






|

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา
เนื่องจากหมู่บ้านน้อยลวงมอง เห็นว่าที่หมู่บ้านไม่มีโรงเรียนที่จะให้บุตรหลานได้เล่าเรียนถ้าหากต้องการเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น
ซึ่งมีระยะทางไกลมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อบุตรหลาน ราษฎรจึงจัดตัวแทนประกอบด้วย
นายคำ ตาสี, นายเขม มะละ, นายคำ แพงคำอุ้ย, นายวิเชียร
พันธง, นายหมอก อินธิราช, นายก้อย ผุยเห้า นายยลี
สุพรรณ, นายบุตรดี ริยะบุตร และนายโม มะละ เป็นตัวแทนไปร้องขอกับ
ร.ต.ท.บุญชู รุ่งแก ผบ.ร้อย ตชด.เขต ๔ ในขณะนั้น เพื่อที่จะจัดตั้งโรงเรียน
ร.ต.ท.บุญชูฯ ได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น
และได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา
หมู่ ๘ บ้านน้อยลวงมอง ตำบลพระทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ขึ้น เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และส่งครู ตชด.มาทำการสอน
๒ นาย คือ พลฯ คำดี ชาวกล้า และ พลฯ จรูญ ลายคราม มาปฏิบัติหน้าที่
ต่อมาทางหมู่บ้านแก้งส้มโฮง ได้ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนด้วย
ทำให้อาคารเรียนที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทางกองกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต
๔ (เดิม) จึงทำการรื้ออาคารหลังเก่าเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่
แต่ยังดำเนินการก่อสร้างไม่เสร็จ นายทรงชัย เหลืองรัชนี
นำคณะสำรวจของชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
มาสำรวจสถานที่เพื่อออกค่ายพัฒนา ได้ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมให้
(ที่ใช้ในปัจจุบัน)
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านน้อยลวงมอง และหมู่บ้านแก้งส้มโฮง
ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕
กรกฎาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๓๑
ตุลาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗
มีนาคม ๒๕๓๖
และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว
หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของสำนักงานประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน
เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ
นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรับแห่งอื่น
ๆ ได้
|
อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง
ๆ รวมทั้งได้รับบริจาคจากเอกชนต่าง ๆ ดังนี้
|
อาคารเรียน
| ผู้ให้การสนับสนุน |
( ๑๐ เมตร x ๔๖ เมตร) ขนาด ๖ ห้องเรียน)
| ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ห้องสมุด
| กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน |
ห้องพยาบาล
| กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน |
ห้องครัว
| สำนักพระราชวัง |
โรงอาหาร
| สำนักพระราชวัง |
ห้องส้วม
| ชมรมอาสาพัฒนาหอการค้าไทย |
สนามเด็กเล่น
| วิทยาลัยเทคนิคนครพนม |
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกมีนักเรียน ๓๖ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน
๒ นาย ต่อมาเมื่อผู้ปกครองของเด็กเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น
จึงได้ส่งบุตรหลานมาเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นจนในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น
๙๖ คน เป็นชาย ๔๘ คน หญิง ๔๘ คน และทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ได้บรรจุครูตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มขึ้น เพื่อความต้องการของราษฎรจำนวนทั้งสิ้น
๖ คน ดังแสดงในตาราง
|
ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ
| คุณวุฒิ
| ทำหน้าที่ |
๑. ด.ต.อนันต์ คณโฑมุข
| ม.ศ.๓
| ครูใหญ่ |
๒. จ.ส.ต.เรืองชัย ภาแกดำ
| ม.ศ.๓
| พยาบาล กิจการนักเรียน |
๓. จ.ส.ต.เกรียงศักดิ์ แก้วอินทร์ศรี
| ปกศ.
| เกษตร |
๔. ส.ต.อ.คารมย์ ศรีกงพาน
| ม.ศ.๕
| การเงิน - ลูกเสือ |
๕. ส.ต.ท.สมหวัง สมเกียรติยศ
| ม.ศ.๕
| โรงเรียน - ชุมชน |
๖. ส.ต.ต.สะอาด อยู่เย็น
| ปกศ.สูง
| วิชาการ |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๕
| ๘
| ๑๓ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๑๐
| ๑๐
| ๒๐ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๖
| ๗
| ๑๓ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๘
| ๑๑
| ๑๙ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๑๑
| ๗
| ๑๘ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๘
| ๕
| ๑๓ |
รวม
| ๔๘
| ๔๘
| ๙๖ |
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น
ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
(๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้
|
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ส.ต.ต. สะอาด อยู่เย็น
เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่
วิทยาลัยครูสกลนคร ได้ดำเนินการโดย
๑. จัดอบรมครูประจำปี ในระหว่างปิดภาคเรียนในเดือนเมษายนทุกปี
การผลิตสื่อ และการวัดและประเมินผลการเรียน
๒. นิเทศและติดตามผลการปฏิบัติงานตามภารกิจด้านการศึกษาของครู
๓.ให้การสนับสนุนสื่อการเรียน อุปกรณ์การศึกษาและคู่มือการสอนที่ขาดแคลน
๔. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกปี ผลจากการศึกษาโดยสรุปพบว่า
คุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา
เป็นดังนี้
(๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔ รวมทุกกลุ่มประสบการณ์
มีนะดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง - ดี เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายปี
พบว่ามีระดับพัฒนาการคงที่เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มประสบการณ์
พบว่ากลุ่มประสบการณ์ ส่วนมากมีระดับพัฒนาการคงที่ เว้นกลุ่มทักษะภาษาไทยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นแต่กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพพัฒนาการมีแนวโน้มลดลง
(๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ปีการศึกษา ๒๕๓๔ จำแนกเป็นรายสมรรถภาพรวม ๒๕ สมรรถภาพ
พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ทุกสมรรถภาพ โดยผ่านเกณฑ์ในระดับดี-ดีมาก
รวม ๒๔ สมรรถภาพ นอกนั้นอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ - ปานกลาง
|
ตารางการแสดงการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทดสอบ รายกลุ่มวิชาปลายปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔
กลุ่มวิชา
| คะแนนเฉลี่ยร้อยละ |
ปี ๒๕๓๒
| ปี ๒๕๓๓
| ปี ๒๕๓๔ |
กลุ่มทักษะภาษาไทย
| ๖๙.๘๐
| ๖๓.๗๕
| ๗๑.๕๐ |
กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์
| ๖๗.๓๓
| ๖๖.๙๔
| ๖๔.๕๐ |
กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
| ๗๑.๑๑
| ๖๘.๐๐
| ๗๐.๓๑ |
กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
| ๗๐.๔๕
| ๖๒.๙๔
| ๖๙.๖๓ |
กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ
| ๖๙.๙๘
| ๗๘.๐๖
| ๖๘.๘๗ |
ผลรวมเฉลี่ย
| ๖๙.๗๓
| ๖๙.๙๔
| ๖๘.๘๗ |
ที่มา : รังสรรค์ บุษยะมา. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔. วิทยาลัยครูสกลนคร, ๒๕๓๕.
|
|