- โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน:จังหวัดจันทบุรี: โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน

banklongmali
bannumdeang
banbochaaom
bannongborn
banhangmeaw

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอนลักษณะภูมิประเทศ
โครงการสนับสนุนโครงการการเกษตร ฯการติดตามประเมินผล

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน (สตรีวิทยาอุปถัมภ์ ๒)
ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๗ ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันบุรีโรงเรียนตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน จำนวนประชากรในหมู่บ้าน ๑๒๐ หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๖๕๒ คน เป็นชาย ๓๒๓ คน เป็นหญิง ๓๒๙ คน นายประเวศน์ แก้ว สาริการ เป็นผู้ใหญ่บ้านราษฎรในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ทุกครัวเรือนการประกอบอาชีพทำพืชไร่ และรับจ้าง โรงเรียนอยู่ห่างจากกองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ เป็น ระยะทาง ๘๕ กิโลเมตร (ถนนลาดยาง ๙๐ กิโลเมตร ถนนลูก รัง ๕ กิโลเมตร)เดินทางโดยรถยนตร์ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาทีลักษณะแหล่งน้ำโรงเรียนมีสระน้ำ ๒ แห่งบ่อบาดาล ๑ แห่ง มีน้ำใช้ตลอด ปี และโรงเรียนมีไฟฟ้าใช้

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน

ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ได้รับคำสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนจากกอง บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อมีนาคม ๒๕๓๐ เนื่องจากแต่เดิมเด็กนัก เรียนบ้านหนองบอนจะต้องเดินทางไปโรงเรียนบ้านชับตารีและโรงเรียน ส.ไทยเสรี อุตสาหกรรม ๒ ซึ่งการคมนาคมไม่สะดวกลำบากมากต่อการเดินทางไปโรงเรียน ในฤดูฝนสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาของเด็กนักเรียนและระ ยะทางคมนาคมห่างไกลมากด้วยเหตุนี้ราษฎรบ้านหนองบอนจึงได้ร่วมประชุม ศึกษาหารือกันพร้อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลานใน หมู่บ้าน และได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อจะซื้อที่ดินจำนวน ๒๓ ไร่ ๒ งาน ต่อมา มีนายแสง จันทรสิงห์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมบริจาคอีก ๑ ไร่ ๒ งาน รวมเป็น ๒๕ ไร่จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งนี้เป็นอาคาร เรียนชั่วคราว จำนวน ๖ ห้องเรียน ห้องสมุด ๑ ห้อง เมื่อวันที่ ๑๖ เม.ย.๒๕๓๐ และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๐
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ พันตำรวจโท สมพงษ์ พันธุ์ผลรองผู้กำ กับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน และได้เริ่มทำการสอน ในวันที่ ๑ พ.ค. ๒๕๓๐ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๕ คนมีครูโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นายโดยมีสิบตำรวจโท บรรจง จันทร์จรเป็นครูใหญ่คน แรกจ่าสิบตำรวจเดชา พรหมรอดเป็นครูใหญ่ที่ ๒ และจ่าสิบตำรวจ เกื้อ เรียงทับ เป็นครูใหญ่คนที่ ๓ และ จ่าสิบ ตำรวจศิริรัตน์ พงษ์สาโรจน์ เป็นครูใหญ่คนปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๓๓ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ได้มอบเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) เพื่อสร้างอาคารเรียน ถาวร แบบ ป. ๑๐๒ ขนาด ๓ ห้องเรียน ให้กับโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน โดยมีพันตำรวจโทภิศักดิ์ เพ็งบาน รองผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ เป็นผู้รับมอบต่อมาในปี การศึกษา ๒๕๓๕ มีภาคเอกชนหน่วยต่าง ๆ ได้บริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างและ จัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับโรงเรียน

