kanbinthai
kaosarapee
klongjareansuk
thakenchai
bankoknoi
bantakfah
banthapakchee
thungkabin
bannumaom
banwangsritong

pracharath
peeraya

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังศรีทองสภาพทั่วไป
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๖๗สรุปผลการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังศรีทอง
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ เนื่องจากบ้านวังโพธิ์ทองตั้งอยู่ห่างจากสถาน ศึกษาของรัฐ เป็นระยะทาง ๖ กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมเป็นทางเท้า มีสภาพเป็นป่าทึบสองข้างทาง ในช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วม ทำให้บุตรหลาน เดินทางไปเรียนไม่ปลอดภัย ประชาชนบ้านวังโพธิ์ทองจึงพร้อมใจกันก่อ สร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขนาด กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง เพื่อให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือ โดยมีหลวงพ่อต่วน คนึงเขต บริจาค วัสดุก่อสร้าง คิดเป็นมูลค่า ๕,๐๐๐ บาท และนายสมศักดิ์ ประจงศิลป์ บริจาค ที่ดินสำหรับก่อตั้งโรงเรียน จำนวน ๒๘ ไร่ เมื่อก่อสร้างเสร็จได้ร้องขอครู ตำรวจตระเวนชายแดนจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ (เขต ๒ เดิม) ไปทำการสอน ต่อมาผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ (เขต ๒ เดิม) ได้ส่งข้า ราชการตำรวจ จำนวน ๒ นาย ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครูสอน เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๓ ไร่ (ถูกถนนตัดผ่านเสียพื้นที่ จำนวน ๕ ไร่)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

จัดตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มๆ ตามพื้นที่ของแต่ละครอบครัว อยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๖๔ กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบ มีคลองธรรมชาติไหลผ่าน คือ คลองพะสทึง มีพื้นที่ติดต่อ

ทิศเหนือ ติดต่อบ้านซับน้อย
ทิศใต้ - ทิศตะวันออก ติดคลองพะสทึง
ทิศตะวันตก ติดต่อบ้านพรมนิมิตร หมู่ ๘ ตำบลไทยอุดม อำเภอวังน้ำเย็น
จังหวัดสระแก้ว ห่างจากบ้านวังโพธิ์ทอง ๖ กิโลเมตร

สภาพทั่วไป สภาพปัญหา และความต้องการ บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๒ ตำบลวังสมบูรณ์ กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

สภาพทั่วไป

พื้นที่ทั่วไป เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับเนินดินสูง-ต่ำ ดินเป็นดินร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ พื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาพแหล่งน้ำตื้นเขิน
  • - สิทธิในที่ดินทำกิน อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • - ประชากรมีทั้งหมด ๑๒๘ ครอบครัว ๖๑๔ คน
  • - เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาชนบท อันดับที่ ๒
  • - ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย และปลูกไม้ผลบางส่วน พร้อมทั้งมีอาชีพในการเลี้ยงโคนม ประมาณ ๔๖ ครัวเรือน
  • - ในหมู่บ้านมีบ่อบาดาลสาธารณะ จำนวน ๔ บ่อ มีระบบประปาน้ำใต้ดิน จำนวน ๑ แห่ง มีฝายน้ำล้นขนาดเล็ก จำนวน ๒ แห่ง มีสระน้ำ จำนวน ๑ แห่ง มีคลองสาขา ไหลผ่านหมู่บ้านจำนวนหลายสาย
  • - ไฟฟ้ายังมีไม่ครบทุกครัวเรือน
  • สภาพปัญหา

  • -แหล่งน้ำผิวดินเดิมที่มีอยู่แล้ว มีสภาพตื้นเขิน (ซึ่งบางส่วนอยู่ในระหว่างดำเนินการ     ปรับปรุง)
  • - ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตร โดยเฉพาะกับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่อายุยาว     รวมทั้งที่ปลูกไม้ผล
  • - ขาดแคลนแหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภคในฤดูแล้ง สัตว์เลี้ยงไม่มีน้ำเพียงพอ
  • - ไฟฟ้ายังขยายไม่ครบทั้งหมู่บ้าน เนื่องจากราษฎรอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ไม่    รวมเป็นกลุ่ม
  • ความต้องการ

  • - แหล่งน้ำขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เช่น สระน้ำ ฝายน้ำล้น
  • - ขุดลอกคลองสาขา ซึ่งบางส่วนมีฝายน้ำล้นอยู่แล้ว
  • - ขยายเขตไฟฟ้าให้ครบทุกครัวเรือน
  • ความต้องการเร่งด่วน

