ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพ

ในปี พุทธศักราช ๒๕๑๖ คะกรรมการหมู่บ้านหาดทรายเพ ได้มีมติเห็นพ้องต้องกันว่า การที่จะให้บุตรหลานของตนเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านท่าหนามแก้วมีอุปสรรคหลายอย่างด้วยกัน ทั้งมีระยะทางไกล ในฤดูฝนก็ไม่สามารถเดินทางไปเล่าเรียนได้ เนื่องจากน้ำท่วมทาง ต้องขาดเรียนเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้บุตรหลานไม่สามารถได้รับการศึกษาเท่าที่ควร จึงได้พร้อมใจกันยื่นเรื่องราวขอจักตั้งโรงเรียน เสนอต่อที่ มว.ตชด.๔๑๓ (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครนครพนม เพื่อขอครูตำรวจตระเวนชายแดนมาทำการสอน แต่การขอตั้งโรงเรียนครั้งนี้ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะทางกองกำกับการตวจตระเวนชายแดน เขต ๔ จังหวัดอุดรธานี ไม่สามารถจัดหาครูมาสอนได้ จนกระทั่งต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก กล่าวคือหมู่บ้านตกอยู่ในเขตคุกคามของฝ่ายตรงข้าม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ราษฎรในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน นักเรียนไม่กล้าจะเดินทางไปโรงเรียน หรือนาน ๆ ไปครั้ง นายหนูดี พรมดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพร้อมราษฎร จึงได้ร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะให้ส่งครูไปทำการสอน โดยยินดีจัดทำอาคารสถานที่และที่ดิน สำหรับทำการก่อสร้างโรงเรียนเป็นการชั่วคราว ทั้งเป็นการขอเข้าหน้าที่ตำรวจไปอยู่เพื่อให้ความอบอุ่นแก่หมู่บ้านอีกทางหนึ่งด้วย ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๔ จึงได้ส่งเรื่องไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อขอดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่บ้านหาดทรายเพและได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้าน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านหาดทรายเพ ตำบลพระทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๐ ได้ส่งครูตำรวจตระเวนชายแดนมาทำการสอน ๒ นาย คือ
๑. ส.ต.อ. เศกสิทธิ์ หิรัญอร
๒.ส.ต.ต.ประสพ วงศ์สอน
ระยะแรกการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวยังไม่เสร็จ จึงต้องอาศัยศาลาวัดบ้านหาดทรายเพ จนถึงปีการศึกษา ๒๕๒๓ จึงได้ย้ายมาที่อาคารเรียนที่สร้างขึ้น

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นในสังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ จังหวัดสกลนคร
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านหาดทรายเพ ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาค ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖
และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอน คือ หลักสูตรของสำนักงานการประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดย ครู ตชด.เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษา นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
อาคารเรียน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
(ขนาด ๓๘ เมตร x ๘ เมตร ขนาด ๖ ห้อง) ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือการรถไฟมักกะสัน
ห้องสมุด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องครัว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
โรงอาหาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องส้วม กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
สนามเด็กเล่น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ส่งครูมาปฏิบัติหน้าที่ ๒ นาย ต่อมาเมื่อนักเรียนเพิ่มขึ้น ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ก็ได้เพิ่มจำนวนครู ตชด.อีก จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๓๘ คน และครู ตชด. ๕ นาย

ตารางแสดงจำนวนครูคุณวุฒิและหน้าที่ความรับผิดชอบของครู ตชด. แต่ละนาย
ชื่อ
คุณวุฒิ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. ด.ต.พงษ์ศักดิ์ ดาวเศรษฐ์
ม.ศ.๓
ครูใหญ่
๒. ส.ต.อ.ทองพูน พันสว่าง
ม.ศ.๓
โรงเรียน - ชุมชน
๓. ส.ต.อ.สมพร ไวแสง
ม.๖
วิชาการ-ลูกเสือ, ธุรการ-การเงิน
๔. ส.ต.อ.วิเชียร สายประศาสน์
ปก.ศ.สูง
พยาบาล กิจการนัก
๕. ส.ต.ต.ทองศุกร์ สุริวงแก้ว
ม.ศ.๕
เกษตร ลูกเสือ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม(คน)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๒๓
๑๕
๓๘

โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการในโรงเรียน
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ได้กำหนดการพัฒนาเป็น ๔ ด้าน แต่ละด้านประกอบโครงการตามพระราชดำริ ดังต่อไปนี้

ด้านอาหารและโภชนาการและสุขภาพอนามัย
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
เริ่มดำเนินการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗
ผู้รับผิดชอบโครงการ ส.ต.อ.สมพร ไวแสง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วิทยาลัยครูสกลนคร ได้ดำเนินการโดย
๑. จัดอบรมครูประจำปีในช่วงเดือนเมษายนทุกปี เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การผลิตสื่อ การประเมินผล
๒. นิเทศและติดตามผลการปฏิบัติงานการเรียนสอน
๓. สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน
๔. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพ ดังนี้
(๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๓๒ ถึง ๒๕๓๔ รวมทุกกลุ่มประสบการณ์ มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง-ดี เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายปีพบว่า มีระดับพัฒนาการคงที่ เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มประสบการณ์พบว่ากลุ่มประสบการณ์ส่วนมาก มีระดับพัฒนาการคงที่ เว้นกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นสูงมาก แต่กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์จะมีพัฒนาการลดค่าลงมาก (๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๓๔ จำแนกเป็นรายสมรรถภาพรวม ๓๕ สมรรถภาพ พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ทุกสมรรถภาพ โดยผ่านเกณฑ์ในระดับดี-ดีมาก รวม ๒๓ สมรรถภาพ นอกนั้นอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์-ปานกลาง

ตารางแสดงการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทดสอบ รายกลุ่มวิชาปลายปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔
กลุ่มวิชา
คะแนนเฉลี่ยร้อยละ
๒๕๓๒
๒๕๓๓
๒๕๓๔
กลุ่มทักษะภาษาไทย
๗๐.๑๑
๗๓.๒๒
๗๒.๐๐
กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์
๖๙.๕๕
๗๔.๕๖
๖๔.๘๓
กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
๗๐.๑๑
๗๑.๔๔
๖๘.๑๖
กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
๖๘.๕๖
๖๗.๖๗
๗๘.๘๓
กลุ่มงานและพื้นฐานอาชีพ
๗๑.๐๐
๗๖.๓๓
๗๒.๓๓
รวม
๖๙.๘๙
๗๒.๖๔
๗๑.๒๓

ที่มา :     รังสรรค์ บุษยะมา, การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดนครพนม, พฤษภาคม ๒๕๓๕

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๓๒)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๕)