นโยบายของโรงเรียน

๑. ปรับปรุงสภาพการเรียนการสอน ให้สอดคล้อง กับหลักสูตรการประถมศึกษาแห่ง ชาติ ปี ๒๕๒๑
๒.ปรับปรุงอาคารสถานที่ และบริเวณโรงเรียนให้เหมาะสม
เป็นระเบียบ เรียบร้อยดู สวยงาม
๓.ปฏิบัติดูแลนักเรียนให้ทั่วถึง เพื่อให้สามารถเล่าเรียน
ได้อย่างมีความสุข ทั้งทางกายและจิตใจ
๔.ให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมดำเนิน
การพัฒนาโรงเรียน ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน
๕.จัดหาที่พักอาศัยให้ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้
อยู่เป็นสัดส่วน เพื่อสร้าง ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
๖.สนับสนุนนโยบายของหน่วยเหนือ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น และ ความมั่นคงของชาติ
คำขวัญโรงเรียน "เรียนดี พูดดี ทำดี มีวินัย"

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ของโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ทุกชนิดเช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร ่พืชผัก และเลี้ยงสัตว์

แหล่งน้ำ

โรงเรียนมีแหล่งน้ำอยู่ ๒ แห่งซึ่งเป็นสระน้ำขนาดใหญ่มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และในโรงเรียนอย่างเพียงพอขนาดบ่อ๘๐x๙๐x๔ม. ขนาด ๓๐x๔๐x๔ ม.

ชนิดดิน

สภาพดินของโรงเรียน ประกอบไปด้วยดิน ๒ ชุด คือ
๑. ดินชุดผักกาด   มีประมาณ  ๘๐% ๒. ดินชุดโอลำเจียก   มีประมาณ  ๒๐%
ซึ่งดินทั้งชุดนี้เหมาะในการปลูกผลไม้ผลไม้ยืนต้นเช่น มะม่วง ขนุน มะละกอ กล้วย ลิ้นจี่ และอื่นๆนอกจากนี้ยังสามารถ ปลูกพืชไร พืชผักได้ทุกชนิดรวมทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์

พื้นที่ทำการเกษตร(ตารางแผนการประกอบอาหาร)

พืชผัก-แปลงขนาด๑x๔ ม.
ผักบุ้งจีนแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักกาดเขียวปลีแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักกาดขาวปลีแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักกาดหัวแปลงขนาด๑x๘ ม.
ผักคะน้าแปลงขนาด๑x๘ ม.
กวางตุ้งแปลงขนาด๑x๘ ม.
ตำลึง-(ปลูกบริเวณรั้ว) 
ชะอม-(ปลูกบริเวณรั้ว) 
แค๕๐ต้น 
บัว(สายบัว) (มีในสระน้ำ) 

ข้อมูลพื้นที่(ระดับอำเภอ)
ที่ตั้งอำเภอสอยดาวตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดจันทบุรี
มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๘๑,๘๔๒ ไร่อาณาเขต
ทิศเหนือจดจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้จดอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันออกจดประเทศสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันตกจดอำเภอมะขามและกิ่งอำเภอเขาคิฌชกูฎจังหวัดจันทบุรี

การแบ่งการปกครอง

อำเภอสอยดาวประกอบด้วย ๕ ตำบล ๕๑ หมู่บ้าน
๑.ตำบลปะตงมี ๘หมู่บ้าน
๒.ตำบลทรายขาวม๑๒มู่บ้าน
๓.ตำบลทับช้างมี๑๒หมู่บ้าน
๔.ตำบลทุ่งขนานมี๑๑หมู่บ้าน
๕.ตำบลสะตอนมี๘หมู่บ้าน

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

จำนวนประชากรทั้งหมด๔๙,๒๗๕ คน เป็นชาย๒๕,๘๐๔ คนเป็นหญิง ๒๓,๔๗๑ คนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรเช่นทำไร่ทำสวนเลี้ยงสัตว์และ อาชีพ รับจ้างค้าขายรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน๑๕,๐๐๐บาท/ครัวเรือน

