ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่ลางิ้ว ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่ลางิ้ว

หมู่ที่ ๑๒ บ้านแม่ลางิ้ว ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๒๕ ผู้ใหญ่บ้านแม่ลางิ้ว พร้อมด้วยราษฎรในหมู่บ้าน ได้ทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๕ (เดิม) เพื่อจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นในหมู่บ้าน โดยได้สร้างอาคารเรียนแบบชั่งคราวหลังคามุงแฝก ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๘ เมตร ไม่มีฝา โต๊ะ – เก้าอี้ของนักเรียนทำด้วยวัสดุในพื้นที่ฝังติดดิน
วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕ โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก
วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ กก.ตชด.เขต ๕ (เดิม) ได้สนับสนุนเงินงบประมาณในการจัดสร้างศาลาประชาคมขึ้น ๑ หลัง ขนาด กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ กก.ตชด.เขต ๕ (เดิม) ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนแบบถาวรขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร
เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริ
โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์แม่ยมฝั่งขวา จำนวนพื้นที่ ๑๒ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่ลางิ้ว สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี ๒๕๒๕ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๘ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๓ คน มี ส.ต.ท.จำนงค์ ปัญญาแก้ว เป็นครูใหญ่ ปัจจุบันมีนักเรียน ๔๔ คน เป็นชาย ๒๔ คน หญิง ๒๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    รวม
    ๒๔
    ๒๐
    ๔๔

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.สุรพล รินแก้ว และ ส.ต.อ.วิชัย ในกุณา
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ลาน้อย, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่ลาน้อย, สำนักงานประมงจังหวัดแม่ฮ่อง
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์(ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐.๐๐
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๖
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๓๔
    ๓๔
    ๓๓
    ๒.๙๔
    ดีมาก

    สภาพปัญหา
    ๑. การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน เนื่องจากผู้ปกครองมีฐานะยากจน
    ๒. กรรมพันธุ์
    ๓. การระบาดของเชิ้อไข้มาลาเรีย (ในปีการศึกษาที่ผ่านมามีนักเรียนป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ๑๖ คน)

    แนวทางแก้ไข
    ๑. ให้รักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ดื่มนมกล่องเพิ่ม และให้อาหารเพิ่ม เช่น ไข่ และเนิ้อสัตว์
    ๒. แนะนำผู้ปกครองนักเรียน ให้จัดหาอาหารที่มีคุณค่าให้นักเรียนบริโภคอย่างต่อเนื่อง

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๙)