




|

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านหนองตะไก้ ตำบลโป่งเปือย อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
ด้วยหมู่บ้านหนองตะไก้ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒
มีราษฎรอาศัยอยู่ ๗ ครอบครัว และได้ขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
นักเรียนต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านโนนสว่างและโรงเรียนบ้านโป่งเปือย
ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ๔ - ๕ กิโลเมตร ทำให้นักเรียนได้รับความลำบาก
โดยเฉพาะฤดูฝน ถนนเป็นเลนโคลน เป็นเหตุให้นักเรียนขาดเรียนบ่อยผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
จึงเป็นปัญหาของผู้ปกครองนักเรียนและครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง
ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับอนุมัติเป็นหมู่บ้านถาวร
ผู้ปกครองนักเรียนได้เล็งเห็นความยากลำบากของบุตรหลานที่ต้องเดินทางไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น
คณะกรรมการหมู่บ้านจึงมีมติเห็นชอบให้ขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
จึงทำหนังสือเรียนเสนอถึงผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๒๔ โดยผ่านกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔๔ และได้ทำหนังสือขอใช้ที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านเป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียนจากสภาตำบลหนองเข็ง
ต่อมาวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้
และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ได้แต่งตั้งให้ครูเข้าเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่
๔ กันยายน ๒๕๓๘ เป็นต้นมา
|
ความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านหนองตะไก้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ โดยนายจันทร์แดง
ผิวดำ พร้อมครอบครัว บุตรหลาน จำนวน ๗ ครอบครัว ได้อพยพมาจากบ้านสมัยสำราญ
ตำบลโป่งเปือย เพื่อมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไร่นาของตนเอง
ซึ่งเป็นที่ลุ่มดอน
ต่อมามีครอบครัวอื่นๆ อพยพเข้ามาสมทบเรื่อยๆ จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่
จึงได้ตั้งชื่อแห่งนี้ว่า "บ้านหนองตะไก้" สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านหนองตะไก้
เพราะใกล้หมู่บ้านแห่งนี้มีหนองน้ำขังตลอดปี มีปลาชุกชุม
และรอบๆ หนองมีต้นตะไก้ขึ้นอยู่ ปัจจุบันคือบ่อเลี้ยงปลาของโรงเรียน
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๖ ทางอำเภอบึงกาฬเห็นว่าหมู่บ้านตะไก้เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้จัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านถาวร
|
การคมนาคม
สภาพถนนที่ใช้ในการติดต่อ จากหมู่บ้านไปอำเภอบึงกาฬเป็นถนนลูกรัง มี ๒ เส้นทาง คือ
- เส้นทางผ่านหมู่บ้านโนนสว่าง บ้านไคสี จนถึงอำเภอบึงกาฬ ระยะทาง ๒๗ กิโลเมตร
- เส้นทางผ่านหมู่บ้านห้วยสามยอดเทวกุล บ้านห้วยดอกไม้ วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ ถึงอำเภอบึงกาฬ
ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร
|
จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด ๓๐๘ คน เป็นชาย ๑๕๖ คน หญิง ๑๕๒ แยกเป็นครอบครัว ๗๕ ครัวเรือน
|
การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และหลังจากเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวก็จะไปทำงานต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ
เนื่องจากขาดที่ดินทำกินและอาชีพรองรับหลังจากเสร็จสิ้นการทำไร่ทำนา
|
ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเคน พงกระเสริม
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐
|
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๖๑ คน เป็นชาย ๒๘ คน หญิง ๓๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย
|
ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ - นามสกุล
| คุณวุฒิ
| ทำหน้าที่ |
๑. จ.ส.ต.โอฬาร คำผุย
| ม.ศ.๕
| ครูใหญ่ |
๒. ด.ต.วีรวัฒน์ พิกาศ
| ค.บ.
| ผู้ช่วยครูใหญ่ |
๓. ส.ต.ท.ทวี ผลาจิตร์
| ปวช.
| ครูผู้สอน |
๔. ส.ต.ท.คงเดช ชาติวิเศษ
| ม.๖
| ครูผู้สอน |
๕. ส.ต.ท.ปราโมทย์ คำพุทธา
| ม.๖
| ครูผู้สอน |
๖. ส.ต.ท.สมชาย ใต้เมืองปักษ์
| ม.๖
| ครูผู้สอน |
๗. ส.ต.ต.มาตรา ศรีทะนีทอก
| ปวช.
| ครูผู้สอน |
๘. พลฯ สมัคร เที่ยง ล้านสา
| ม.๖
| ครูผู้สอน |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๖
| ๑๒
| ๑๘ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๗
| ๕
| ๑๒ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๔
| ๒
| ๖ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๓
| ๑
| ๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๒
| ๘
| ๑๐ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๒
| ๓
| ๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๔
| ๒
| ๖ |
รวม
| ๒๘
| ๓๓
| ๖๑ |
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙)
ดังต่อไปนี้
|
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สหกรณ์อำเภอบึงกาฬ
|
กิจกรรมและการดำเนินการ
- จัดตั้งสหกรณ์ร้านค้า มีจำนวนสมาชิกแรกตั้ง ๓๐ คน รวมมูลค่าทุนเรือนหุ้น ๔๒๕ บาท
มูลค่าหุ้นหุ้นละ ๕ บาท) ได้รับการช่วยเหลือจาก
๑. มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
๒. พีระยานุเคราะห์มูลนิธิ จำนวน ๖,๔๖๐ บาท
|
|