พื้นที่ทำเกษตร
อำเภอสอยดาว มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๓๑๒,๐๔๑ ไร่

๑.ไม้ผลไม้ยืนต้น ๖๑,๖๘๕ ไร่
๒.พืชไร่ ๒๑๙,๐๐๐ ไร่
๓.พืชผัก๖,๑๐๐ไร่
๔.ทำนา๑,๕๐๐ไร่
๕.อื่นๆ๒๓,๗๕๖ไร่

อุปนิสัยการบริโภค(ด้านโภชนาการ)

ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอสอยดาวมีการอพยพมาจากหลายจังหวัด ด้วยกันโดยแยกออกเป็นภาค ๆ ได้ดังนี้

๑.ภาคเหนือ ๕%
๒.ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ๖๐ %
๓.ภาคกลาง ๑๕%
๔.ภาคใต้ ๕%
๕.ภาคตะวันออก ๑๕%
การบริโภคส่วนใหญ่จะแยกออกเป็นภาคๆตามความถนัด ของประชากรแต่ละภาคเช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะ นิยมการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่นลาบก้อย ปลาร้า เป็นต้น

โครงการสนับสนุนโครงการการเกษตร ฯ
เริ่มดำเนินการในปี ๒๕๓๓
กิจกรรมและผลการดำเนินการ
จัดหาภาชนะใส่น้ำดื่มผสมสารไอโอดีนในโรงเรียน ให้เพียงพอกับปริมาณ
เด็กนักเรียนซึ่งต้องดื่มน้ำอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๓ แก้ว/คน/วัน โดยสม่ำเสมอ
แจกเกลือผสมเสริมไอโอดีนให้เด็กนักเรียนนำไปปรุงอาหารที่บ้าน
ประสานสถานีอนามัยในพื้นที่ตรวจภาวะคอพอก ในเด็กนักเรียนเป็นห้วง
ระยะเวลาที่ต่อเนื่อง
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนเกี่ยวกับเรื่องผลเสีย
หรืออันตรายจากการขาดสารไอโอดีน

ตารางแสดงภาวะขาดสารไอโอดีนของนักเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน

วันที่ตรวจจำนวน นร.ทั้งหมดจำนวนที่ตรวจภาวะการขาดสารไอโอดีน
คนคน%ปกติระดับ ๑ระดับ ๒ระดับ ๓รวม
คน%AB%จำนวน % จำนวน %จำนวน %จำนวน%
๑๕ มี.ค.๓๗๑๔๗ ๑๒๗๘๖.๓๙๑๑๗๙๒.๑๒ ๗.๘๗-- -๑๐๗.๘๗
๑๕ มิ.ย.๓๗๙๓๙๒๙๘.๙๒๘๐๘๖.๙๖๑๑๑๓.๐๔-- -๑๒๑๓.๐๔
๑๕ มี.ค.๒๘๙๒๙๒๑๐๐๘๘ ๙๕.๖๕-๔.๓๔- - -๔.๓๔

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
สถานีอนามัยบ้านทุ่งขนาน

การติดตามประเมินผล
จัดเจ้าหน้าที่ติดตามผลของการขาดสารไอโอดีนในเด็กนักเรียน โดยการ ออกตรวจร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในพื้นที่กับข้าราชการตำรวจ ตระเวนชายแดนซึ่งผ่านการอบรมการตรวจโรคคอพอกหรือการขาดสาร ไอโอดีนโดยการคลำคอของผู้ที่เข้ารับการตรวจ จัดทำข้อมูลนักเรียนซึ่งขาดสารไอโอดีน เพื่อดำเนินการแก้ไข ในส่วนที่ เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง : กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑
(ค่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา). (๘)
(จบ.ท๑ น๙๖๑ ๒๕๓๘)
สำนักงานเกษตรจันทบุรี.(๙)
(จบ.ท๓ ส๖๕๒๕ ๒๕๓๘)