ประวัติโรงเรียนวัดหนองเตย ตั้งตรงจิตร ๘การดำเนินโครงการ
  ข้อมูลนักเรียน
  ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนวัดหนองเตย ตั้งตรงจิตร ๘

หมู่ที่ ๖ บ้านท้ายเกาะ ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
โรงเรียนวัดหนองเตย ตั้งตรงจิตร ๘ เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาล ตำบลพรหมณี ๑ วัดหนองเตย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
พ.ศ.๒๕๐๒ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัดหนองเตย (หนองเตยวิทยาคม) น.ย.๑๖
พ.ศ.๒๕๐๔ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัดหนองเตย ตั้งตรงจิตร ๘
ปัจจุบันเปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนวัดหนองเตย ตั้งตรงจิตร ๘ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านหนองเตย ท้ายเกาะ วังต้น และหนองสะแก ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ถึง ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๕

จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด ๑๖๕ คน เป็นชาย ๘๑ คน หญิง ๘๔ คน มีครู ๘ คน ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๐
๑๗
๒๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๘
๑๑
๒๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๓
๑๓
๒๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
๑๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๕
๑๕
๓๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
๑๖
รวม
๘๑
๘๔
๑๖๕

การศึกษาต่อของนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๓ จำนวน ๑๐๔ คน และศึกษาต่อทั้งหมด

การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ นางศรีสุนทร เจริญวัย
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สำนักงานเกษตรจังหวัด กรมสัตว์ทหารบก (จปร.)
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร บ่อน้ำบาดาลของโรงเรียน
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำประปาบ้านนา มีเครื่องกรองน้ำ
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ จ้างแม่ครัว ครูเวร และนักเรียน ๕ คน / วัน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๙๗
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการดังนี้
    ๑. ให้นักเรียนดื่มนมถั่วเหลืองทุกวัน เวลา ๑๔.๓๐ น.
    ๒. ให้นมโคของทหารบกและขนมหวานประเภทถั่ว ช่วงเวลารับประทานอาหารกลางวัน
    ๓. ให้ผลไม้และอาหารแปรรูปหลังอาหารกลางวัน

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    ร้อยละน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
    เด็กเล็ก
    ๒๗
    ๒๗
    ๒๗
    ๐.๐๐

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    ร้อยละน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
    ประถม ๑
    ๒๙
    ๒๙
    ๒๗
    ๖.๙๐
    ประถม ๒
    ๒๖
    ๒๖
    ๒๔
    ๗.๖๙
    ประถม ๓
    ๒๐
    ๒๐
    ๒๐
    ๐.๐๐
    ประถม ๔
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๖
    ๕.๘๘
    ประถม ๕
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๙
    ๓.๓๓
    ประถม ๖
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๖
    ๐.๐๐
    รวม
    ๑๓๘
    ๑๓๘
    ๑๓๒
    ๓.๙๗

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๘๑)