kanbinthai
kaosarapee
klongjareansuk
thakenchai
bankoknoi
bantakfah
banthapakchee
thungkabin
bannumaom
banwangsritong

pracharath
peeraya

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ประชารัฐบำรุง ๑
ระบบการศึกษา
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วย
แพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๔๒
สรุปผลการดำเนินงาน

  ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนประชารัฐบำรุง ๑ (บ้านหนองหญ้าปล้อง)

เดิมชื่อโรงเรียนบ้านวัง ทับควายเสนาราษฎร์บำรุง, โรง เรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้าน หนองหญ้าปล้อง, โรงเรียนตำรวจ ตระเวน ชายแดนบ้านหนองหญ้า ปล้อง-ภูน้ำเกลี้ยงเริ่มก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ณ สำนักสงฆ์บ้านภู น้ำเกลี้ยง (บ้านวังทับควายเดิม) หมู่ ที่๕ตำบลอรัญประเทศ จังหวัดสระ แก้ว (จังหวัดปราจีนบุรีเดิม)โดยชุด เสนา รักษ์ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสม ที่ ๒ (ค่ายสุรสิงหนาท) อำเภออรัญประเทศ จังหวัด ปราจีนบุรี ร่วมกับราษฎรบ้านภู น้ำเกลี้ยง (บ้านวังทับควายเดิม) ก่อ สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง เพื่อ ให้ เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษา ภาคบังคับ มีสถานศึกษา ตั้งชื่อว่า โรง เรียน วังทับควายเสนาราษฎร์บำรุง ทำ การสอนโดยทหารเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ชุด เสนารักษ์ กรมทหารราบที่ ๓ กรมผสม ที่ ๒ ได้ย้ายกลับที่ตั้ง

ระบบการศึกษา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนประชารัฐบำรุง ๑ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้น ในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวน ชายแดนที่ ๑๒ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้าน หนองหญ้าปล้อง และภูน้ำเกลี้ยงดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๐

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑) อาคารเรียน ๑ประชาชนบ้านหนองหญ้าปล้อง, ภูน้ำเกลี้ยง,
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๓๒ ชมรมอาสาวิทยาเขตเทเวศน์
๒) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนวิริยา คุณหญิงวิริยา ชวกุล,
นายเรวัตน์ ค่ำอำนวย, นายสถิต บุณศิริ
และประชาชนบ้านหนองหญ้าปล้อง-ภูน้ำเกลี้ยง พ.ศ.๒๕๓๐
๓) อาคารเรียนหลังที่ ๒(อาคารสมพรอรัญเจริญวัฒน์) นางสมพร อรัญเจริญวัฒน์
พร้อมครอบครัว, ด.ต.ประกอบ อุดมชัย,
ชุดช่างกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๒ พ.ศ.๒๕๒๖
๔) อาคารสหกรณ์และห้องสมุดคณะอาจารย์, นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
คณะสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ.๒๕๓๕
๕) ห้องตัดผม ชาย - หญิงนายยุริทากะ ชุกิฮาร่า คณะครูชาวญี่ปุ่น
๖) โรงอาหารพ.ต.ท.ไพโรจน์ จันทร์ดี, ด.ต.ไสว สุทธิพันธ์,
กก.ตชด.๑๒ พ.ศ.๒๕๓๙
๗) ห้องน้ำ, ห้องส้วม ชาย - หญิงคณะนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์,ประชาชนบ้านหนองหญ้าปล้อง - ภูน้ำเกลี้ยง
๘) สถานที่แปลงฟัน,ศาลาน้ำดื่มไอโอดีนคณะอาจารย์, นักศึกษาสถาบันราชภัฎพระนคร
ศรีอยุธยา,ประชาชนบ้านหนองหญ้าปล้อง
- ภูน้ำเกลี้ยง พ.ศ.๒๕๓๙
๙) ถังกรองน้ำ ๓ ถังนายอานนท์ พาโนชิต พ.ศ.๒๕๓๙
๑๐) สระน้ำ ๒ ถังกรมพัฒนาที่ดิน, กรมชลประทาน พ.ศ.๒๕๒๙, ๒๕๓๙
๑๑) ระบบประปาคุณจุฑามณี คชนันท์, พล.ต.ต.สมนึก พลสิทธิ์
อดีต ผบก.ตชด.ภาค ๑
๑๒) ถังเก็บน้ำฝนซิเมนต์ 
๑๓) อาคารฝึกสอนวิชาเกษตร 
๑๔) โรงเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ 
๑๕) โรงเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองกก.ตชด.ที่ ๑๒, วิทยาลัยเกษตรกรรมปราจีนบุรี
๑๖) เรือนเพาะชำ, โรงเพาะเห็ด 
๑๗) โรงปุ๋ยหมัก 
๑๘) โรงเก็บวัสดุเครื่องมือการเกษตร 
๑๙) บ้านพักครู 
๒๐) บ่อเลี้ยงปลาสำนักพระราชวัง และกรมประมง
๒๑) หลุมหลบภัย ๒ หลุมกองกำลังบูรพา
๒๒) ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปธนาคารแห่งประเทศไทย

