ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโนนสำราญระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตารางแสดงจำนวนนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโนนสำราญ

ตั้งอยู่ หมู่ที่๗ ตำบลโสกกาม อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโนสำราญ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๘ โดยชาวบ้านได้สละเงิน จำนวน ๘๕๐ บาท เพื่อซื้อที่ดินสร้างโรงเรียน อาคาร เรียนเป็นอาคารชั่วคราว กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๑ เมตร มุงสังกะสี พื้นติดดินมีนักเรียนจำนวน ๘๕ คน มีหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๒๒ โดยร้อยตำรวจตรีพีระ ศรีทาราช เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง และเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ โดยจ่าสิบตำรวจเลิศ มุงคุณ และ พลฯ วงศ์สอน ทำหน้าที่ครู เปิดทำการสอนเมื่อ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๑๘
ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๑ จ่าสิบตำรวจเลิศ มุงคุณ ได้ย้ายไป และทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๔ (สมันนั้น) แต่งตั้งให้จ่าสิบตำรวจชาย สมศรีสุข มาปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่แทน เห็นควรว่าจะขยายสถานศึกษาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป จึงได้ประชุมปรึกษาหารือราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อที่จะจัดสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ จะได้รวบรวมนักเรียนทั้งสองหมู่บ้าน คือ บ้านโนสำราญ และการเรียน ราษฎรทั้งสองหมู่บ้านได้สละเงินจำนวน ๖,๐๐๐ บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินแห่งใหม่ ระหว่างเส้นทางบ้านโนสำราญ และบ้านยางเรียน มีเนื้อที่กว้าง ๔ เส้น ยาว ๕ เส้น เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๔ โดยครูใหญ่ขณะนั้นคือจ่าสอบตำรวจวิชิต แสงจักรวาฬ เปิดทำการสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ ตามโครงการพระราชดำริฯ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโนสำราญ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดหนองคาย เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านโนสำราญ และบ้านยางเรียน ดำเนินการสอน เป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๗ ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๗ ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๘๕ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๑๔ คน เป็นชาย ๑๑๒ คน หญิง ๑๐๒ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ ทำหน้าที่
    ๑) ด.ต. รังสรรค์ ตรีนนท์ ค.บ. ครูใหญ่
    ๒) ด.ต. วิชิต แสงจักรวาฬ ม.ศ.๓ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๓) ด.ต. ชาญยุทธ เจนด่านกลาง ม.ศ.๓ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๔) จ.ส.ต.สุทธิพจน์ จันทิมาธร ม.ศ.๓ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๕) จ.ส.ต. โฮฬาร คำผุย ม.ศ.๕ ครูวิชาการ, ธุรการ - การเงิน
    ๖) จ.ส.ต. คมพิเชฐ์ แสนดี พ.กศ. ครูประจำชั้นเด็กเล็ก
    ๗) ส.ต.ต. พัฒนา มะลิทอง ปวช. ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๘) ส.ต.ต. ศิวรักษ์ โสมี ม.๖ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๙) ส.ต.ต. สมชาย ใต้เมืองปักต์ ม.๖ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๒
    ๑๙
    ๔๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๗
    ๑๗
    ๓๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๕
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๙
    ๑๕
    ๓๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๘
    ๑๐
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๑๔
    ๒๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    ๑๒
    ๒๗
    รวม
    ๑๑๒
    ๑๐๒
    ๒๑๔

    โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการ
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ. ๒๕๓๙)

    งานด้านอาหารและโภชนาการและสุขภาพอนนามัย
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ส.ต.ต. พัฒนา มิลิทอง
    ผู้ดำเนินงานโครงการ คือ เกษตรตำบลโสกก่าม, เกษตรอำเภอเซกา

    ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
    กิจกรรม
    ผลการดำเนินงาน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑.  การปลูกพืชผัก
    ผักบุ้งจีน ๔๐ แปลง อื่น ๆ ๖๕
    แปลง สามารถนำผลผลิตไป
    ประกอบอาหารได้
    เกษตรตำบลโสกกาม
    เกษตรอำเภอเซกา
    วิทยาลัยเกษตรกรรมอุดรธานี
    ๒. การปลูกพืชไร่
    ข้าวโพด และกล้วย เกษตรอำเภอเซกา
    ๓.  การปลูกไม้ผล
    มะม่วง ๑๑๒ ต้น,
    ขนุน ๗ ต้น
    เกษตรอำเภอเซกา
    วิทยาลัยเกษตรกรรมอุดรธานี
    ๔. การเลี้ยงสัตว์
    วัว ๔ ตัว
    ไก่พันธุ์เนื้อ ๑๐๐ ตัว
    ปลา ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตัว
    - ปศุสัตว์อำเภอเซกา
    - วิทยาลัยเกษตรกรรมอุดรธานี
    - สถานีประมงจังหวัดหนองคาย
    ๕. การถนอมอาหาร
    หน่อไม้ดอง ๒๐๐ ขวด
    มะม่วงดอง ๓ โอ่ง
    ไข่เค็ม ๕๐๐ ฟอง
    - เกษตรอำเภอเซกา
    - เกษตรตำบลโสกก่าม
    - เคหะกิจการเกษตรอำเภอเซกา
    ๖. การเฝ้าระวัง
    นักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์
    มาตรฐาน จำนวน ๕๕ คน
    - โรงพยาบาลเซกา
    - สถานีอนามัยตำบลโสกก่าม
    - กก.ตชด.๒๔

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
    ๑. เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๑๓,๐๒๐ บาท
    ๓. ต้นพันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์พืช ๑ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์พืช ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๘๓)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๓๗)