ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขาตันหยงมิตรภาพที่ ๑๕๓ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขาตันหยงมิตรภาพที่ ๑๕๓

หมู่ที่ ๔ บ้านเขาตันหยง ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แล้วขยายจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ปี พ.ศ.๒๕๐๖ สร้างอาคารใหม่เพิ่มอีก ๒ ห้องเรียน ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบภูเก็ตเพิ่มอีก ๔ ห้องเรียน จึงขยายเปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ปี พ.ศ.๒๕๑๖ มูลนิธิมิตรภาพไทย - อเมริกัน ให้งบประมาณสร้างอาคาร จำนวน ๑ หลัง ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียน จึงขยายเปิดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างอาคารเรียนให้ ๑ หลัง ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียน ๑ ห้องทำงานครู

ระบบการศึกษา
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๓ ขวบ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน คือ
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด วันที่ ๑๖ พฤษภาคม - ๑๑ ตุลาคม
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด วันที่ ๑ พฤศจิกายน - ๑ เมษายน

  • จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๓๖๓ คน เป็นชาย ๑๘๓ คน หญิง ๑๘๐ คน มีครู ๑๗ คน ผู้ช่วยครู ๑ คน นักการภารโรง ๒ คน วิทยากรอิสลามฯ ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. นายทวี หนูวุ่น
    คบ.
    ผู้บริหารโรงเรียน
    ๒. นางนิลรัตน์ เกียรติเจริญสุข
    คบ.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑
    ๓. นางนิตยา แก่นทอง
    คบ.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๔. นางสุขุมา พูนสวัสดิ์
    พม.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๕. นางบุญให้ อ่อนเกตุพล
    คบ.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๖. นางอวบ ชูไพบูลย์
    ศษ.บ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. นายเจ๊ะยูโซ๊ะ อาแว
    ศษ.บ.
    ประจำวิชา
    ๘. นางวารี รัตนพยัต
    คบ.
    ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
    ๙. นายยรรยง แซ่หง่าน
    ศษ.บ.
    ประจำวิชา
    ๑๐. นายสืบสรวง พันธุ์ยานุกูล
    คบ.
    ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑. นางโนรอัยนี เซะบารู
    กศ.บ.
    ประจำวิชา
    ๑๒. นางสมพร เรืองสุวรรณู
    คบ.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๒
    ๑๓. นางอารี มาสะอีดำ
    คบ.
    ประจำชั้นอนุบาล
    ๑๔. นางวีณา บัญละเอียด
    คบ.
    ประจำชั้นอนุบาล
    ๑๕. นางสาวระนอง หนูราช
    คบ.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๖. นางสาวิตรี โคตรพัฒน์
    ศศ.บ.
    ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๗. นายอนุวัฒน์ อามีเราะ
    ศศ.บ.
    ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๔๐
    ๔๔
    ๘๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๓๘
    ๒๘
    ๖๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๘
    ๑๓
    ๓๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ๑๘
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๒
    ๑๓
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ๑๒
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    ๒๐
    ๓๕
    รวม
    ๑๔๕
    ๑๔๘
    ๒๙๓
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๙
    ๑๖
    ๓๕
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๙
    ๒๖
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ๑๙
    รวม
    ๓๘
    ๓๒
    ๗๐

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายยรรยง แซ่หง่าน
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ นายทวี หนูวุ่น
    หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เกษตรจังหวัด ประมงจังหวัด
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร และน้ำดื่ม บ่อน้ำโรงเรียน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ แม่ครัว และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ - มัธยมศึกษาปีที่ ๑
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๓๑ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก สปช. จำนวน ๑๔,๓๖๒ กล่อง
    ๒. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓๔๐ กิโลกรัม
    ๓. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๖๕๐ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่มวันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวัน ช่วงเช้า
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวัน ช่วงบ่าย

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๕.๓๐
    ๒.๐๑
    ๒.๐๑
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๓๐.๐๐
    ๔.๘๘
    ๑๒.๑๙
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๑.๑๑
    ๑.๗๙
    ๑.๗๙
    ปรับปรุง
    ๘.๗๐
    ๑.๔๑
    ๑.๔๑
    ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    เด็กเล็ก
    ๘๔
    ๕๗
    ๓๙
    ๑๘
    -
    -
    ๑๘
    ๓๑.๕๗

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประถม ๑
    ๖๖
    ๖๑
    ๓๓
    ๒๘
    ๔๕.๙๐
    ประถม ๒
    ๓๑
    ๓๑
    ๒๑
    ๑๐
    ๓๒.๒๖
    ประถม ๓
    ๒๘
    ๒๘
    ๒๐
    ๒๘.๕๗
    ประถม ๔
    ๒๕
    ๒๕
    ๑๕
    ๑๐
    ๔๐.๐๐
    ประถม ๕
    ๒๔
    ๒๓
    ๒๐
    ๑๓.๐๔
    ประถม ๖
    ๓๕
    ๓๑
    ๒๙
    ๖.๔๕
    รวม
    ๒๐๙
    ๑๙๙
    ๑๓๘
    ๖๑
    ๓๐.๖๕

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๘
    แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๕๒๐ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๕๒๐ กิโลกรัม
    นมผง ๒ งวด จำนวน ๔๕๐ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๓๕ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๓๕ กิโลกรัม
    นมผง ๓ งวด จำนวน ๔๕๐ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๐๕ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๐๕ กิโลกรัม
    นมผง ๒ งวด จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๙๗)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๒๑ ๒๕๔๐)