ประวัติโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
เดิมชื่อโรงเรียนบ้านสะปอม ใช้บาลาเซาะ (สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม) เป็นที่ทำการเรียนการสอน ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๑ ราษฎรในท้องถิ่นร่วมกันบริจาคทรัพย์และก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น บนที่ดินของมัสยิดบ้านใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านใหม่" ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๗ ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน (แบบกรมสามัญเดิม) จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท ซึ่งย้ายมาก่อสร้างบนที่ดินที่สงวนไว้เพื่อก่อสร้างสถานศึกษา จำนวน ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๔๖ ตารางวา ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๗ (แบบไทยรัฐวิทยา) จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๑,๓๗๐,๐๐๐ บาท (ใต้ถุนโล่ง) โดยรื้ออาคารเรียนถาวร ออกจำนวน ๒ ห้อง แล้วนำวัสดุไปสมทบกับเงินบริจาคก่อสร้างอาคารโรงอาหาร ๑๓ มีนาคม ๒๕๒๕ ทำพิธีเปิดป้ายและส่งมอบอาคารเรียน และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มอบเงินสด ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจดทะเบียนเป็นเงินทุนมูลนิธิโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐ (บ้านใหม่) ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๕ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมอบเงินสดสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ บาท และได้ดำเนินการจดทะเบียนก่อตั้งเป็นมูลนิธิกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๘ ๕ กันยายน ๒๕๓๑ มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สนับสนุนเงินงบประมาณ จำนวน ๓๑๔,๐๐๐ บาท ให้ต่อเติมอาคารเรียน ๐๑๗ ชั้นล่าง จำนวน ๔ ห้องเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๑ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๖ โรงเรียนถูกลอบวางเพลิงอาคารเรียน คิดเป็นมูลค่าแห่งความเสียหาย ๑๒๑,๐๘๐ บาท มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้สนับสนุนงบประมาณซ่อมแซมอาคาร จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมโต๊ะนักเรียนชนิดนั่งเดี่ยว จำนวน ๑๕๐ ชุด
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ตั้งอยู่ริมทะเลอ่าวไทย ประชาชนส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดปัตตานี จังหวัดราธิวาส และที่อื่นๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้าน

การคมนาคม
หมู่บ้านมีทางหลวงจังหวัดนราธิวาส - ตากใบ ตัดผ่าน

จำนวนประชากร
มีประชากร ประมาณ ๑,๑๐๐ คน แยกเป็น ๑๑๑ ครัวเรือน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง, ประมงชายฝั่ง และประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น เลี้ยงปลา อุตสาหกรรมในครัวเรือน (ทำข้าวเกรียบปลา) มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๑๐,๐๐๐ บาท/เดือน

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน    นายมะฮัสตี    มะแซสะอิ
ผู้ใหญ่บ้าน   นายสะอิ    บินสุหลง

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
- การแก้ปัญหาการว่างงาน
- การส่งเสริมอาชีพ
- การสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อม
- อนามัยชุมชน
- สุขภาพและคุณภาพชีวิต

ระบบการศึกษา
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐ (บ้านใหม่) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัด นราธิวาส
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านบ้านใหม่ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑.อาคารแบบภูเก็ต กรมสามัญศึกษา
    ๒.อาคารเรียนแบบ ๐๑๗ มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
    ๓. อาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๒/๒๕๒๖ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
    ๔. อาคารเอนกประสงค์ แบบอื่นๆ มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๕ คน มีครู ๑ คน ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๒๐๑ คน เป็นชาย ๙๙ คน หญิง ๑๐๒ คน มีครู ๑๐ คน นักการภารโรง ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. นายสุเทพ จันทร์รัตน์
    กศ.บ
    อาจารย์ใหญ่
    ๒. นางสาวนรมาน หะยีดอเลา
    ค.บ
    โครงการอาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๓. นางประไพ ศรีสุรัตน์
    อ.ศศ.บ.
    โครงการอาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๔. นางสุขุมาลย์  อินทรเพชร
    ค.บ
    โครงการห้องสมุด
    ๕. นางอุไร  ปิ่นคำ
    ค.บ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖. นางศรีเพ็ญภา  พรหมอ่อน
    ค.บ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. นางเดือนเพ็ญ พิมานแมน
    ศษ.บ.
    โครงการอาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๘. นางเพ็ญศรี วงศ์ประดิษฐ์
    ค.บ.
    โครงการห้องสมุดโรงเรียน
    ๙. นางจรรยา พรหมพูล
    ค.บ.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๑๐. นายสว่าง รัตนพิพัฒน์
    ศศ.บ.
    โครงการอาหารกลางวัน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๘
    ๒๓
    ๕๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๐
    ๑๑
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๙
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๒
    ๑๐
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๙
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๗
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    ๑๕
    ๓๐
    รวม
    ๙๙
    ๑๐๒
    ๒๐๑

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อจำนวน ๕๖ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๖ คน

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายสว่าง รัตนพิพัฒน์

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง, สำนักงานเกษตรจังหวัดราธิวาส, สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ราธิวาส, สำนักงานประมงจังหวัดราธิวาส และ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราธิวาส แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาหมู่บ้าน และบ่อน้ำตื้น
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม ประปาหมู่บ้าน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูผู้รับผิดชอบ, ผู้ช่วยแม่ครัว และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ - ๖
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๙๓
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จาก กรมอนามัย จำนวน ๓๓,๑๐๗ กล่อง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ ถึงวันศุกร์
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ ถึงวันศุกร์
    ๓. นมสด ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ ถึงวันศุกร์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์(ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    อนุบาล
    ๕๑
    ๔๗
    ๓๘
    ๑๙.๑๕
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๘
    ๑๔.๒๙
    ดี
    ประถม ๒
    ๒๕
    ๒๕
    ๒๕
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๒
    ๒๒
    ๑๘
    ๑๘.๑๘
    ดี
    ประถม ๔
    ๒๖
    ๒๖
    ๒๓
    ๑๔.๕๔
    ดี
    ประถม ๕
    ๒๖
    ๒๖
    ๑๙
    ๒๖.๙๒
    พอใช้
    ประถม ๖
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๘
    ๖.๖๗
    ดีมาก
    รวม
    ๑๕๐
    ๑๕๐
    ๑๓๑
    ๑๙
    ๑๒.๖๗
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๘
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๑๑๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๑๑๐ กิโลกรัม
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๗๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๗๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๓๕๐ กิโลกรัม
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๖๔)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๒๒ ๒๕๔๑)