม่วน คำจันดา ผู้ใหญ่บ้านนาหิน และนายฉลอง ยศปัญญา ผู้นำหมู่บ้านโป่งสอ ได้ขอให้ทาง ตชด. ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยราษฎรในหมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ มว.ตชด.๖๐๗ กก.ตชด.เขต ๖ (เดิม) สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๔ ห้องเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่.๑ - ๔
ปี พ.ศ.๒๕๑๕ นายเสน รัตพรม ได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ ไร่ ๒ งาน ให้กับทางโรงเรียน ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเงิน จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนถาวร ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๗ เมตร และเสด็จฯ ทรงเปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖ และได้ดำเนินการมาจนถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๗ จึงได้ปิดทำการสอนชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์การต่อสู้ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ทำให้ครูไม่สามารถเปิดทำการสอนนักเรียนได้
ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ กก.ตชด.เขต ๖ มีคำสั่งให้เปิดทำการสอนใหม่ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๒ การปฏิบัติงานด้านการเรียน-การสอนในระยะแรกไม่ราบรื่นมากนัก เนื่องจากสภาพการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ยังคงมีความรุนแรงอยู่ แต่ด้วยความร่วมมือจากราษฎรในพื้นที่ โรงเรียนจึงสามารถดำเนินการสอนได้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมและติดตามงานผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ ในโรงเรียน

ความเป็นมาของหมู่บ้าน
เดิมพื้นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นเขตการสู้รบระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมู่บ้านโป่งสอ มีจำนวน ๒๗ หลังคาเรือน มีประชากร รวม ๑๔๒ คน ประชากรเดิมได้อพยพมาจากบ้านแสงภา จังหวัดเลย มาตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างจากบ้านโป่งสอ ๒ กิโลเมตร เรียกว่าบ้านผางิ้ว ต่อมาจึงอพยพเข้ามาตั้งในพื้นที่ใหม่เป็นไทยลาว มีเชื้อชาติไทย นับถือศาลนาพุทธ มีอาชีพทำไร่ เป็นส่วนใหญ่ ประชาชนยากจน มีรายได้เพียงเล็กน้อย การประกอบอาชีพอื่นด้านผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ

สภาพทั่วไป
หมู่บ้านโป่งสอ เป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขา มีลำห้วยไหลผ่านหมู่บ้าน ดังนี้
๑. ลำห้วยแควน้อย เป็นลำห้วยขนาดกลางเกิดจากเทือกเขาภูไก่น้อย
๒. ลำห้วยหินปูน เป็นลำห้วยขนาดเล็ก อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ๓ กิโลเมตร ไหลไปบรรจบกับลำห้วยแควน้อย

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทือกเขาภูไก่น้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านผาหิน ตำบลน้ำกุ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทือกเขาภูขัด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทือกเขาภูเมี่ยง
ปัจจุบันหมู่บ้านโป่งสอ มีราษฎรอาศัย ๓๓ ครอบครัว ประชากร ๑๕๑ คน เป็นชาย ๗๗ คน หญิง ๗๔ คน ใช้ภาษาไทยท้องถิ่น มีสัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ

สภาพทางเศรษฐกิจ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร (ทำไร่ข้าวโพด, ถั่ว ฯลฯ) ฐานะความเป็นอยู่ยากจน

การคมนาคม
บ้านโป่งสออยู่ห่างจังหวัดพิษณุโลกประมาณ ๑๔๕ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๒.๓๐ ชั่วโมง

ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายสมบัติ รัตนพรม

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอาทรอุทิศ เปิดทำการสอนตามหลักสูตรของสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
ภาคเรียนที่ ๑ เปิดทำการสอนวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
ภาคเรียนที่ ๒ เปิดทำการสอนวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

