ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวงระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวง

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านนาแวง ตำบลนาสวรรค์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ ราษฎรบ้านนาแวงได้เล็งเห็นถึงความลำบากของบุตรหลาน ที่ต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่บ้านหนองตอ ตำบลนาสวรรค์ เป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร ซึ่งช่วงฤดูฝนการเดินทางลำบากและอันตราย เป็นเหตุให้นักเรียนขาดเรียนบ่อย มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงได้ประสานกับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔๔ เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวงขึ้น แต่เนื่องจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ยังไม่พร้อมที่จะเปิดทำการเรียนการสอน จึงเลื่อนมาเปิดทำการเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙
สำหรับสถานที่ที่ใช้ในการจัดตั้งโรงเรียน นายอิสระ สุฤทธิ์พงษ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองตอ ได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๑๕ ไร่ และชาวบ้านบ้านนาแวงได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินสมทบอีก จำนวน ๑๐ ไร่ รวมเป็น ๒๕ ไร่ จากนั้นได้ช่วยกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร

ความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ มีราษฎรจากบ้านหนองตอ ตำบลนาสวรรค์ อำเภอบึงกาฬ จำนวน ๖ ครอบครัว ได้อพยพครอบครัวไปปลูกกระท่อมอยู่ตามไร่ - นาของตนเอง บริเวณลำห้วยบ้าน และข้างๆ ดานนาแวง (ที่ตั้งวัดดานปัจจุบัน)
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองตอ ได้ชวนเพื่อนบ้านบ้านหนองตออีก ๕ ครอบครัว ไปสมทบและปลูกบ้านเรือนเพิ่ม รวมเป็น ๑๑ ครอบครัว (ปัจจุบันเป็นบ้านนาแวง)
หลังจากนั้นได้มีครอบครัวอื่นๆ อพยพเข้าไปมาอยู่เรื่อยๆ จนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่า "บ้านนาแวง" เหตุที่เรียกเพราะว่าตามที่ราบลุ่มริมห้วยบ้าน (อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน) เป็นที่นามีต้นผือ ต้นแวง ที่ใช้ทอเสื่อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อบ้านตามที่นานั้นว่า "บ้านนาแวง"

การคมนาคม
เส้นทางเข้า - ออกของหมู่บ้าน มี ๓ เส้นทาง คือ
เส้นทางจากบ้านดอนอุดม ถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวง ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๑๓ กิโลเมตร ลูกรัง ๒ กิโลเมตร
เส้นทางจากแยกบ้านไคสี ถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวง ระยะทาง ๒๓ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง
เส้นทางจากทางแยกบ้านห้วยสะอาด ถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวง ระยะทาง ๗ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากร จำนวน ๓๑๗ คน เป็นชาย ๑๖๖ คน หญิง ๑๕๑ คน แยกเป็น ๗๒ หลังคาเรือน

การประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และรับจ้าง

ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายอำนาจ เหาะสูงเนิน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวง เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่ จำนวน
    ๑. อาคารเรียน ๑ หลัง
    ๒. บ้านพักครู ๒ หลัง
    ๓. อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง
    ๔. ห้องพยาบาล, ห้องสหกรณ์ ๑ หลัง
    ๕. โรงเก็บวัสดุการเกษตร ๑ หลัง
    ๖. เล้าเป็ด ๑ หลัง
    ๗. เล้าไก่ ๑ หลัง
    ๘. เล้าหมู ๑ หลัง
    ๙. เรือนเพาะชำ ๑ หลัง
    ๑๐. เรือนเพาะเห็ด ๑ หลัง
    ๑๑. ห้องน้ำ - ห้องสุขา ๒ หลัง
    ๑๒. ถังเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ๑ หลัง
    ๑๓. คอกปุ๋ยหมัก ๑ หลัง

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๔๙ คน เป็นชาย ๒๔ คน หญิง ๒๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑) จ.ส.ต.อำนวย มีดินดำ น.บ. ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต.สุนทร สามะ พ.กศ. ครูผู้สอน
    ๓) จ.ส.ต.ประดิษฐ์ ประวันโต ป.กศ. ครูผู้สอน
    ๔) จ.ส.ต.วิทยา บุษราคัม ป.กศ. ครูผู้สอน
    ๕) ส.ต.ท.วุฒิพงษ์ พิมดา ม.๖ ครูผู้สอน
    ๖) ส.ต.ท.วัฒนา วาจารัตน์ ม.๖ ครูผู้สอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๒๔
    ๒๕
    ๔๙

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ คณะครูและนักเรียน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ วิทยาลัยเกษตรกรรม
    อุดรธานี เกษตรอำเภอบึงกาฬ เกษตรตำบลนาสวรรค์ เคกิจการเกษตร สถานีประมงจังหวัดหนองคาย
    กิจกรรมและการดำเนินการ เพื่อนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน และนำไปรับประทานที่บ้าน มีดังนี้
    พืชผักสวนครัว ได้แก่ ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม หอม ผักกวางตุ้ง คะน้า บวบ ผักกาหอม มะเขือเทศ รวม ๗๓ แปลง และพริก ฟัก ตำลึง มะเขือ ฟักทอง รวม ๓๓๑ หลุม
    พืชสวน ได้แก่ มะละกอ ๑๔๐ ต้น
    ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง ๑๐๐ ต้น ขนุน ๒๐๐ ต้น มะขามหวาน ๘ ต้น น้อยหน่า ๓๑ ต้น ลิ้นจี่ ๗ ต้น ฝรั่ง ๗ ต้น
    การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พันธุ์ไข่ ๙๗ ตัว ไก่พันธุ์เนื้อ ๑๕ ตัว เป็ด ๕๐ ตัว ปลา ๑,๐๐๐ ตัว
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ คณะครู แม่บ้านนาแวง และผู้ปกครอง
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริม นมสม UHT นมผงพระราชทาน แป้งถั่วเหลืองพระราชทาน

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ครั้งที่ ๑)

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๑
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๒
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๑๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๔๕
    ๓๙
    ๓๕
    ๑๐.๒๖
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๑๐๐)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๓ ๒๕๓๙)