ประวัติโรงเรียนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ ๒ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ ๒

หมู่ที่ ๕ บ้านปุงยาม ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โรงเรียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๔ โดยเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน ตามที่ราษฎรได้ร้องขอ และได้จัดสร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังคามุงแฝก ฝาใช้ไม้ไผ่ขัดแตะ มีจำนวนนักเรียนรวม ๔๑ คน แยกเป็นชาย ๒๔ คน หญิง ๑๗ คน และ จ.ส.ต.เกษม บุญเรือง ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียน ตชด.บ้านปุยาม วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๕ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยกรุงเทพฯ ได้บริจาคเงินจำนวน ๓๓๕,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนถาวร ๑ หลัง ขนาด ๖ ห้องเรียน กว้าง ๙ เมตร ยาว ๕๔ เมตร สูง ๖ เมตร บ้านพักครู ห้องน้ำและห้องส้วม วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๖ เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียน ตชด.บ้านปุยาม" เป็น "โรงเรียน ตชด.ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์" ตามชื่อชมรมของผู้บริจาค เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริ โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ปาฝั่งขวาตอนล่าง จำนวนพื้นที่ ๒๐ ไร่

การคมนาคม
ระยะทางจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงหมู่บ้าน ๑๙๘ กิโลเมตร (ถนนราดยาง ๑๖๕ กิโลเมตร ถนนดิน ๓๓ กิโลเมตร)
ระยะทางจากจังหวัดแม่ฮ่อสอนถึงหมู่บ้าน ๗๕ กิโลเมตร (ถนนราดยาง ๔๒ กิโลเมตร ถนนดิน ๓๓ กิโลเมตร)

จำนวนประชากร
มีจำนวน ๗๓ หลังคาเรือน ประชากร ๓๒๘ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ และทำนา รายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๖,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ บาท/ปี

เชื้อชาติ - ศาสนา
ราษฎรมีเชื้อชาติไทยใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือภาษาไทย และภาษาไทยใหญ่

ผู้นำหมู่บ้าน
นายวิหริ่ง วราฤทธิ์หิรัญกุล ผู้ใหญ่บ้าน

ข้อมูลหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านดอยคู มีประชากร ๑๔๖ คน แยกเป็น ๓๑ ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา รายได้เฉลี่ยครอบครัว ๕,๐๐๐ บาท/ปี เชื้อชาติไทยใหญ่ ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ภาษาไทย และภาษาไทยใหญ่

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
จำนวน
๑. อาคารเรียน ๑ หลัง
๒. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ห้องพักครู และห้องพยาบาล ๑ หลัง
๓. อาคารโรงอาหาร ๑ หลัง
๔. ห้องน้ำ - ห้องส้วม กก.ตชด. ๒๒
๕. อาคารบ้านพักนักเรียนบ้านไกล ๑ หลัง
๖. บ้านพักครู ๑ หลัง
๗. อาคารห้องน้ำ - ห้องส้วม ๑ หลัง

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ ๒ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านปุยาม และบ้านดอยคู ดำเนินการสอนเป็น๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๘ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓

  • ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๑
    ๑๗
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๕๐
    ๕๓
    ๑๐๓

    การดำเนินโครงการ
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ชัยณรงค์ มอแปล  และ ส.ต.อ.สุริยัน แพงคำ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอปางมะผ้า, สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอปางมะผ้า, สำนักงานประมงจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๒
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๓๕
    ๓๑
    ๓๑
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๓
    ๑๑
    ๑๐
    ๙.๐๙
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๑๘
    ๑๖
    ๑๕
    ๖.๒๕
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๑๖
    ๑๑
    ๑๐
    ๙.๐๙
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๒
    ๑๑
    ๑๑
    ๐.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๖๙
    ๕๗
    ๕๔
    ๕.๒๖
    ดีมาก

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ๑. ข้าว จำนวน ๓๙๐ กิโลกรัม
    ๒. มาม่า จำนวน ๑,๙๗๐ ซอง
    ๓. ยาเสริมธาตุเหล็ก จำนวน ๖๖ ขวด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๙)