ประวัติโรงเรียนวัดเขาน้อย (ศิลาทองวิทยาคาร)
  ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนวัดเขาน้อย (ศิลาทองวิทยาคาร)

หมู่ที่ ๒ บ้านเขาน้อย ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
โรงเรียนวัดเขาน้อย (ศิลาทองวิทยาคาร) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ เดิมมีชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาล ตำบลพรหมณี ๒ (ศิลาทองวิทยาคาร) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ใช้ศาลาการเปรียญของวัดเขาน้อยเป็นสถานที่เรียน ดำรงอยู่ได้ด้วยเงินบำรุงการศึกษา และ ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนวัดเขาน้อย (ศิลาทองวิทยาคาร) จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันผู้บริหารคือ นายจิติศักดิ์ อิ่มเจริญ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ โรงเรียนมีอาคารเรียน ๓ หลัง อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง หอประประชุม ๑ หลัง
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่ ๓ งาน ๗๔ ตารางวา

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนวัดเขาน้อย (ศิลาทองวิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จังหวัดนครนายก เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๘ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านเขาน้อย และหมู่บ้านป่าสัก ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗

จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๖) มีนักเรียน ๑๓๑ คน เป็นชาย ๗๒ คน หญิง ๕๙ คน มีครู ๑๐ คน ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๖
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๒
๑๓
๒๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๔
๑๑
๒๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๗
๒๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๕
รวม
๗๒
๕๙
๑๓๑

การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๓ - ๒๕๔๖ )
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๓ - ๒๕๔๕ แล้ว จำนวน ๔๐ คน เข้ารับการศึกษาต่อทั้งหมด

การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ นาง ละอองแก้ว สุวรรณวงค์
ผู้ดำเนินงานโครงการ คือ นาง ละอองแก้ว สุวรรณวงค์
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนสำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม ประปาหมู่บ้าน
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง /สัปดาห์ โดยได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ ในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ บุคลากรในโรงเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละละ ๐๖.๒๐
    การให้อาหารเสริม ให้เด็กดื่มนมถั่วเหลือง ขนมหวาน ผลไม้ ข้าว แก่นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

  • แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๖)
    (นย. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๖)