โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร ๘ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร ๘

หมู่ที่ ๑๔ บ้านน้ำยอน (บ้านร่มไทย) ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ ราษฎรชาวไทยใหญ่บ้านน้ำยอน จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำหนังสือร้องขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๕ (เดิม) จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อให้บุตรหลานของตนได้มีสถานที่เรียนหนังสือ โดยทางราษฎรได้ร่วมกันบริจาคเงินและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง และร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๓ ห้องเรียน ในพื้นที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๘๓ ตารางวา ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๑๙ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๐ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริ ปี พ.ศ.๒๕๓๔ สโมสรไลออนส์มหาจักร ได้บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๓๖ เมตร เป็นอาคารถาวรชั้นครึ่ง จำนวน ๘ ห้องเรียน วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๔ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๐ เป็น "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร ๘" ตามนามของสโมสร ไลออนส์มหาจักร ที่ได้บริจาคเงินในการก่อสร้างอาคารเรียน วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๔๒ ได้ทำพิธีมอบโอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสโมสรไลออนส์มหาจักร ๘ ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยรับโอนในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ผู้บริหารโรงเรียน นายชลอ ช่างสกุล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๔ ไร่ ๑ งาน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชัน ลักษณะหมู่บ้านแบ่งเป็น ๒ หย่อมบ้าน คือ บ้านน้ำยอน และบ้านแก่งทรายมูล

การคมนาคม
ระยะทางจากศาลากลางจังหวัด ถึงโรงเรียน ๑๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๑๘๐ นาที เส้นทางใช้ได้ทุกฤดูกาล

จำนวนประชากร
มีจำนวน ๓๒๐ หลังคาเรือน ราษฎรรวมทั้งสิ้น ๑,๓๐๕ คน เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย ๕๒๐ คน ส่วนที่เหลือยังไม่ได้ ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาวไทยใหญ่

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน   นายวสันต์ ยาวิเศษ
ผู้ใหญ่บ้าน  นายเสมอ เปี่ยมทอง

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านท่าตอน ส่วนใหญ่ราษฎรเป็นคนเมือง มีวัฒนธรรมประเพณี เป็นแบบชาวล้านนา เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาแล้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอแม่อาย ซึ่งทำรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสโมสรไลออนส์มหาจักร ๘ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๙ ปัจจุบันเปิดดำเนินการสอนเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๔ คน มีครู ๒ คน ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๒) มีนักเรียน ๒๓๓ คน เป็นชาย ๑๔๑ คน หญิง ๙๒ คน มีครู ๖ คน ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ   นามสกุล
คุณวุฒิ
รับผิดชอบโครงการฯ
๑. นายชลอ ช่วงสกุล
ศษ.บ.
จัดการศึกษาทั้งหมดในโรงเรียน
๒. นางกาญจนา จอมนงค์
คบ.
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. นางอำนวย แสงแก้ว
คบ.
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๔. นางสาวพรนภา มาตันบุญ
คบ.
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๕. นางสาวนภาพร สุวรรณ
คบ.
โครงการส่งเสริมสหกรณ์ โครงการฝึกอาชีพ
๖. นางปริยา วิจิตรานนท์
คบ.
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กฯ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๔๔
๒๙
๗๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๓๓
๒๐
๕๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๑
๑๓
๒๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๑
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๒๐
๒๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๒
๑๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
๑๘
รวม
๑๔๑
๙๒
๒๓๓

การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑ แล้ว ๖๗ คน เข้ารับการศึกษาต่อ จำนวน ๒๘ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๓๙ คน

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ นางอำนวย แสงแก้ว
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่อาย, สำนักงานเกษตรอำเภอแม่อาย, นายกเทศมนตรี อำเภอแม่อาย (คุณอินสอน ปริวิทิตวรรต)
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร อ่างเก็บน้ำ
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม ประปาภูเขา
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์ ผู้ประกอบเลี้ยง คือ แม่บ้าน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมพระราชทาน ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. แป้งถั่วเหลือง จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    ๒. นมผง จำนวน ๔๐๐ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทราย จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
    นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ขวบ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้ดื่มนมทุกวัน

  • อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๓)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๖๓
    ๖๓
    ๕๘
    ๗.๙๔
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๔๘
    ๔๘
    ๔๗
    ๒.๐๘
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๑๘
    ๑๗
    ๑๖
    ๕.๘๘
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๕
    ๒๔
    ๒๒
    ๘.๓๓
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๒๒
    ๒๒
    ๒๐
    ๙.๐๙
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๖
    ๕.๘๘
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๑๓๙
    ๑๓๗
    ๑๓๐
    ๕.๑๑
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๗)
    (ชม. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๔๒)