banklongmali
bannumdeang
banbochaaom
bannongborn
banhangmeaw

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ่อชะอมระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

  ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ่อชะอม

คณะกรรมการหมู่บ้านได้เห็นความยากลำบากที่เด็กนักเรียนต้องเดินทางที่โรงเรียน บ้านเนินจำปาตำบลวาซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบ่อชะอมประมาณ ๖ ก.ม.การเดินทาง ไปโรงเรียนลำบากโดยในฤดูฝนคณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้ร่วมใจกันก่อสร้างอาคาร เรียนชั่วคราวในปีพ.ศ๒๕๒๘โดยมีนายบัวจันทร์ สำโรงและนายคาด ขวดแก้วร่วมกัน บริจาคที่ดินรวม ๑๙ ไร่ และ ได้ทำการเปิดสอนในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๘ โดยเริ่ม เปิดเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ชั้นประถมปีที่ ๒ โดยมีนางดวงจันทร์จริต และนางราตรี กลิ่นจันทร์ราษฎรในพื้นที่เป็นผู้สอนในปี พ.ศ.๒๕๒๙ ทางจังหวัดจันบุรี ได้จัดส่งอาสาสมัครประจำจังหวัดมาช่วยทำการสอน ๑ คนคืออาสาสมัครวินัย ทองล้วนใน ปี ๒๕๓๑ คณะกรรมการหมู่บ้านได้เดินทางไปร้องขอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตระเวนชายแดนจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ มาทำการสอน เนื่องจากครูที่ทำการสอนอยู่เดิมลาออกไปประกอบอาชีพส่วนตัวครั้งแรกทางกอง กำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ได้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนมา ช่วยสอน ๕ นายขึ้นเป็นสาขาโรงเรียนบ้านเนินจำปา
ปี พ.ศ. ๒๕๓๔จึงได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นโรงเรียนในเดือนมกราคม ขึ้นสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในความดูแลรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ อำเภอมะ ขาม จังหวัดจันบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ทหารอเมริกันได้เดินทางเข้ามาฝึกคอ บ้าโกลด์ในพื้นที่ตำบลวา กิ่งอำเภอหางแมว ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ คณะ ทหารอเมริกัน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคาเรียนถาวรให้จำนวน ๑ หลังมีขนาด ๔ ห้อง เป็น ๗๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)

ลักษณะภูมิประเทศ

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ส่วนใหญ่โดยรอบเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ประกอบด้วย ไม้มะค่า ไม้พยุง ไม้ตะแบก ไม้กระบก นายสุชิน เจริญสุข เป็นผู้ใหญ่ บ้านที่ทำการผู้ใหญ่บ้านตั้งอยู่ที่บ้านเนินจำปา ห่างจากหมู่บ้านบ่อชะอม ประมาณ ๖ ก.ม.ปัจจุบันได้มีราษฏรจากจังหวัดระยอง จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออพยพย้ายถิ่นเข้ามาจับจองที่ทำกิน

สภาพทางภูมิศาสตร์

ที่ตั้งบ้านบ่อชะอม ตั้งอยู่ห่างจากกิ่งอำเภอ แก่งหางแมว ไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร และห่างจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ๙๕ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดจันทบุรี ๘๑ ก.ม. ถนนเป็นทางลาดยาง จากกิ่งอำเภอนายายอาม

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือติดต่อบ้านบ่อไฟไหม้ ตำบลพวา กิ่งอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ระยะทาง ๔ กิโลเมตร เส้นทางคมนาคม เป็นถนนลูกรังใช้ได้ในฤดูแล้ง
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านหนองมะค่า หมู่ ๒ ตำบลพวา กิ่งอำเภอหางแมว จังหวัดจันทบุรี ระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง ๖ กิโลเมตร ถนนลูก รัง ๘ กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านเขาฆ้อง หมู่ ๕ ตำบลพวา กิ่งอำเภอแก่ง หางแมว จังหวัดจันทบุรี ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

สภาพพื้นที่ภูมิประเทศ

บ้านบ่อชะอมตั้งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและเนินเขา ดินเหนียวปนลูกรัง ซึ่งเหมาะแก่การปลูกพืชสวนพืชไร่พืชที่มีการปลูกได้แก่ มันสัมปะหลัง ข้าวโพด

ทรัพยากรธรรมชาติ

ป่าไม้แต่เดิมหมู่บ้านชะอม และหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ป่าไม้นานาชนิด เช่น ไม้มะค่า ไม้ตะแบก ไม้กระบก และป่าไม้เบญจพรรณต่าง ๆ ต่อมาได้ถูกบุกรุกจากผู้มีอิทธิพลเข้ามาทำลายแผ้วถางป่าเพื่อใช้พื้นที่ในการทำ การเกษตร เช่น การปลูกไม้ผลการปลูกพืชไร่
ดินลักษณะดินเป็นดินที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ เหมาะแก่การปลูก มันสำปะหลัง
แหล่งน้ำเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนแหล่ง น้ำที่มีอยู่ก็ห่างไกลเช่น คองหินเพลิงไหลไป บรรจบกันที่คลองลำโตนด
การคมนาคมในหมู่บ้าน มีการคมนาคมขนส่งโดยรถยนต์โดยสารประจำทางวิ่ง ระหว่างหมู่บ้าน และกิ่งอำเภอนายายอาม วันละ ๒ เที่ยวระยะทาง ๓๖ กิโลเมตร