  • - ขุดสระน้ำ ขนาดกว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ลึก ๓.๕๐ เมตร ความลาดเอียง     ๑ : ๒ พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่
  • - ประชาชนได้รับประโยชน์ ๒๐๐ ครัวเรือน (รวมหมู่บ้านข้างเคียง)
  • - แก้ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค บางส่วน
  • การคมนาคม

    ใช้ได้ทุกฤดูกาล เนื่องจากเส้นทางเป็นถนนลาดยาง การขนส่งสะดวกและมี รถยนต์โดยสารขนาดเล็ก เดินรถวันละ ๒ เที่ยว จากหมู่บ้านถึงตลาดวังสมบูรณ์

    จำนวนประชากร

    มีประชากรทั้งหมด ๒๑๐ ครอบครัว เป็นชาย ๔๑๐ คน หญิง ๓๗๐ คน รวม ๗๘๐ คน

    การประกอบอาชีพ

    ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ทำไร่ข้าวโพด ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง
    เลี้ยงโคนม และทำนาเป็นส่วนน้อย มีรายได้เฉลี่ย ๘,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

    ผู้นำหมู่บ้าน
    กำนัน นายสุนทร ศรีทาสังข์
    ผู้ใหญ่บ้าน นายประไพ สังข์ติม

    ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง หมู่บ้านซับน้อย มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงเชิงเขา ประชากรมีอาชีพเช่นเดียวกับบ้าน วังโพธิ์ทอง ตั้งอยู่ห่างบ้านวังโพธิ์ทอง เป็นระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตรกว่า มีสถานศึกษา ๑ แห่ง คือ โรงเรียนบ้านซับน้อย การคมนาคมสะดวก เป็นถนนลาดยาง ใช้ได้ทุกฤดู หมู่บ้านพรมนิมิตร มีสภาพพื้นที่การประกอบอาชีพเช่นเดียวกับบ้านวังโพธิ์ทอง การ คมนาคมสะดวก มีสถานศึกษา ๑ แห่ง

    ปัญหาของในหมู่บ้าน

    ราคาพืชไร่ตกต่ำ ทำให้รายได้ไม่สมดุลย์กับรายจ่าย การพัฒนาหมู่บ้านเป็นไปอย่างล่าช้า ราษฎรบางส่วนอพยพไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่

    ระบบการศึกษา

    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังศรีทอง เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ จังหวัดสระแก้ว กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านวังโพธิ์ทอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้

    ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๑๐ ตุลาคม
    ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม

    อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน ขนาด ๔
    ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
    โรงเรียนบวรนิเวศน์, ราษฎรในพื้นที่
    และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
    ๒) อาคารชั้นเด็กเล็กมูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล
    (เดิมเป็นอาคารเอนกประสงค์)
    ๓) อาคารพยาบาลกรมทหารพรานที่ ๑๓,
    ราษฎรในพื้นที่ และคณะครู
    ๔) บ้านพักครู
    และห้องน้ำห้องส้วม
    โรงเจวัดโสธรวรารามวรวิหาร,
    ราษฎรในพื้นที่ และคณะครู
    ๕) อาคารสหกรณ์
    และอาคารห้องสมุด
    กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗
    และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
    ๖) โรงเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่,
    พันธุ์พื้นเมือง
    UNBRO, กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗
    และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
    ๗) โรงอาคาร/โรงครัวราษฎรบ้านวังโพธิ์ทอง และกองร้อยตำรวจ
    ตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗

    จำนวนครูและนักเรียน

    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๘๐ คน เป็นชาย ๓๙ คน หญิง ๔๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑) จ.ส.ต.ยุวฤทธิ์ หลาทองม.ศ.๕โครงการตามพระราชดำริ, บริหาร
    ๒) จ.ส.ต.สมบูรณ์ ปลงรัมย์ม.ศ.๕โครงการอนุรักษ์ทรัพยากร
    ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๓) ส.ต.อ.ยงยุทธ อ่ำภารัศมีปวช.โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    และโครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๔) ส.ต.ท.นิกรณ์ เสริมทรงม.๖โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๕) พลฯ วิมาน ไชยสินปวส.โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖) พลฯ ชาตรี ระวาดชูปวส.โครงการฝึกอาชีพ
    ๗) พลฯ. เสริมศักดิ์ โคสาสุป.กศ.สูงโครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์, หญ้าแฝก
    ๘) พลฯ ปัญญา จงสูงเนินปวช. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐

    ชั้นชายหญิงรวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน๑๓๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม๓๙๔๑๘๐

    โครงการตามพระราชดำริ

    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงาน โครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผน พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๙ - ๒๕๔๐) ดังต่อไปนี้

    รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่๑๖๗

    วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐
    สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังศรีทอง หมู่ที่ ๒ ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
    ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. จนถึงเวลา ๑๓.๐๐ น.

    จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
    หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนทางด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งสิ้นจำนวน ๑๐๗ คน (รายละเอียดตามผนวก ก) และสามารถจำแนกได้ดังนี้

    หน่วยงาน
    เจ้าหน้าที่
    แพทย์
    เภสัชกรรม
    ทันตกรรม
    พยาบาล
    อื่น ๆ
    รวม
    กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    -
    -
    -
    ๑๒
    ๑๓
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
    ๑๑
    ๖๗
    ๙๑
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี
    -
    -
    -
    -
    รวมทั้งสิ้น
    ๑๑
    ๘๒
    ๑๐๗

    สรุปผลการดำเนินงาน
    การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังศรีทอง มีนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๖๕ คน นักเรียนชาย ๒๙ คน (ร้อยละ ๔๔.๖๒) และนักเรียนหญิง ๓๖ คน (ร้อยละ ๕๕.๓๘) สุขภาพปกติ ๕๒ คน เจ็บป่วย ๑๓ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ โรคทางเดินหายใจ ๕ คน, โรคทางเดินอาหาร ๒ คน, โรคหู ตา คอ จมูก ๓ คน, โรคกล้ามเนื้อและกระดูก ๑ คน และอื่น ๆ ๒ คน

    การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
    ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฏรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ ฯ เพื่อเข้ารับบริการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๒๗๓ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๖๕ คน (ร้อยละ ๒๓.๘๐) และหญิง ๒๐๘ คน (ร้อยละ ๗๖.๑๙) และเข้ารับบริการทันตกรรม ๑๓ คน

    จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
    ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปี (ร้อยละ ๔๗.๒๕) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ ๔๐.๒๙)

    ช่วงอายุ (ปี)
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    น้อยกว่า ๑ ปี
    ๒.๕๖
    ๑ - ๔
    ๑๙
    ๖.๙๖
    ๕ - ๑๔
    ๒.๙๓
    ๑๕ - ๔๙
    ๑๒๙
    ๔๗.๒๕
    มากกว่า ๕๐ ปี
    ๑๑๐
    ๔๐.๒๙
    รวม
    ๒๗๓
    ๑๐๐.๐๐

    จำนวนผู้เข้านับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
    ผู้ป่วย
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    ผู้ป่วยทั่วไป
    ๒๕๔
    ๙๓.๐๔
    ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
    ๑๙
    ๖.๙๖
    รวม
    ๒๗๓
    ๑๐๐.๐๐

    หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

    จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
    โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่โรคกล้ามเนื้อและกระดูก (ร้อยละ ๒๔.๕๔) รองลงมาคือ โรคระบบประสาท (ร้อยละ ๒๖.๐๑) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

    โรค
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    โรคระบบทางเดินหายใจ
    ๒๗
    ๙.๘๙
    โรคระบบทางเดินอาหาร
    ๓๕
    ๑๒.๘๒
    โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
    ๑๘
    ๖.๕๙
    โรคระบบประสาท
    ๗๑
    ๒๖.๐๑
    โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
    ๖๗
    ๒๔.๕๔
    โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
    ๓.๓๐
    โรคผิวหนัง
    ๑๓
    ๘.๔๒
    โรคเหงือกและฟัน
    ๑๓
    ๔.๗๖
    โรคอื่น ๆ
    ๑๐
    ๓.๖๖
    รวม
    ๒๗๓
    ๑๐๐.๐๐

    ค่าใช้จ่าย
    ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังศรีทอง เป็นเงินประมาณ ๘,๑๙๐ บาท

    กองทุนพระราชทาน
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่ โรงพยาบาลสระแก้ว, โรงพยาบาลวังน้ำเย็น, และโรงพยาบาลอรัญประเทศ จำนวนโรงพยาบาลละ ๓,๐๐๐ บาท เพื่อสมทบ "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี(๒๕)
    (ออก ท๑ ส๖๕๒๔ ๒๕๔๐)
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๗๕)
    [ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๑๖๗)]