จำนวนครูและนักเรียน

เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๒ คน ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๗๐ คน เป็นชาย ๘๔ คน หญิง ๘๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑) ด.ต.เริงชัย เหม่ชัยภูมิ ม.๖งานบุคคลากร, โครงการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ, ป่าชุมชน
๒) จ.ส.ต.รัฐชัย แคะกระโทก ม.๖งานอาคารสถานที่, โครงการปลูก
และขยายพันธุ์หญ้าแฝก,
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๓  จ.ส.ต.ออมสิน จำปาพรม ม.๖ งานวิชาการ, โครงการสหกรณ์,
ห้องสมุด, ประสานกลุ่มโรงเรียน
๔) จ.ส.ต.ประทุม พรมผา ม.ศ.๕กิจกรรมนักเรียน,
การประกอบอาหารกลางวัน
๕) จ.ส.ต.เหลียน จิตรแจ้ง ม.ศ.๕ โครงการควบคุมโรคขาดสาร
ไอโอดีน, พยาบาล, ไก่พื้นเมือง
๖) ส.ต.อ.สมศักดิ์ อัญญโพธิ์ ปวช. โครงการฝึกอาชีพ, ความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
๗) ส.ต.ท.สำราญ ไทยประยูร คบ. โครงการนักเรียนในพระราชานุ
เคราะห์, ธุรการและการเงิน
๘) พลฯ อัครเดช รัตนรักษ์ ป.กศ.สูง โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๙) นางคำกอง จวบกระโทก ป.๖ ผู้ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๐) นายเจียม จวบกระโทก ป.๖ ผู้ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙

ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน๑๔๒๐๓๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒๑๑๑๒๒๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓๑๒๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔๑๖๑๓๒๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕๑๐๑๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖๑๒๑๐๒๒
รวม๘๔๘๖๑๗๐

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่

เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตาม พระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วย
แพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๔๒

วันที่ ๑๒ กรกฏาคม ๒๕๓๙
สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนประชารัฐบำรุง ๑ หมู่ที่ ๔-๕ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๔.๑๕ น.

จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น ๖๕ คน (รายละเอียด ผนวก ก) สามารถจำแนกได้ดังนี้

หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่
แพทย์
เภสัชกรรม
ทันตกรรม
พยาบาล
อื่น ๆ
รวม
แพทย์ทหาร
-
๑๔
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
-
-
-
-
๑๑
๑๑
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
๒๑
๓๘
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
-
-
-
-
รวมทั้งสิ้น
๑๔
๓๔
๖๕

สรุปผลการดำเนินงาน
การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนประชารัฐบำรุง ๑ มีนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๗๒ คน นักเรียนชาย ๓๒ คน (ร้อยละ ๔๔.๔๔) และนักเรียนหญิง ๔๐ คน (ร้อยละ ๕๕.๕๖) สุขภาพปกติ ๑๒ คน เจ็บป่วย ๖๐ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ ทางเดินหายใจ ๒๗ คน ทางเดินอาหาร ๔ คน หู ตา จมูก ๒ คน ผิวหนัง ๕ คน เหงือกและฟัน ๑๓ คน ประสาท ๑ คน กล้ามเนื้อและกระดูก ๑ คน ทางเดินปัสสาวะ ๑ คน อื่น ๆ ๖ คน และมีผู้เข้ารับบริการทันกรรม ๔๖ คน

การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ ฯ เข้าทำการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๒๖๔ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๖๘ คน (ร้อยละ ๒๕.๗๖) และหญิง ๑๙๖ คน (ร้อยละ ๗๔.๒๔)

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุในช่วง ๑๕ - ๔๙ ปี (ร้อยละ ๕๔.๑๗) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ ๓๕.๙๘)

ช่วงอายุ (ปี)
จำนวน (คน)
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑ ปี
๑.๘๙
๑ - ๔
๒๑
๗.๙๕
๕ - ๑๔
-
-
๑๕ - ๔๙
๑๔๓
๕๔.๑๗
มากกว่า ๕๐ ปี
๙๕
๓๕.๙๘
รวม
๒๖๔
๑๐๐.๐๐

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสภานภาพของผู้ป่าย
ผู้ป่วย
จำนวน (คน)
ร้อยละ
ผู้ป่วยทั่วไป
๒๖๒
๙๙.๒๔
ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
๐.๗๖
รวม
๒๖๔
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

จำนวนผู้ป่วย เข้ารับการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ โรคประสาท (ร้อยละ ๒๓.๘๖) รองลงมาคือ โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (ร้อยละ ๑๙.๗๐) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

โรค
จำนวน (คน)
ร้อยละ
โรคระบบทางเดินหายใจ
๔๓
๑๖.๒๙
โรคระบบทางเดินอาหาร
๔๔
๑๖.๖๗
โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
๑๔
๕.๓๐
โรคระบบประสาท
๖๓
๒๓.๘๖
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
๕๒
๑๙.๗๐
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
๓.๔๑
โรคผิวหนัง
๑๐
๓.๗๙
โรคเหงือกและฟัน
๒๔
๙.๐๙
โรคอื่น ๆ
๑.๘๙
รวม
๒๖๔
๑๐๐.๐๐

ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนประชารัฐบำรุง ๑ เป็นเงินประมาณ ๕,๖๙๑บาท

กองทุนพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่ โรงพยาบาลตาพระยา เป็นเงินจำนวน ๕,๐๐๐ บาท เพื่อจัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๑๑๐)
[ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๙ (๑๔๒)]

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี(๑๒)
(ออก ท๑ ส๖๕๒๔ ๒๕๓๙)