สภาพการปกครองและสังคม
๑.ประชากร มีจำนวน ๑,๑๑๙ คน
๒.การปกครอง เป็นหมู่บ้านอาสา พัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.) เนื่องจากสภาพในอดีตเป็นหมู่บ้านห่างไกลคมนาคมท้องถิ่นทุรกันดาร
๓.การศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธภาษาที่ใช้พูดใช้ภาษาท้องถิ่น
มีวัดจำนวน ๒ แห่ง
๔.เป็นหน่วยงานหนื่งที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชน
ในพื้นที่โดยมีครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ทำหน้าที่พยาบาลประจำโรงเรียน ๒ นาย เป็นผู้ให้บริการ

สภาพทางเศรษฐกิจ

ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน อพยพจากจังหวัดใกล้เคียงและทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือประกอบอาชีพการปลูกพืชไร่เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดสวนยาง พารา สวนผลไม้ อาชีพรอง รับจ้าง ค้าขาย ประชาชนมีรายได้โดยเฉลี่ยครอบครัว ละประมาณ ๑๒,๐๐๐ -๒๕,๐๐๐ บาทต่อปี

ระบบการศึกษา

เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยรับเด็กจาก หมู่บ้านบ่อชะอม ดำเนินการสอนเป็นภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พ.ค. ๒๕๓๗ - ๑๕ ต.ค. ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พ.ย. ๒๕๓๗ -๒๕ มี.ค. ๒๕๓๗

  • พื้นที่ของโรงเรียนและแหล่งน้ำ
    โรงเรียนพื้นที่ทั้งหมด ๑๙ ไร่ มีพื้นที่ในการทำการเกษตร
    ปลูกผลไม้ ๒๐๐ ต้น
    เรือนเพาะชำ ๓๘.๘๔ ตารางเมตร

    แหล่งน้ำดื่มที่สำคัญ
    น้ำฝน น้ำบาดาล

    จำนวนครูและนักเรียน

    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๒๙ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้นชายหญิงรวม
    เด็กก่อนวัยเรียน๑๓๑๑๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑๑๒๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒๑๓๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓๑๐๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที ๔๑๑๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕๑๐๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖๑๒
    รวม๖๙๖๐๑๒๙

    กิจกรรมที่ดำเนินการอยู่

    ๑.การปลูกหญ้าแฝก ครูและนักเรียนได้ร่วมกันปลูกหญ้าแฝก ในพื้นที่ของโรงเรียน จำนวน ๑๐๐ ตารางวา
    ๒.พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านในเนื้อที่ ๑,๕๐๐ ไร่ ห่างจากโรงเรียน ๑ กิโลเมตร (พื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าเขากะกรุบ)

    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    เริ่มดำเนินการในปี ๒๕๓๔
    ผู้รับผิดชอบโครงการ สิบตำรวจตรีนเรศ หอมถวิล

    กิจกรรมและผลการดำเนินการ

    จัดหาภาชนะใส่น้ำดื่มผสมสารไอโอดีนในโรงเรียน ให้เพียงพอกับปริมาณเด็กนักเรียนซึ่งต้องดื่มน้ำอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๓ แก้ว/คน/วัน โดยสม่ำเสมอ
    แจกเกลือเสริมไอโอดีนให้เด็กนักเรียนนำไปปรุงอาหารที่บ้าน
    ประสานสถานีอนามัยในพื้นที่ ตรวจภาวะคอพอกในเด็กนักเรียน เป็นห้วงระยะเวลาที่ต่อเนื่อง
    ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนเกี่ยวกับเรื่องผลเสียและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน

    ตารางแสดงภาวะขาดสารไอโอดีนของนักเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบ่อชะอม
    วันที่ตรวจ
    จำนวน
    นร.
    ทั้งหมด
    (คน)
    จำนวน นร.
    ภาวะการขาดสารไอโอดีน
    ที่ตรวจ
     
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    คน
    %
    ปกติ
    (คน)
    %
    A
    ฺฺB
    %
    จำ
    นวน
    %
    จำ
    นวน
    %
    จำ
    นวน
    %
    ๑๕ มี.ค.๓๗
    ๘๙
    ๘๑
    ๙๑.๐๑
    ๖๓
    ๗๐.๗๘
    ๒๐.๒๒
    -
    -
    -
    -
    ๑๘
    ๒๐.๒๒
    ๑๕มิ.ย.๓๗
    ๑๐๔
    ๑๐๔
    ๑๐๐
    ๙๐
    ๘๖.๕๔
    ๑๔
     
    ๑๓.๔๖
    -
    -
    -
    -
    ๑๔
    ๑๓.๔๖
    ๑๕มี.ค.๓๘
    ๙๕
    ๙๕
    ๑๐๐
    ๙๐
    ๙๕
     
    ๕.๒๖
    -
    -
    -
    -
    ๕.๒๖

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
    สถานีอนามัยบ้านเนินจำปา

    การติดตามประเมินผล
    จัดเจ้าหน้าที่ติดตามผล ของการขาดสารไอโอดีนในเด็กนักเรียน โดยการออกตรวจร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในพื้นที่ กับข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งผ่านการอบรมการตรวจโรคคอพอกหรือการขาดสารไอโอดีนโดยการคลำคอของผู้ที่เข้ารับการตรวจ

       
    แหล่งอ้างอิง: กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑
    (ค่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา). (๑)
    (จบ.ท๑ น๙๖๑ ๒๕๓๘)

    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ .(๑๗)
    (ออก ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๓๘)