ประวัติโรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓

หมู่ที่ ๑๐ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘ โดยนายเลาต๋า แสนลี่ หัวหน้าหมู่บ้านในขณะนั้น พร้อมด้วยราษฎรในหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้ร้องขอให้กองร้อย ๑ ตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าไปดำเนินการจัดตั้ง โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๐๘ บ้านลีซอ ห้วยส้าน เปิดทำการสอนครั้งแรกมีนักเรียนทั้งหมด ๓๕ คน เป็นชาย ๒๐ คน หญิง ๑๕ คน พ.ศ.๒๕๒๑ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยเสด็จพระราชกุศล ก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีต ขนาด ๘ x ๒๔ เมตร พร้อมบ้านพักครู ๑ หลัง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๓ และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓" เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ชมรมรวมน้ำใจสู่ชนบท วิทยาลัยครูจันทรเกษม (ขณะนั้น) สร้างอาคารขนาด ๖ x ๓๖ เมตร ๖ ห้องเรียน โดยใช้งบประมาณของสโมสรไลออนส์มหาจักร กรุงเทพฯ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๓ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ บริจาคเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ หลัง และโรงอาหาร ๑ หลัง วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๔ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ บริจาคเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างบ่อเลี้ยงกบ ถังเก็บน้ำฝน และบริจาคเครื่องพิมพ์ดีด ๑ เครื่อง วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๖ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ ได้บริจาคเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อติดตั้งไฟฟ้า และประปาภูเขา วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๔๒ ได้มอบโอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓ บ้านห้วยส้าน ไปสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยทำพิธีมอบโอน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓ ปัจจุบัน นายเฉลิมพร มณีกุล ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเหล่า สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพร้าว รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓ บ้านห้วยส้าน สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่อาย โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ ราษฎรชาวเขาเผ่าลีซอ นำโดยนายเลาต๋า แสนลี่ ได้อพยพครอบครัว จากบ้านดอยสามเส้า จำนวน ๖ ครอบครัว ไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่หมู่บ้านห้วยส้าน ต่อมามีราษฎรอพยพไปอยู่เพิ่มมากขึ้น โดยขึ้นอยู่ในความปกครองของบ้านเมืองงาม ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๑ จึงแยกหมู่บ้านออกเป็นเอกเทศ ขึ้นอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อว่า บ้านห้วยส้าน "บ้านห้วยส้าน (เลาต๋า) จนถึงปัจจุบัน

การคมนาคม
ระยะทาง จากจังหวัดเชียงใหม่ถึงโรงเรียน ๑๗๖ กิโลเมตร สามารถใช้การได้ทุกฤดูกาล

จำนวนประชากร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๑๒๕ ครอบครัว ประชากรทั้งหมด ๘๘๖ คน เป็นชาย ๔๕๐ คน หญิง ๔๓๖ คน สัญชาติไทย ร้อยละ ๗๐ เชื้อชาติลีซอ และมูเซอ มีสัญชาติไทยบางส่วน นับถือศาสนาพุทธ และผีควบคู่กันไป

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท/ปี

ภาษาที่ใช้ - ขนบธรรมเนียม
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย และภาษาท้องถิ่น คือ ลีซอ มูเซอ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี มีการสืบทอดมาจากชาวจีนในอดีต

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน   นายวสันต์ ยาวิเศษ
ผู้ใหญ่บ้าน  นายบัญญัติ แสนลี่

ระบบการศึกษา
โรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ ๓ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ปัจจุบันเปิดดำเนินการสอนเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๕ คน มีครู ๑ คน
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๒) มีนักเรียน ๑๐๐ คน เป็นชาย ๕๑ คน หญิง ๔๙ คน มีครู ๒ คน ครูอัตราจ้าง ๓ คน ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
ยศ – ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
๑. นายเฉลิมพร มณีกุล
ศษ.บ.
รับผิดชอบทุกโครงการ
๒. นายพีรศักดิ์ กาวิละพรรณ์
ศษ.บ.
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๓. นางสาวจารุวรรณ เเลิศชุม
คบ.
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กฯ
๔. นางสาวพะเยา บุญญประภา
คบ.
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕. นางสาวสุชาดา ภามณี
คบ.
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
โครงการฝึกอาชีพ
๖. นางสาวรัชนี ต่อพอกพูน
ม.๓
ผู้ดูแลเด็ก
๗. นางสาวดาวใจ แสนจัน
ม.๓
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
ระดับชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๘
๑๘
๓๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๓
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๐
๑๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
 
รวม
๕๑
๔๙
๑๐๐

การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑ แล้ว ๑๖ คน เข้ารับการศึกษาต่อ จำนวน ๑๓ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๓ คน

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายพรศักดิ์ กาวิละพรรณ์
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอแม่อาย และสำนักงานปศุสัตว์แม่อาย
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร น้ำจากประปาภูขา
  • แหล่งน้ำดื่ม ประปาภูเขา และน้ำฝน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๐๐
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. แป้งถั่วเหลือง จำนวน ๙๐ กิโลกรัม
    ๒. นมผง จำนวน ๒๒๕ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทราย จำนวน ๙๐ กิโลกรัม

  • อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๓)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๓๖
    ๓๖
    ๓๓
    ๘.๓๓
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๘
    ๑๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๑๘
    ๑๘
    ๑๖
    ๑๑.๑๑
    ดี
    ประถม ๓
    ๑๔
    ๑๔
    ๔๒.๘๖
    ปรับปรุง
    ประถม ๔
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๕
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๖
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    รวม
    ๖๔
    ๖๔
    ๕๑
    ๑๓
    ๒๐.๓๑
    พอใช้

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๗)
    (ชม. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๔๒)