รายการผู้ให้การสนับสนุน
๑) อาคารเรียน ขนาด ๘ x ๒๒ เมตร จำนวน ๔ ห้องเรียน - สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานเงิน
ให้ ๓๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ - ปี พ.ศ.๒๕๔๑
ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัทมิตซูบิชิ ในการเปลี่ยนหลังคา
สังกะสีใหม่ เป็นเงิน ๗๓,๙๗๒.๕๐ บาท
๒) อาคารเอนกประสงค์ ขนาด ๔.๕ x ๑๑ เมตร จำนวน ๑ หลัง - ได้รับการสนับสนุนจากงบ กชช. จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
และได้รับการสนับสนุน เงินซ่อมแซมจากคริสตคุณานุกูลมูลนิธิ
เป็นเงิน ๑๗,๖๗๕ บาท เมื่อปี ๒๕๓๙
๓) อาคารสหกรณ์ร้านค้า ขนาด ๓ x ๔ เมตร จำนวน ๑ หลัง - ได้รับการสนับสนุนจาก สหกรณ์อำเภอนครไทย
สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ในการก่อสร้างเป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท
๔) เรือนพยาบาล ขนาด ๓ x ๕.๕๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง - ได้รับงบประมาณก่อสร้าง จาก กก.ตชด.๓๑
จำนวน ๕,๐๐๐ บาท
๕) โรงอาหาร ขนาด ๓ x ๔ เมตร จำนวน ๑ หลัง - ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างจากร้อย
ตชด.๓๑๕ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
๖) ห้องน้ำ-ห้องส้วม ขนาด ๒ x ๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง - ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
พิษณุโลก งบการก่อสร้าง ๒๐,๐๐๐ บาท
๗) ถังเก็บน้ำ แบบปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เมตร
สูง ๒.๕ เมตร จำนวน ๒ ถัง
- ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างจากร้อย ตชด.๓๑๕
เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท
๘) โรงอาหาร ขนาด ๘ x ๑๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง - ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัทมิตซูบิชิ จำนวน ๑๘,๐๑๗ บาท

จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียน ๖๔ คน เป็นชาย ๔๐ คน หญิง ๒๔ คน มีข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนปฏิบัติหน้าที่
ครูผู้สอน จำนวน ๗ นาย และผู้ดูแลเด็กเล็ก จำนวน ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
ยศ – ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑. ด.ต.สุพจน์ ชูประสิทธิ์
ป.กศ.
ครูใหญ่
๒. ด.ต.ประธาน บุตรพิมพ์
มศ.๓
ครูประจำชั้น
๓. ส.ต.ท.พิษณุ สนธ์ไพบูลย์
คบ.
ครูประจำชั้น
๔. ส.ต.ต.นิยม ชัยพรมเขียว
ม.๖
ครูประจำชั้น
๕. ส.ต.ต.สมบัติ ทองแล
ม.๖
ครูประจำชั้น
๖. ส.ต.ต.ศิริพงษ์&nbap;เงื่องจันทร
ปวช.
ครูประจำชั้น
๗. ส.ต.ต.สุภิญโญ สมสาย
ปวส.
ครูประจำชั้น
๘. นางหอมหวล พิมปาน
ม.๓
ผู้ดูแลเด็กเล็ก
๙. นางวงเดือน จันทร์รักษา
ม.๓
ผู้ดูแลเด็กเล็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๒๕
๑๐
๓๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
-
รวม
๔๐
๒๔
๖๔

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๔๑
เดือน หมวด
เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กก.) ๑๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๕.๐๐ ๕๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖.๓๙ ๐.๐๐ ๒๔.๕๙ ๘๑.๙๗
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๐.๙๘ ๐.๐๐ ๒๔.๕๙ ๘๑.๙๗
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ดีมาก
มิถุนาคม ผลผลิรวม (กิโลกรัม) ๑๒.๐๐ ๐.๐๐ ๑๒.๐๐ ๗.๐๐
  ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๘.๙๔ ๐.๐๐ ๘.๙๔ ๕.๒๒
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๒๒.๓๕ ๐.๐๐ ๘.๙๔ ๕.๒๒
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๖.๐๐ ๐.๐๐ ๔๕.๐๐ ๑๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย(กรัม/คน/มื้อ) ๒๐.๓๐ ๐.๐๐ ๓๕.๑๓ ๗.๘๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๕๐.๗๔ ๐.๐๐ ๓๕.๑๓ ๗.๘๑
  ประเมินผล ดี ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๔.๐๐ ๐.๐๐ ๒๗.๐๐ ๑๙.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๑.๔๘ ๐.๐๐ ๒๒.๑๓ ๑๕.๕๗
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๒๘.๖๙ ๐.๐๐ ๒๒.๑๓ ๑๕.๕๗
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙.๐๐ ๐.๐๐ ๖๔.๐๐ ๑๖.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖.๗๑ ๐.๐๐ ๔๗.๖๙ ๑๑.๙๒
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๖.๗๗ ๐.๐๐ ๔๗.๖๙ ๑๑.๙๒
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง

หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
> ๗๕% = ดีมาก
> ๕๐% - ๗๕% = ดี
> ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
< ๒๕% = ปรับปรุง

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๒)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ๑
ระดับ๒
ระดับ๓
รวม
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๓๒
๓๒
๓๒
๐.๐๐
ดีมาก

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๒
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๓
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๔
๑๑.๑๑
ดี
ประถม ๕
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๖
๐.๐๐
ดีมาก
รวม
๒๙
๒๙
๒๘
๓.๔๕
ดีมาก

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๙
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
๓) นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๔๐
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
๓) นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๔๑
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
๓) นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๘๙)
(พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๔๒)